เตรียมสอบ แนวข้อสอบพร้อมเฉลย ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนสรุปได้ดังนี้
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ และมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งข้าราชการพลเรือน พนักงานราชการและลูกจ้างในสังกัดพลเรือนทุกตำแหน่ง มีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ๑๐ ข้อ ตามที่ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนนี้กำหนด
ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ได้กำหนดแนวทางให้ข้าราชการประพฤติปฏิบัติรวม ๑๐ ข้อ
๑. ข้าราชการต้องยึดมั่นในจริยธรรม และยืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม
๑.๑ ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมอย่างตรงไปตรงมา และไม่กระทำการเลี่ยงประมวลจริยธรรมนี้ ในกรณีที่คณะกรรมการจริยธรรมวินิจฉัยว่าการกระทำใดขัดประมวลจริยธรรม ข้าราชการจะกระทำการนั้นมิได้
๑.๒ เมื่อรู้หรือพบเห็นการฝ้าฝืนประมวลจริยธรรม ข้าราชการต้องรายงานพร้อมพยานหลักฐาน (หากมี) ต่อหัวหน้าส่วนราชการและหรือคณะกรรมการจริยธรรมโดยพลันในกรณีหัวหน้าส่วนราชการฝ่าฝืนจริยธรรม ต้องรายงานต่อปลัดกระทรวง หรือผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปของหัวหน้าส่วนราชการนั้นแล้วแต่กรณี และหรือคณะกรรมการจริยธรรม
๑.๓ รายงานการดำรงตำแหน่งในนิติบุคคลและกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ ต่อหัวหน้าส่วนราชการและคณะกรรมการจริยธรรม กรณีที่การดำรงตำแหน่งนั้น ๆ อาจขัดแย้งกับการปฏิบัติหน้าที่หรืออาจทำให้การปฏิบัติหน้าที่เสียหาย
๑.๔ กรณีที่ข้าราชการเข้าร่วมประชุมและพบว่ามีการกระทำหรือเสนอเรื่องที่ฝ่าฝืนจริยธรรมข้าราชการมีหน้าที่ต้องคัดค้านการกระทำดังกล่าว และบันทึกการคัดค้านของตนไว้ในรายงานการประชุมหรือในเรื่องนั้น
๒. ข้าราชการต้องมีจิตสำนึกที่ดี และความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เสียสละ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็วโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
๒.๑ อุทิศตนให้กับการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
๒.๒ ละเว้นการกระทำที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อตำแหน่งหน้าที่ของตน หรือของข้าราชการอื่น
๒.๓ ใช้ดุลพินิจและตัดสินใจ ปราศจากอคติส่วนตน ตามข้อมูลพยานหลักฐานและความเหมาะสมของแต่ละกรณี
๒.๔ เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ ต้องรีบแก้ไข และแจ้งให้หัวหน้าส่วนราชการทราบ
๒.๕ ไม่ขัดขวางการตรวจสอบของหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบตามกฎหมายหรือประชาชนโดยให้ข้อมูลที่เป็นจริงและครบถ้วน เมื่อได้รับคำร้องขอในการตรวจสอบ
๒.๖ ไม่สั่งราชการด้วยวาจา กรณีที่สั่งราชการด้วยวาจา ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาบันทึกเรื่องเป็นลายลักษณ์อักษรตามคำสั่งเพื่อให้ผู้สั่งพิจารณาสั่งการต่อไป
๓. ข้าราชการต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากตำแหน่งหน้าที่ และยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน
๓.๑ ไม่นำความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ตนมีต่อบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง พรรคพวกเพื่อนฝูงหรือผู้มีบุญคุณส่วนตัว มาประกอบการใช้ดุลพินิจให้เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลนั้น หรือปฏิบัติต่อบุคคลนั้นต่างจากบุคคลอื่นเพราะชอบหรือชัง
๓.๒ ไม่ใช้เวลาราชการ เงิน ทรัพย์สิน บุคลากร บริการ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกของทางราชการไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของตนเองหรือผู้อื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตโดยชอบด้วยกฎหมาย
๓.๓ ไม่กระทำการใด หรือดำรงตำแหน่ง หรือปฏิบัติการใดในฐานะส่วนตัว ซึ่งก่อให้เกิดความเคลือบแคลงหรือสงสัยว่าจะขัดกับประโยชน์ส่วนรวมที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน้าที่ในกรณีมีความเคลือบแคลงหรือสงสัย ให้ข้าราชการผู้นั้นยุติการกระทำดังกล่าวไว้ก่อนแล้วแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าส่วนราชการ และคณะกรรมการจริยธรรมพิจารณา เมื่อคณะกรรมการจริยธรรมวินิจฉัยเป็นประการใดแล้วจึงปฏิบัติตามนั้น
๓.๔ ในการปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบในหน่วยงานโดยตรงหรือหน้าที่อื่นในราชการรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ ข้าราชการต้องยึดถือประโยชน์ของทางราชการ
เป็นหลัก ในกรณีที่มีความขัดแย้งระหว่างประโยชน์ของทางราชการ หรือประโยชน์ส่วนรวมกับประโยชน์ส่วนตนหรือส่วนกลุ่ม อันจำเป็นต้องวินิจฉัยหรือชี้ขาด ต้องยึดประโยชน์ของทางราชการและประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
๔. ข้าราชการต้องละเว้นจากการแสวงประโยชน์ที่มิชอบโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ และไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตน และประโยชน์ส่วนรวม
๔.๑ ไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับ ของขวัญ เว้นแต่เป็นการให้โดยธรรมจรรยา หรือเป็นการให้ตามประเพณีหรือให้แก่บุคคลทั่วไป
๔.๒ ไม่ใช้ตำแหน่ง หรือกระทำการที่เป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลใด เพราะมีอคติ
๔.๓ ไม่เสนอ หรืออนุมัติโครงการ ซึ่งตนเองหรือบุคคลอื่นจะได้ประโยชน์อันมิควรได้
๕. ข้าราชการต้องเคารพ และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา
๕.๑ ไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎ ข้อบังคับหรือมติคณะรัฐมนตรีที่ชอบด้วยกฎหมายในกรณีมีข้อสงสัย หรือมีข้อทักท้วงว่าการกระทำไม่ชอบ ต้องแจ้งให้หัวหน้าส่วนราชการและคณะกรรมการจริยธรรมพิจารณา และจะดำเนินการต่อไปได้ต่อเมื่อได้ข้อยุติจากหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่แล้ว
๕.๒ ในกรณีที่เห็นว่าคำสั่งผู้บังคับบัญชา หรือการดำเนินการใดที่ตนมีส่วนเกี่ยวข้องไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ต้องทักท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรไว้
๕.๓ ในกรณีที่เห็นว่ามติคณะรัฐมนตรีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องทำเรื่องเสนอให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณา และส่งเรื่องให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการให้ได้ข้อยุติทางกฎหมายต่อไป
๕.๔ ไม่เลี่ยงกฎหมายใช้หรือแนะนำให้ใช้ช่องว่างของกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น
๕.๕ ไม่ยอมให้บุคคลอื่นอาศัยชื่อตนเองถือครองทรัพย์สิน สิทธิ หรือประโยชน์อื่นใดแทนบุคคลอื่นอันเป็นการเลี่ยงกฎหมาย
๕.๖ เมื่อทราบว่ามีการละเมิดกฎหมายในส่วนราชการของตน หัวหน้าส่วนราชการต้องดำเนินการที่จำเป็น เพื่อให้เกิดการเคารพกฎหมายขึ้นโดยเร็ว
๕.๗ เมื่อได้รับคำร้อง หรือคำแนะนำจากผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือหน่วยงานอื่นว่ากฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ สร้างภาระเกินสมควรแก่ประชาชน หรือสร้างความไม่เป็นธรรม ต้องดำเนินการทบทวนกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับดังกล่าวโดยเร็ว
๖. ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม เป็นกลางทางการเมือง ให้บริการแก่ประชาชน โดยมีอัธยาศัยที่ดี และไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
๖.๑ ปฏิบัติหน้าที่ให้ลุล่วง โดยไม่หลีกเลี่ยง ละเลย หรือละเว้นการใช้อำนาจเกินกว่าที่มีอยู่ตามกฎหมาย
๖.๒ ปฏิบัติหน้าที่ โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพของบุคคล
๖.๓ ให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยมีอัธยาศัยที่ดี ปราศจากอคติ และไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคลผู้มาติดต่อ
๖.๔ ละเว้นการให้สัมภาษณ์ การอภิปราย การแสดงปาฐกถา การบรรยาย หรือการวิพากษ์วิจารณ์อันกระทบต่อความเป็นกลางทางการเมือง
๖.๔ ไม่เอื้อประโยชน์เป็นพิเศษให้แก่ญาติพี่น้อง พรรคพวก และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรมไม่เห็นแก่หน้าผู้ใด
๖.๕ ไม่ลอกหรือนำผลงานของผู้อื่นมาใช้เป็นของตนเองโดยมิได้ระบุแหล่งที่มา
๗. ข้าราชการต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการอย่างเคร่งครัดและรวดเร็ว ไม่ถ่วงเวลาให้เนิ่นช้า และใช้ข้อมูลข่าวสารที่ได้มาจากการดำเนินงานเพื่อการในหน้าที่ และให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันการณ์ และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
๗.๑ ไม่ใช้ข้อมูลที่ได้มาจากการดำเนินงนไปเพื่อการอื่น อันไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ตนเองหรือบุคคลอื่น
๗.๒ ชี้แจง แสดงเหตุผลที่แท้จริงอย่างครบถ้วนในกรณีที่กระทำการอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพบุคคลอื่น ทั้งนี้ ต้องดำเนินการภายในสิบห้าวันทำการ นับแต่กระทำการดังกล่าวหรือได้รับการร้องขอ
๘.ข้าราชการต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษาคุณภาพ และมาตรฐานแห่งวิชาชีพโดยเคร่งครัด
๘.๑ ปฏิบัติงานโดยมุ่งให้เกิดผลดีที่สุดจนเต็มกำลังความสามารถ
๘.๒ ใช้งบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิประโยชน์ที่ทางราชการจัดให้ ด้วยความประหยัดคุ้มค่าใช้ความรู้ความสามารถ ตามคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพโดยเคร่งครัด
๘.๓ ใช้ความรู้ความสามารถ ตามคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพโดยเคร่งครัด
๙. ข้าราชการต้องยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
๙.๑ ไม่แสดงการต่อต้านการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๙.๒ จงรักภักดีต่อพระหากษัตริย์ และไม่ละเมิดองค์พระมหกษัตริย์ พระราชินี และพระรัชทายาทไม่ว่าทางกาย หรือทางวาจา
๑๐. ข้าราชการต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงตน รักษาชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของราชการโดยรวม
๑๐.๑ ไม่ละเมิดหลักสำคัญทางศีลธรรม ศาสนา และประเพณี กรณีที่มีข้อขัดแย้งระหว่างประมวลจริยธรรมนี้กับหลักสำคัญทางศีลธรรม ศาสนา หรือประเพณี ข้าราชการต้องเสนอเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมพิจารณาวินิจฉัย
๑๐.๒ หัวหน้าส่วนราชการและผู้บังคับบัญชาส่วนราชการทุกระดับชั้นต้องปกครองผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาด้วยความเที่ยงธรรม และควบคุมให้ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมโดยเคร่งครัด
๑๐.๓ หัวหน้าส่วนราชการและผู้บังคับบัญชาในส่วนราชการ ต้องสนับสนุนส่งเสริมและยกย่องผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาที่มีความซื่อสัตย์ มีผลงานดีเด่น และยึดมั่นในระบบคุณธรรม
๑๐.๔ ไม่กระทำการใดอันอาจนำความเสื่อมเสียและไม่ไว้วางใจให้เกิดแก่ส่วนราชการหรือราชการโดยรวม
แนวข้อสอบพร้อมเฉลยประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
๑. ความรู้จริยธรรม หมายถึงข้อใด
ก. การมีความรู้สึกต่อพฤติกรรมต่างๆ
ข. การแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ต่อสังคม
ค. ความรู้เกี่ยวกับสังคมสามารถบอกได้ว่าการกระทำใดดี การกระทำใดไม่ดีเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
ง. เหตุผลที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกหรือไม่เลือกกระทำ
๒. พฤติกรรมเชิงจริยธรรม หมายถึงข้อใด
ก. การแสดงพฤติกรรมที่พีงประสงค์ของสังคมและปฏิเสธการแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของสังคม
ข. เบื้องหลังการกระทำของบุคคลใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกกระทำ
ค. ความรู้สึกต่อพฤติกรรมต่างๆ ในทางที่ชอบหรือไม่ชอบ
ง. ไม่มีข้อถูก
๓. ความสัมพันธ์ของคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึงข้อใด
ก. เป็นเรื่องเดียวกัน
ข. เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน
ค. เป็นเรื่องการกระทำของบุคคล
ง. เป็นเรื่องที่อยู่ในจิตใจของบุคคล
๔. พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ “การรู้จักข่มใจ” หมายถึงข้อใด
ก. ความจริงใจต่อตนเอง
ข. การรู้จักฝึกใจตนเอง
ค. การประพฤติปฏิบัติต่อสิ่งที่เป็นประโยชน์
ง. รู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม
๕. สังคหวัตถุ ๔ คือ คุณธรรมในข้อใด
ก. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน
ข. เป็นเครื่องทำให้ประสบความสำเร็จ
ค. เป็นคุณธรรมของผู้ครองเรือน
ง. เป็นคุณธรรมของผู้เป็นใหญ่
๖. อคติ ๔ คือ คุณธรรมข้อใด
ก. ธรรมที่ควรรักษาไว้เป็นนิจ
ข. ธรรมของผู้ครองเรือน
ค. ธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน
ง. ธรรมที่ไม่ควรประพฤติ
๗. โทสาคติ หมายถึงข้อใด
ก. ลำเอียงเพราะรักใคร่
ข. ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน
ค. ลำเอียงเพราะเขลา
ง. ลำเอียงเพราะกลัว
๘ สิ่งใดสามารถยับยั้งความโกรธได้
ก. เมตตา กรุณา
ข. มุทิตา อุเบกขา
ค. สติ สัมปัญชัญญะ
ง. ฉันทะ วิริยะ
๙. การที่คนเรามีจิตใจจ่ออยู่สิ่งที่กระทำ มีความหมายตรงกับข้อใด
ก. มีศีล
ข. มีสมาธิ
ค. มีปัญญา
ง. มีสติ
๑๐. ความจริงหรือความเสื่อมของสังคม วัดได้จากอะไร
ก. ค่านิยม
ข. วัฒนธรรม
ค. ความสามัคคี
ง. กฎหมายระเบียบข้อบังคับ
๑๑. ค่านิยมทางจริยธรรม หมายถึงข้อใด
ก. ทำให้เกิดความรับผิดชอบชั่วดี
ข. ทำให้เกิดความซาบซึ้ง
ค. ทำให้เกิดความรักความเข้าใจ
ง. ทำให้ชีวิตและร่างกายอยู่รอด
๑๒. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เป็นความหมายของข้อใด
ก. คุณธรรม
ข. จริยธรรม
ค. วัฒนธรรม
ง. ศีลธรรม
๑๓. เราจูงแขนคนแก่ข้ามถนนเป็นคุณธรรมข้อใด
ก.เมตตา
ข. กรุณา
ค. มุทิตา
ง. อุเบกขา
๑๔. สภาพคุณงามความดีในจิตใจ เป็นความหมายข้อใด
ก. คุณธรรม
ข. จริยธรรม
ค. วัฒนธรรม
ง. ศีลธรรม
๑๕. ทุกข้อคือความหมายของจริยธรรมยกเว้นข้อใด
ก. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ
ข. ศีลธรรม
ค กฎศีลธรรม
ง. ข้อห้ามที่ควรกระทำไห้ถูกต้อง
๑๖.ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของจริยธรรม
ก. ความรู้
ข. อารมณ์ความรู้สึก
ค. พฤติกรรม
ง. จิตใจ
๑๗.ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนจัดทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์ใด
ก. เพื่อให้ข้าราชการเกิดจิตสำนึกลึกซึ้งและเที่ยงธรรมในหน้าที่ ผดุงเกียรติและศักดิ์ศรีข้าราชการ
ข. เพื่อให้องค์การกลางทุกประเภทมีมาตรฐานความประพฤติตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญ
ค. เป็นการดำเนินการตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล
ง. เป็นมาตรการเสริมการรักษาวินัยข้าราชการ
๑๘. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก.กรณีที่มีผู้ทักท้วงท่านว่ากระทำนั้น ๆ อาจเป็นการขัดประมวลจริยธรรม ท่นต้องหยุดกระทำการและให้มี
การส่งเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมวินิจฉัย
ข. เมื่อท่านกระทำการผิดพลาดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ท่นต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้องและแจ้งให้หัวหน้า
ส่วนราชการทราบโดยพลัน
ค. ให้ละเว้นการสัมภาษณ์ การอภิปราย การแสดงปาฐกถา การบรรยายหรือการวิพากษ์วิจารณ์ใด ๆ
ของท่านอันเป็นการกระทบต่อความเป็นกลางทางการเมือง
ง. กรณีที่ท่านเข้าร่วมประชุมและพบมีการกระทำอันป็นการขัดแย้งต่อหน้าที่หรืออาจให้การปฏิบัติหน้าที่
เสียหายท่านต้องคัดค้านการกระทำดังกล่าวและบันทึกคำคัดค้านนั้นไว้ในที่ประชุม
๑๙. ข้าราชการต้องละเว้นจากการแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ หมายความถึงพฤติกรรมอย่างไร
ก. ไม่เรียก รับ หรือยอมจะรับ หรือยอมให้ผู้อื่นเรียกรับของแทนตนหรือญาติของตน
ข. ไม่ใช้ตำแหน่ง หรือกระทำการที่เป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคลใดเพราะมีอคติ
ค. ไม่เสนอ หรืออนุมัติโครงการ การดำเนินการ หรือการทำนิติกรรมหรือสัญญา ซึ่งตนเองหรือบุคคลอื่นจะได้
ประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
ง. ถูกทุกข้อ
๒๐.ข้าราชการใช้เวลาในวันหยุดราชการเข้าร่วมชุมนุมกับประชาชนโดยสงบและไม่มีอวุธเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาล
เลิกโครงก ารหนึ่งที่รัฐบาลกำหนดไว้เป็นนโยบายซึ่งมีผลกระทบต่อตน ได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
ก. ได้เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ
ข. ได้ เพราะเป็นการกระทำในฐานะประชาชนไม่เกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน
ค. ไม่ได้ เพราะเป็นการ strike ต่อรัฐบาลซึ่งเป็นนายจ้าง
ง. ไม่ได้ เพราะเป็นการไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาล
๒๑.กรณีข้อใดที่ไม่เข้าข่ายเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน
ก. สมศักดิ์ ผู้บริหารในในกระทรวงที่เกษียณแล้วรับเป็นที่ปรึกษาให้แก่บริษัทจ้างเหมา
ที่รู้จักกันตอนมารับจ้างเหมางานให้กระทรวง
ข. สมศรี พนักงานเก็บสถิติเสนอขายประกันชีวิตตอนออกไปสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่
ค. จอมใจ เจ้าหน้าที่ด้านองค์การด้านเวชภัณฑ์ ลาออกไปทำงานในบริษัทขายยา
ง. คุณพินิจ ประธานกรรมการจริยธรรมได้รับเลือกเป็นประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดที่บ้านเกิด
๒๒.ความซื่อสัตย์ หมายถึง
ก. มั่นคงอยู่ในศีลธรรม มีความสุจริตทางกาย ทางวาจา และใจ
ข. มีความกตัญญู
ค. ตรงต่อเวลา
ง. การมีจริยธรรม
๒๓.ข้อใดคือความหมายของคำว่าหน้าที่
ก. มีความซื่อสัตย์ ซื่อตรง
ข. มีความอดทน อดกลั้น
ค. กิจที่ควรทำ กิจที่จะต้องทำ
ง. การรู้จักกาลเทศะ
๒๔. พฤติกรรมใดที่ไม่แสดงถึงความซื่อสัตย์ซื่อตรงต่อประเทศชาติ
ก. ใช้ตำแหน่งหน้าที่ การงานหาผลประยชน์ใส่ตัวเองเพื่อให้ก้าวหน้า
ข. ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
ค. มีความรัก ความสามัคคีต่อกันในทุกระดับ
ง. ช่วยกันรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
๒๕. การปฏิบัติตัวตามข้อใด จึงจะได้ชื่อว่าอยู่อย่างพอเพียง
ก. เต็มที่ เต็มเวลา เต็มความสามารถ
ข. ศุกร์เมา เสาร์นอน อาทิตย์ถอน จันทร์ลา
ค. มีน้อยใช้น้อย มีมากใช้มาก
ง. เก็บวันนี้มีใช้วันหน้า
อ่านเพิ่มที่ :: ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน | สำนักงาน ก.พ. (OCSC)