ชาวเกษตร แอพฯ ตัวช่วยเกษตรกรวางแผนแก้ปัญหาเพาะปลูก จนถึงการตลาด ครบวงจร
วันนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอแนะนำ แอปพลิเคชั่น ที่มีชื่อว่า ชาวเกษตร ซึ่งหน่วยวิจัยวิทยาการสื่อสารของมนุษย์ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและถ่ายทอดเทคโนโลยี(BTT) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ NECTEC พันธกิจในการดำเนินการวิจัย พัฒนา ออกแบบ วิศวกรรม และถ่ายเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น ที่มีชื่อว่า ชาวเกษตร (Chaokaset) ขึ้นมา เพื่อเป็นตัวช่วยให้กับเกษตรกร ในการก้าวเข้าสู่เกษตรกรรมยุค 4.0


นายพรชัย ธรรมรัตนนนท์
วิศวกรอาวุโส เนคเทค
นายพรชัย ธรรมรัตนนนท์ วิศวกรอาวุโส เนคเทค หนึ่งในทีมวิจัย กล่าวถึง ชาวเกษตรว่า เป็น “โมบายแอพพลิเคชั่น” ที่ช่วยแนะนำเกษตรกรถึงวิธีการเพาะปลูกที่ถูกต้องตามกรอบเวลา (crop calendar) และวิธีปฎิบัติงานในแปลงอย่างถูกต้องและเหมาะสม เช่น การบริหารจัดการน้ำ ปุ๋ยหรือยารักษาโรคพืช โดยแอปพลิชั่น ดังกล่าว จะเข้ามาเป็นตัวเชื่อมโยงองค์ความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร อย่างครบวงจร เช่น ข้อมูลปฏิบัติ คลิปวิดีโอความรู้ มานำเสนอตามชนิดพืชที่ถูกกำหนด ร่วมกับ นักวิชาการเกษตรที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน อย่าง สมาร์ทโฟน มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย การดึงความสามารถจากเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการแปลงก็เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกได้อีกแนวทางหนึ่ง อาทิ เช่น การแจ้งเตือน การเตือนภัย การจดบันทึกบัญชีฟาร์ม การบันทึกพิกัดแปลง เป็นต้น
สำหรับแอพพลิชั่น ชาวเกษตร เริ่มทดลองใช้มาได้ประมาณ 1 ปี มีทีมงานร่วมทำจำนวน 3 คน ส่วนข้อมูลข้อความรู้ต่างๆ มีผู้เชี่ยวชาญ จากทางสวทช. และกรมวิชาการเกษตร มาให้ความรู้ ซึ่งดูว่า เกษตรกรไทยมีการปลูกอะไรกันมาก ก็จะเข้าไปทำตรงนั้นก่อน เช่น ตอนนี้ทำเรื่อง ข้าว และในอนาคต ถ้าเกษตรกรมาเข้าร่วมในแอปพลิเคชั่น กันมากๆ ก็จะขยายไปยัง พืชการเกษตร อื่นๆ ที่มีการเพาะปลูกกันมากในพื้นที่นั้น ๆ
ทั้งนี้ การเราเลือกทำแอปพลิชั่น ชาวเกษตร ในครั้งนี้ แทนที่จะทำแค่เว็บไซต์ เพราะปัจจุบัน เกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้มือถือกันทุกคน ดังนั้น การที่จะเข้าถึงแอปพลิเคชั่น จะง่ายกว่า การเข้าช่องทางออนไลน์อื่นๆ ซึ่งตอนนี้ผู้ใช้ยังไม่มาก เพราะเราเพิ่งเปิดตัว และแนะนำเกษตรกรในกลุ่มที่เข้าร่วมเวทีเสวนา ในเวทีต่างๆ ที่ เราจัด และเวทีที่กรมวิชาการเกษตรจัดเท่านั้น
โดยประโยชน์ที่เกษตรกร จะได้รับ สำหรับแอปพลิชั่น ชาวเกษตร ในครั้งนี้
1. เกษตรกรมีระบบช่วยให้คำแนะนำและวิธีปฏิบัติในแปลงเพาะปลูกที่ถูกต้องและเหมาะสม
2. เกษตรกรมีระบบช่วยจดบันทึกกิจกรรมการเพาะปลูกแปลง
3. เกษตรกรมีระบบที่ให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำเมื่อพบปัญหาระหว่างการเพาะปลูก
4. เกษตรกรมีระบบช่วยจัดทำบัญชีฟาร์ม ซึ่งเกษตรกร สามารถนำบัญชีฟาร์มที่จดบันทึกไปใช้ สำหรับการขอกู้เงินกับทาง ธกส.ได้
5. เกษตรกรสามารถออก QR Code เพื่อใช้ในการตลาดและการลงทุน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้าเกษตรที่ปลอดภัย ดังนั้น QR Code จะตัวบ่งชี้ว่า ผลผลิตการเกษตรที่เขาซื้อมาจากฟาร์มไหน และสามารถย้อนกลับไปดูการทำงานของแหล่งที่มาของ สินค้าเกษตรตัวนั้นได้
6. เจ้าหน้าที่สามารถติดตามและสรุปข้อมูลแปลงเกษตรกรรมเชิงสถิติได้
ขอบคุณที่มา : MGR Online