เผยแพร่สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง CODING X ChangThai (Metaverse by CoSpace Edu) เรียนรู้โค้ดดิ้ง ผ่านแบบจำลองศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย โดยนายนพรัตน์ สวยฉลาด โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
กิจกรรมการเรียนรู้แบบโค้ดดิ้ง บูรณาการกับบริบทของท้องถิ่น วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา จังหวัดลำปาง
จุดประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเอง ให้มีคุณลักษณะขั้นต่ำตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ มีทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้แบบโค้ดดิ้ง ควบคู่กับเกิดความรัก และความผูกพันกับท้องถิ่นของตนเอง บนพื้นฐานของการเรียนรู้อย่างมีความสุข
เนื้อหา
การเขียนโปรแกรมที่มีการทำงานวนซ้ำ ทางเลือก และการกำหนดตัวแปร (ปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม)
โปรแกรม/อุปกรณ์
- เว็บไซต์ CoSpace Edu
- แผนการจัดการเรียนรู้ของตนเอง
- คอมพิวเตอร์/ สมาร์ทโพนพร้อมติดตั้งแอปพลิเคชัน CoSpace Edu
Android : CoSpace Edu
iOS : CoSpace Edu - VR BOX (หากไม่มีก็ไม่จำเป็นต้องใช้)
กิจกรรมการเรียนการสอน
- ผู้สอนกล่าวทักทายผู้เรียน
- ผู้สอนใช้คำถามกระตุ้นความสนใจ “ในฐานะที่เราทุกคนเป็นคนในพื้นที่อำเภอห้างฉัตร พวกเราคิดว่า
สิ่งไหนหรือสถานที่ท่องเที่ยวไหน ที่อยากให้คนภายนอกเข้ามาเที่ยวหรือเรียนรู้” - ผู้สอนใช้คำถามกระตุ้นความสนใจอีกครั้งหนึ่ง “ทำไมพวกเราถึงอยากให้คนภายนอกรู้จักและมาเที่ยว
ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย” - ผู้สอนกล่าวถึงจุดประสงค์ของการเรียนในชั่วโมงนี้
- ผู้เรียนสมัครและเข้าใช้งานโปรแกรม CoSpace Edu และกดทดลองใช้แบบ Pro (หากต้องการโค้ดทดลองให้กดลงทะเบียนผ่านฟอร์ม โค้ดจะส่งให้ทางอีเมล์ครับ)
- ผู้เรียนเรียนรู้การสร้างวัตถุในแบบจำลองทั้งสัตว์ พื้นหลัง สภาพแวดล้อม รวมถึงการกำหนดพฤติกรรม
6.1 เลือกสร้างโดยกดที่ Empty scene
6.2 กำหนดพื้นหลัง ไปที่ Environment > Environment
(กำหนดฟิลเตอร์ ไปที่ Environment > Environment Filters)
(กำหนดเอฟเฟค ไปที่ Environment > Effect)
6.3 เพิ่มวัตถุ เช่น ช้าง ให้ไปที่ Library > Animal > ช้าง ลากมาใส่
- ผู้เรียนเขียนโปรแกรมที่มีการทำงานวนซ้ำ ทางเลือก และการกำหนดตัวแปร
ก่อนที่จะสามารถเขียนโปรแกรมได้จะต้องคลิกเลือกวัตถุก่อนจากนั้นคลิกขวาที่วัตถุ > Code > Use in CoBlocks จากนั้นกด Coding มุมขวาบน แล้วเลือก CoBlockS จึงจะสามารถเริ่มเขียนโปรแกรมได้ - ผู้สอนนำผู้เรียนไปใช้งาน Metaverse (AR และ VR) สนามหญ้าหรือพื้นที่กว้าง ไม่มีสิ่งกีดขวาง
- ผู้เรียนและผุ้สอนสรุปสิ่งที่ได้ร่วมกัน
ใบกิจกรรม
ตัวอย่างใบกิจกรรม : ให้ผู้เรียนใช้พื้นหลัง ฟิลเตอร์ เอฟเฟค และสร้างวัตถุ(ช้าง) 5 วัตถุ และตอบคำถามเกี่ยวกับโปรแกรมที่มีการทำงานวนซ้ำ ทางเลือก และการกำหนดตัวแปร (ผู้สอนสามารถออกแบบใบกิจกรรมด้วยตนเอง)
กรอกข้อมูลเพื่อรับใบกิจกรรมตัวอย่าง + วิดีโอการสอนแบบสรุป + โค้ดใช้งานแบบ Pro ทดลอง 1 เดือน
“หากไม่สะดวกกรอกข้อมูล โค้ดสามารถไปเอาได้ที่เว็บของ CoSpace Edu ได้”
ดาวน์โหลดผลงานและแบบตอบรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
กรอกข้อมูลที่นี่ <<<<<
หรือ https://forms.gle/dxHiWUTGxU6t5Uao8
ผู้เขียน : นายนพรัตน์ สวยฉลาด ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน