วิธีการใช้ระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตนได้เปิดและบรรยายพิเศษ “ความสําคัญของการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพนักเรียน ผู้มีความสามารถพิเศษ บนฐานพหุปัญญา” วัดแววความสามารถ กระทรวงศึกษาธิการ มี ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ผอ.สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ครู รวม 1,000 คนเข้าร่วมประชุม ผ่านระบบ Zoom Meetingและผู้ที่สนใจรับชม ผ่านช่องทาง OBEC Channel จำนวนกว่า 85,000 คน
เวลา 08.30 น. เปิดและบรรยายพิเศษ “ความสําคัญของการพัฒนา และเสริมสร้างศักยภาพนักเรียน ผู้มีความสามารถพิเศษ บนฐานพหุปัญญา” มี ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ผอ.สถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการ ครู รวม 1,000 คนเข้าร่วมประชุม ผ่านระบบ Zoom Meeting และผู้ที่สนใจรับชม ผ่านช่องทาง OBEC Channel (Facebook & Youtube) จำนวนกว่า 85,000 คน
พหุปัญญา 8 ประการของ Dr.Howard Gardner
ทฤษฎีพหุปัญญาคิดค้นขึ้นโดย Dr. Howard Gardner ในปี คศ. 1983 เพื่อชี้ชัดถึงมโนทัศน์ของความฉลาด และแจกแจงวิธีวัดความฉลาด ซึ่งมีหลากหลาย (ภาษาไทยเรียกพหุปัญญา) ว่าเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง
ทฤษฎีของเขาอธิบายโต้แย้งว่าความฉลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามที่เคยระบุความหมายไว้แต่เดิมซึ่งเรียก “ไอคิว” (IQ) นั้นไม่เพียงพอที่จะชี้นำไปสู่การแสดงความสามารถของมนุษย์ที่มีมากมายหลากหลาย ในความคิดของเขาเด็กที่ฝึกคูณเลข(คณิตศาสตร์) ได้อย่างคล่องแคล่วไม่จำเป็นว่าจะฉลาดกว่าคนที่คิดเลขไม่ค่อยได้
เด็กคนที่สองอาจมีปัญญาชนิดอื่นที่แกร่งกว่าก็ได้ ดังนั้นการเรียนรู้ที่ดีที่สุดอาจเกิดจากวัตถุดิบที่ให้ผ่านวิธีการที่ต่างกัน เขาอาจจะทำได้ดีในเรื่องที่ไม่ใช่คณิตศาสตร์หรืออาจจะกำลังดูผ่าน กระบวนการเรียนรู้การคูณที่ระดับพื้นฐานที่ลึกซึ้งกว่าซึ่งซ่อนศักยภาพ ที่เหนือชั้นกว่าปัญญาทางคณิตศาสตร์ไว้สูงกว่าคนที่แค่จำหลักคิดได้เท่านั้น
ภาพความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
- ยึดหลักพระบรมราโชบายด้านการศึกษา 4 ประการ คือ มีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพสุจริต และเป็นพลเมืองที่ดี
- ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ ประเด็นการตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลายเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง
- แผนการปฏิรูปประเทศฯ ด้านการศึกษา กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 ครูต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการจัดการเรียนรู้และรูปแบบการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุดของแต่ละคน
- จุดเน้นของการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ของแต่ละระดับของแผนปฏิรูปประเทศ ด้านการศึกษา
- ประถมศึกษา พัฒนาผู้เรียนเป็นรายบุคคลตามศักยภาพ
- มัธยมศึกษาตอนต้น มุ่งต่อยอดกระบวนการคิดเชิงระบบ
- มัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งต่อยอดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดขั้นสูง ผ่านการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาหรือโครงงานเป็นฐาน
เป้าหมาย เพื่อใช้ในการคัดกรองวิเคราะห์ วินิจฉัยผู้เรียนรายบุคคล ทราบถึงแววความสามารถพิเศษและสามารถจัดการศึกษานักเรียนรายบุคคล
ประเภทความสามารถพิเศษ ภาษา / คณิตศาสตร์ / วิทยาศาสตร์ /เครื่องกลและอิเล็กทรอนิกส์ / การได้ยิน / การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ / สังคมและอารมณ์ / ศิลปะ มิติสัมพันธ์
กระบวนการของระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษฯ
ระบบสํารวจแววความสามารถพิเศษ mi-test
- สังเกตพฤติกรรมของนักเรียน
- นักเรียนประเมิน / ครูประเมิน
- กรอกข้อมูลเข้าระบบ
- ระบบประมวลผล
- ครูนำผลการประเมินไปใช้พัฒนานักเรียน
ผลที่ได้จากการสำรวจแววฯ
- เติมเต็มการจัดการเรียนรู้ตามความถนัด เช่น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้สื่อสารทางภาษา เน้นกระบวนการคิด ทักษะการแก้ปัญหาฯ การทำงานเป็นทีม ออกแบบใช้ความคิดสร้างสรรค์
- ต่อยอดทักษะอาชีพ เช่น ครูสอนวิทยาศาสตร์ / นักวาดการ์ตูน / ช่างออกแบบกราฟิก / นักวิทยาศาสตร์ และอื่นๆ
การนำผลการสำรวจแววฯ ไปใช้
- ครู : ใช้วางแผนการจัดการเรียนรู้รายบุคคลและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
- โรงเรียน : ใช้วางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
- สพท. : ใช้ขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาระดับเขต
- สพฐ. : เป็นภาพรวมของประเทศในการกำหนดนโยบายทางการศึกษา
สิ่งที่ฝาก
- นักเรียนทุกคนมีความแตกต่างและหลากหลาย มีศักยภาพที่สามารถพัฒนาได้ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลจึงจะสามารถส่งเสริมและพัฒนานักเรียนได้เต็มตามศักยภาพ และสิ่งที่สำคัญคือ สามารถกำหนดเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ถึงแม้เรามีข้อมูลและเครื่องมือที่ดี แต่ถ้าไม่ได้นผลมาใช้ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร จึงอยากให้ทุกท่านนำผลการประมวลมาใช้เพื่อวางแผนการพัฒนานักเรียนต่อไป
Youtute ประชุมชี้แจงการใช้งานระบบ
https://www.youtube.com/watch?v=CfS26R_E2bk
ประเภทของผู้เข้าใช้งานระบบวัดแวว mi test
ระบบนี้ได้แบ่งผู้เข้าใช้งานเป็น 3 ส่วน แบ่งการเข้าใช้งานเป็นแต่ละประเภทดังนี้
- ครูประจำชั้น/ครูแนะแนว
- นักเรียน
- ผู้ปกครองนักเรียน
เข้าระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษ
คู่มือวัดแววความสามารถพิเศษ
ขอบคุณที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | (obec.go.th)
บทความที่เกี่ยวข้อง
- วิธีการใช้ระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
- ดาวน์โหลด เอกสารคู่มือแนวทางการใช้แบบสำรวจแววความสามารถพิเศษ โดย สพฐ.
- ดาวน์โหลด คู่มือการใช้งานระบบสำรวจแววความสามารถพิเศษด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับโรงเรียน ครู และนักเรียน โดย สพฐ.