แนะนำหลักการทำคลิป 8 ตัวชี้วัด ตามเกณฑ์ ว.PA

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านครับ

Toggle

แนะนำหลักการทำคลิป 8 ตัวชี้วัด ตามเกณฑ์ ว.PA

คุณครูที่นใดกำลังสงสัยวิธีการบันทึกคลิปวิดีโอสอน ตามเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ วPA บทความนี้ครูอาชีพดอทคอม ขอแนะนำหลักการทำคลิป 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ ว.PAต้องทำอย่างไรบ้างมาดูกันครับ…

แนะนำหลักการทำคลิป 8 ตัวชี้วัด ตามเกณฑ์ ว.PA
แนะนำหลักการทำคลิป 8 ตัวชี้วัด ตามเกณฑ์ ว.PA

ตัวชี้วัดที่ 1 : ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

-สิ่งแรกที่คลิปการสอนต้องมีคือความถูกต้องและตรงตามหลักสูตร
-คลิปการสอนต้องอธิบายเป็นขั้นตอน เข้าใจง่ายและต้องใช้เวลาไม่มากไม่น้อยเกินไป
-คลิปต้องใส่เนื้อหาที่แสดงถึงการแก้ปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และเข้าใจ นอกจากนั้นยังสามารถต่อยอดการคิดแก้ปัญหาได้ (หลังจากนั้นบันทึกการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 2 : ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

-ใช้คำถาม แบบฝึกหัด กิจกรรม ฯลฯ เพื่อทบทวนทักษะและประสบการณ์เดิม
-ตัวคลิปสามารถเข้าถึงผู้เรียนที่ยังไม่เข้าใจบทเรียนได้
-สำหรับผู้เรียนที่ยังไม่สามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่ได้ ครูสามารถให้ผู้เรียนดูคลิปและอธิบาย ยกตัวอย่าง ใช้คำถาม เกมหรือกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้เรียนได้
-เนื้อหาของคลิปต้องสามารถเห็นถึงการแก้ปัญหาและให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ได้ (หลังจากนั้นบันทึกการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 3 : ให้ผู้เรียนสร้างความรู้เองหรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

-หลังจากผู้เรียนได้ดูคลิป ลองใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสรุปความหรือประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เช่นแผนที่ความคิด ตารางวิเคราะห์ การทดลองปฏิบัติ หรือการนำเสนอ
-แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่เพื่อสร้างความรู้และประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง (หลังจากนั้นบันทึกการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 4 : ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

-กิจกรรมในคลิปต้องเชื่อมโยงและสอดคล้องกับบริบทในชีวิตประจำวัน
-วิธีการและกิจกรรมต้องมีความท้าทายและมีระดับความยากง่ายให้เหมาะกับพัฒนาการของผู้เรียน
-ใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ (หลังจากนั้นบันทึกการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 5 : ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

-ผู้เรียนต้องได้ฝึกทักษะครบตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้
-ผู้เรียนดูคลิปแล้วสามารถบูรณาการทักษะต่าง ๆ แล้วสามารถลงมือปฏิบัติได้จริง และสามารถประยุกต์ใช้ทักษะในสถานการณ์หรือประสบการณ์ใหม่
-แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะของผู้เรียน (หลังจากนั้นบันทึกการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 6 : ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

-ผู้เรียนสามารถสังเกตหรือค้นหาข้อผิดพลาดในระหว่างการเรียน
-ประเมินผลของผู้เรียนด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนำผลที่ได้มาสะท้อนกลับให้กับผู้เรียน
-ผู้เรียนสามารถใช้ผลสะท้อนกลับต่อยอดและปรับปรุงการเรียนได้ (หลังจากนั้นบันทึกการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 7 : ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

-ครูใช้ด้วยภาษา พฤติกรรมและการสอนที่เหมาะสม
-ให้อิสระในการคิดหรือทดลองแล้วกระตุ้นผู้เรียนให้มีความมั่นใจและรู้ว่าตัวของผู้เรียนมีความสามารถทางด้านไหน
-ใช้สื่อหรือตัวอย่างประกอบการเรียนที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนรู้จักวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
-ใช้วิธีการใหม่ ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน (หลังจากนั้นบันทึกการสอน)

ตัวชี้วัดที่ 8 : ผู้เรียนสามารถต่อยอดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

-เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้วางแผนกำหนดเป้าหมายและลงมือปฏิบัติ
-ผู้เรียนสามารถประเมินตัวเองหรือสามารถให้เพื่อประเมินตนเองได้ทั้งในระหว่างเรียนและหลังเรียน
-ให้ผู้เรียนรู้จักค้นคว้า ฝึกฝนและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพิ่มเติมหลังจบบทเรียน
-ใช้วิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถต่อยอดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (หลังจากนั้นบันทึกการสอน)

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูโรงเรียนบางละมุง เพจ อักษรเจริญทัศน์ อจท.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่