สอนออนไลน์อย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ 5 กลยุทธ์ในการกระตุ้นผู้เรียนทางออนไลน์
วันนี้ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอเทคนิคการสอน ที่จะช่วยให้คุณครูสามารถดึงดูดความสนใจ กระตุ้นผู้เรียนทางออนไลน์ มี 5 กลยุทธ์ มาดูกันเลยครับ ก่อนอื่นคุณครูต้องทบทวนในเรื่องจิตวิทยาการศึกษากันก่อนครู ซึ่งได้จำแนกแรงจูงใจออกเป็น 2 ประเภท คือ แรงจูงใจภายใน และ แรงจูงใจภายนอก (Bligh, 1971; Sass, 1989) แรงจูงใจภายใน นั่นจะเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล และมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร ได้แก่
- Interest : ความสนใจ
- Perceptions : การรับรู้สิ่งเร้า
- Desire : ความต้องการ
- Self-confidence : ความมั่นใจในตัวเอง
- Self-esteem : การเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งส่งผลต่อความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิต
- Patience : ความอดทน
- Persistence : ความพากเพียร
ส่วนแรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันจากสิ่งเร้าภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมไม่ถาวร แต่หากเกิดการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องจะสามารถเปลี่ยน แรงจูงใจภายนอกเป็นแรงจูงใจภายในได้ ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมเปลี่ยนค่อนข้างถาวร
สำหรับวิธีการกระตุ้นให้เกิดการสร้างแรงจูงใจภายนอก เพื่อให้กระตุ้นการสร้างแรงจูงใจภายใน ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการมีส่วนร่วมในการทำงานและเรียนรู้ มีดังนี้
1. ให้รางวัลแก่นักเรียนที่ทำสำเร็จ
เกณฑ์การให้คะแนนพิเศษ หรือสิทธิพิเศษบางอย่าง นอกเหนือจากคะแนนปกติ เมื่อทำงานได้รับมอบหมาย / โครงการ อย่างสม่ำเสมอตลอดการเรียนจะช่วยกระตุ้นให้นักเรียนอยากมีส่วนร่วมมากขึ้น
(Interest+Perceptions+Desire+Self-confidence + Self-esteem+Patience+Persistence)
2. ให้นักเรียนสามารถติดตามความก้าวหน้าของตนเอง
เครื่องมือประเมินผลที่ใช้ในการติดตามความคืบหน้าของนักเรียน และยังสามารถช่วยในการกระตุ้นให้พวกเค้าเหล่านั้นไปถึงจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้ ดังนี้
Blackboard
Discussions
Blogs
group projects
assignments
and holding virtual office hours
การสรุปเนื้อหาหรือกิจกรรมแล้ว post ใน forum จะทำให้นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ ซึ่งอาจารย์สามารถตอบข้อซักถามได้ด้วย
(Interest+Perceptions+Desire+Self-confidence+Persistence)
3: สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเข้าถึงของนักเรียน
– เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ chat ตามช่องทางการสื่อสารของ app social ปัจจุบัน
– จัด conference
– Email เป็นเครื่องมือทางโซเชียวที่ช่วยให้นักเรียนเข้าถึงผู้สอนได้ง่ายขึ้น เราสามารถสร้างคำถามและการตอบกลับรายบุคคลได้
(Interest+Perceptions)
4. ช่วยนักเรียนกำหนดเป้าหมายที่ทำได้ในหลักสูตร
นักเรียนควรได้รับการสนับสนุนให้เรียนรู้ด้วยตนเอง อาจารย์มีหน้าที่ในการให้การสนับสนุน แนะนำ โดยการกำหนดเป้าหมายย่อยๆ และมอบหมายงานที่มุ่งไปสู่เป้าหมายนั้น ซึ่งการบ้านหรือแบบฝึกหัดจะต้องเป็นงานที่ไม่ง่ายหรือยากจนเกินไป มีการให้ผลสะท้อนกลับระหว่างการทำงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เด็ก
(Interest+Perceptions+Self-confidence+Self-esteem+Persistence)
5. อนุญาตให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างหลักสูตร
สอบถามความเห็นของนักเรียน ที่ผ่านการเรียนหลักสูตรนี้มาแล้ว และนักเรียนที่กำลังเรียนหลักสูตรนี้อยู่ ถึงข้อที่ดี และข้อที่ควรปรับเพิ่ม เพื่อใช้ในการปรับหลักสูตรให้น่าสนใจขึ้น ซึ่งการปรับจะต้องไม่ออกนอกวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
(Interest+Perceptions+Self-esteem)
อ้างอิง : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี https://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/5-tips-student-engagement/