การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู คืออะไร สอบไปทำไม? สอบแล้วได้อะไร? ทำไมเรียนครูมาแล้วยังต้องสอบอีก?
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 138 ตอนพิเศษ 283 ง ได้เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 โดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังนี้
1) ให้แก้ไขนิยามคำว่า “ปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า หมายความว่า คุณวุฒิปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ปริญญาโท และปริญญาเอกทางการศึกษา หรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง และปริญญาทางการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศที่ผ่านการเทียบคุณวุฒิจากหน่วยงานของรัฐ”
2) ให้มีคณะอนุกรรมการ จำนวนไม่เกิน 15 คน ทำหน้าที่กำหนดแนวทาง และรายละเอียดของหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู อำนวยการและดำเนินการตามแนวทาง และรายละเอียดของหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูเพื่อการขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการ แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามที่คณะอนุกรรมการมอบหมาย พิจารณาอนุญาต อนุมัติ เห็นชอบ หรือออกคำสั่งหรือประกาศใด ๆ เพื่อการปฏิบัติงานตามอำนาจและหน้าที่ของคณะอนุกรรมการ และดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
คณะอนุกรรมการ ประกอบด้วย ประธานอนุกรรมการ ที่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา อนุกรรมการโดยตำแหน่ง 3 คน ประกอบด้วย ประธานสภาคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อนุกรรมการ ที่แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา ซึ่งมีคุณวุฒิ และมีตำแหน่งทางวิชาการ ผลงานทางวิชาการ และ/หรือ ประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้านรวมกัน ได้แก่ การจัดการศึกษาในระดับปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า การวัดและประเมินผล การบริหารจัดการทดสอบและการประเมิน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย อย่างน้อย 1 คน มีเลขาธิการคุรุสภา หรือรองเลขาธิการคุรุสภาที่ได้รับมอบหมายเป็นอนุกรรมการ และมีพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาที่เลขาธิการคุรุสภามอบหมาย 1 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ โดยคณะอนุกรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี และเมื่อครบกำหนดวาระ ให้คณะกรรมการดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดใหม่ภายใน 60 วัน
3) สมรรถนะทางวิชาชีพครู ประกอบด้วย
(ก) ความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ได้แก่ (1) วิชาชีพครู (2) วิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (3) วิชาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (4) วิชาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และ (5) วิชาเอก ตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด และ (ข) การปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ได้แก่ (1) การจัดการเรียนรู้ (2) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน และ (3) การปฏิบัติหน้าที่ครู และจรรยาบรรณของวิชาชีพ โดยรายละเอียดของสมรรถนะทางวิชาชีพครู ให้เป็นไปตามข้อบังคับคุรุสภา ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการเกณฑ์การตัดสินการทดสอบและประเมิน แต่ละวิชาต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 โดยให้คำนึงถึงค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการวัดประกอบการพิจารณาด้วย หรือตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ทั้งนี้ รายละเอียดขั้นตอน วิธีการ และเครื่องมือการทดสอบและประเมินให้เป็นไปตามที่คณะอนุกรรมการกำหนด โดยคำนึงถึงข้อจำกัดและความแตกต่างของผู้เข้าทดสอบและประเมิน
4) คุณสมบัติของผู้เข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ดังนี้
(ก) เป็นผู้มีคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษาในประเทศไทยข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ (1) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง ( 2) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีอื่นที่คุรุสภารับรอง และ (3) วุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีอื่น และผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพของคุรุสภา (ข) เป็นผู้มีคุณวุฒิที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ 1) วุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า 2) วุฒิปริญญาอื่น และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากต่างประเทศ 3) วุฒิปริญญาตรีอื่น และมีคุณวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพครูที่ใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี และ 4) วุฒิปริญญาตรีอื่น และผ่านการรับรองความรู้ตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพ
ของคุรุสภา และ (ค) เป็นผู้อยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่าที่คุรุสภารับรองตามหลักเกณฑ์คุณสมบัติที่คณะอนุกรรมการกำหนด
สำหรับเข้ารับการทดสอบและประเมินที่เป็นชาวต่างประเทศหรือชาวไทยที่อยู่ระหว่างศึกษา หรือสำเร็จปริญญาทางการศึกษา หรือปริญญาอื่นจากต่างประเทศ หรือหลักสูตรภาษาอังกฤษ หรือหลักสูตรนานาชาติ ในประเทศไทย ให้ยกเว้นการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพ ตามข้อ 7 (ก) (2)
5) การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู
ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพครู ตามข้อ 7 (ก) (5) เมื่อคุรุสภาปรับปรุงระบบการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรทางการศึกษาให้เชื่อมโยงกับวิชาเอกที่จะดำเนินการทดสอบ และประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ภายใน 2 ปี
6) ผู้เข้ารับการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู
ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 1/2564 ตามประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู พ.ศ. 2563 ได้รับการยกเว้นการใช้ผลการทดสอบและประเมินสมรรถะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ในวิชาเอก เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูด้วย ประกาศฉบับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ดังนั้น ผู้มีสิทธิขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู คือ บุคคลที่เป็นผู้ผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ครั้งที่ 1/2564 จำนวน 4 รายวิชา ได้แก่ 1) วิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 2) วิชาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3) วิชาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และ 4) วิชาชีพครู และผ่านการทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน ตามมาตรฐานวิชาชีพครูเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากปริญญาหรือประกาศนียบัตรที่คุรุสภารับรอง และไม่มีลักษณะต้องห้าม
การทดสอบ และประเมิน สมรรถนะ วิชาชีพครู คืออะไร ?
การทดสอบและประเมินสมรรถนะ แบ่งเป็น 2 ด้าน ดังนี้
1.1 การทดสอบ คือ การทดสอบสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ตามมาตรฐานวิชาชีพครู ประกอบด้วย 4 วิชา ได้แก่
(1) วิชาชีพครู
(2) วิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
(3) วิชาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
(4) วิชาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
– การทดสอบในวิชา (1) จะใช้แบบทดสอบแบบเลือกตอบและแบบเบียนตอบ
– การทดสอบในวิชาที่ (2) – (4) จะใช้แบบทดสอบแบบเลือกตอบ
1.2 การประเมิน คือ การประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครู ด้านการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพครู โดยใช้แบบประเมิน เพื่อวัดและประเมินสมรรถนะด้านการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน 3 ด้าน
(1) การจัดการเรียนรู้ (2) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน (3) การปฏิบัติหน้าที่ครู และจรรยาบรรณของวิชาชีพ
ทําไมต้องเข้ารับ การทดสอบและประเมิน
การทดสอบและประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูเป็นคุณสมบัติหนึ่งของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูที่กําหนดใน ข้อบังคับคุรุสภา ว่าตัวยใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
คุณสมบัติ ผู้เข้ารับการทดสอบและประเมิน
3.1 เป็นชาวไทย หรือชาวต่างประเทศ
3.2 เป็นผู้มีคุณสมบัติตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
3.2.1 เป็นผู้มีคุณวุฒิไม่ต่ํากว่าปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่า ที่คุรุสภารับรอง โดยสําเร็จการศึกษาในประเทศไทยและเข้าศึกษา ในปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป
3.2.2 เป็นผู้มีคุณวุฒิที่สําเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป และผ่านการเทียบคุณวุฒิจากหน่วยงาน ของรัฐข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
(1) วุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือเทียบเท่า (2) วุฒิปริญญาตรีขึ้น และมีคุณวุฒิประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู ที่ใช้เวลาศึกษาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
3.2.3 เป็นผู้อยู่ระหว่างศึกษาในหลักสูตรปริญญาทางการศึกษา หรือเทียบเท่าที่คุรุสภารับรอง เพื่อใช้เป็นคุณวุฒิในการขอรับใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครู ที่เข้ารับการศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 และมีรายชื่อที่สถาบันอุดมศึกษาได้รับรองและจัดทําข้อมูลแจ้งต่อเลขาธิการคุรุสภา โดยมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
(1) อยู่ระหว่างศึกษาในชั้นปีที่ 3 ในหลักสูตรปริญญาตรีทางการศึกษา
(2) อยู่ระหว่างศึกษาในชั้นปีที่ 2 ในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
วิธีการทดสอบสามารถดำเนินการได้ 2 วิธี
สามารถดําเนินการได้ 2 วิธี สามารถดําเนินการได้ 2 วิธี โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือทั้ง 2 วิธีรวมกันได้
การทดสอบ
– ชาวไทย สมัครสอบ จํานวน 4 วิชา วิชาละ 300 บาท (1) วิชาชีพครู (2) วิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (3) วิชาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (4) วิชาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
– ชาวต่างประเทศ หรือชาวไทย ที่อยู่ระหว่างศึกษาหรือสําเร็จการศึกษาในหลักสูตร ภาษาอังกฤษ หรือ หลักสูตรนานาชาติ สมัครสอบ จํานวน 3 วิชา วิชาละ 500 บาท (1) วิชาชีพครู (2) วิชาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร (3) วิชาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา
การยื่นเทียบเคียง ผลการทดสอบ
ชาวไทย และชาวต่างประเทศ สามารถเทียบเคียงได้ 2 วิชา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (1) วิชาการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (2) วิชาการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
การประเมิน แบ่งเป็น 3 ด้าน
(1) การจัดการเรียนรู้ (2) ความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน (3) การปฏิบัติหน้าที่ครู และจรรยาบรรณของวิชาชีพ
– เกณฑ์การผ่าน และระยะเวลาการเก็บผลการทดสอบ
เกณฑ์การผ่าน
(1) การทดสอบ แต่ละวิชาต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60 กรณีการเทียบเคียงผลการทดสอบ ให้เป็นไปตามมติของคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง
(2) การประเมิน แต่ละด้านต้องไม่ต่ํากว่าร้อยละ 60
ระยะเวลาการเก็บผล
(1) การทดสอบสามารถใช้ผลภายใน 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศผล หากเกินกําหนดต้องเข้ารับการทดสอบฯ ใหม่
(2) การประเมินสามารถใช้ผลได้จนกว่าจะผ่านการขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
รายละเอียดเพิ่มเติม ที่ https://www.ksp.or.th/