การพิมพ์ตัวเลข “๒๐๑๙” ที่ต่อท้ายข้อความว่า “เชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙”
การพิมพ์ตัวเลข “๒๐๑๙” ที่ต่อท้ายข้อความว่า “เชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙”

การพิมพ์ตัวเลข “๒๐๑๙” ที่ต่อท้ายข้อความว่า “เชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙” ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอวิธีการพิมพ์ตัวเลข “๒๐๑๙” ในหนังสือราชการ ที่ถูกต้องตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้องครับ เป็นคำชี้แจงจาก นางพรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นักวรรณศิลป์ชํานาญการ ดังนี้ครับ

การพิมพ์ตัวเลข “๒๐๑๙” ที่ต่อท้ายข้อความว่า “เชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙” ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน
การพิมพ์ตัวเลข “๒๐๑๙” ที่ต่อท้ายข้อความว่า “เชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙” ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน

ตามที่สอบถามมาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ว่า ตัวเลข “๒๐๑๙” ที่ต่อท้ายข้อความว่า “เชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙” ควรเขียนด้วยตัวเลขไทยหรือตัวเลขอาระบิก นั้น อธิบายได้ว่า

หากผู้เขียนเขียนข้อความอื่นที่มีตัวเลขกํากับด้วยตัวเลขไทย ก็ให้เขียนตัวเลข “๒๐๑๙” ในข้อความ “เชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙” ด้วยตัวเลขไทย แต่หากเขียนข้อความอื่นที่มีตัวเลขกํากับด้วยตัวเลขอาระบิก ก็ให้ เขียนตัวเลข “2019” ในข้อความ “เชื้อไวรัสโคโรนา 2019” ด้วยตัวเลขอาระบิก ทั้งนี้ เพื่อให้การเขียนเป็น รูปแบบเดียวกัน

อย่างไรก็ดี หากมีการอ้างคําภาษาอังกฤษอยู่ในบทความหรือเรื่องที่เขียนซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน และคําภาษาอังกฤษนั้นมีตัวเลขกํากับหรือประกอบอยู่ ให้เขียนตัวเลขนั้นเป็นตัวเลขอาระบิก

ตัวอย่าง ๑.
นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) หรือ ศบค. แถลงข่าวว่า ในวันนี้มีผู้ติดเชื้อใหม่ จํานวน ๓,๓๕๕ ราย


ตัวอย่าง ๒
นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) หรือ ศบค. แถลงข่าวว่า ในวันนี้มีผู้ติดเชื้อใหม่ จํานวน 3,355 ราย

พรทิพย์ เดชทิพย์ประภาพ นักวรรณศิลป์ชํานาญการ

ขอบคุณที่มา : Facebook ณภัค ถิรกุลยศมาดี

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่