ดาวน์โหลดเอกสาร การพัฒนาศักยภาพด้านการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (Assessment for Learning : AfL) โดย สทศ.สพฐ. แนวทางในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวัดและประเมินผล kpa ประเภทของการวัดและประเมินผล
การจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน
สมรรถนะเป็นสิ่งที่บ่งบอกความสามารถของผู้เรียนในการปฏิบัติงานให้บรรลุ หรือประสบความสำเร็จ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ทักษะ เจตคติ รวมทั้ง คุณลักษณะที่อยู่ภายในของบุคคลนั้น ๆ ทั้งนี้สมรรถนะจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีเป้าหมายชัดเจน โดยมีองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ คือ เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ (Objective) การจัดการเรียนรู้ (Learning) และการวัดและประเมินผล (Evaluation) ซึ่งในบริบทของการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะสามารถเชื่อมโยง องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนได้ดังแผนภาพต่อไปนี้
จากองค์ประกอบข้างต้น 3 ส่วน มีความเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน คือ
1. เป้าหมายการจัดการเรียนรู้ และการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเน้นที่เป้าหมายของการเรียนรู้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนี้เป็นพฤติกรรมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสติปัญญา (พุทธิพิสัย) คือ ความรู้ ความเข้าใจ ด้านเจตคติ จิตพิสัย คือการได้เห็นคุณค่า เห็นความสำคัญ และด้านทักษะ (ทักษะพิสัย) คือ การปฏิบัติได้ถูกต้องตามวัย
ดังนั้น ในการสอนจึงต้องตั้งเป้าหมายให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทั้ง 3 ด้าน มิใช่เพียงด้านใด
ด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ตลอดจนมุ่งให้ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ใหม่ไปใช้ได้ จึงจะถือว่าผู้เรียน
เกิดสมรรถนะ
2. การจัดการเรียนรู้ เป็นกิจกรรมที่สำคัญในกระบวนการทางการศึกษา เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่นั้นการสอนเป็นสำคัญซึ่งจะทำหน้าที่พัฒนาและเสริมสร้างผู้เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีประสบการณ์การเรียนรู้เพิ่มขึ้น
3.การวัดและประเมินผล เป็นการติดตามผลการจัดการเรียนการสอนว่าผู้เรียนบรรลุผลมากน้อยเพียงใด ตามธรรมชาติของผู้เรียนแต่ละคนขึ้นอยู่กับการพัฒนาทางสติปัญญา และทางร่างกายซึ่งมีความแตกต่างกัน การประเมินผลการเรียนจะเชื่อมโยงกับจุดมุ่งหมายทางการศึกษา และวิธีการเรียนการสอนกล่าวคือ ผู้สอนมักจะตั้งความหวังก่อนสอนว่ต้องการจะให้ผู้เรียนรู้อะไร เกิดพฤติกรรมอะไร หรือทำอะไรได้บ้าง ซึ่งความหวังนี้เรียกว่า จุดมุ่งหมายทางการศึกษา โดยมี 3 ด้าน คือ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัยวิธีการวัดและประเมินผลจึงต้องเกี่ยวพันกับจุดมุ่งหมายการศึกษา
จุดมุ่งหมายของการศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะสำคัญที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมรรถะของผู้เรียนอย่างถ่องแท้ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และออกแบบการวัดและประเมินผล โดยมีรายละเอียดแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถะของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังต่อไปนี้
สมรรถนะของผู้เรียน
สมรรถนะของผู้เรียน หมายถึง ความสามารถของผู้เรียนในการนำความรู้ ความเข้าใจ ทักษะความสามารถเจตคติ และคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ผ่านการเรียนรู้ ฝึกฝน และพัฒนาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่เคยเจอมาก่อน จนสามารถดำเนินงานได้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้หรือสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
โดยองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development หรือ OECD ได้อธิบายการเกิดสมรรถนะด้วยรูปภาพ ดังนี้
จากความหมายของสมรรถนะและจากแผนภาพของ OECD องค์ประกอบสำคัญของสมรรถนะประกอบด้วย
ความรู้ (Knowledge) เป็นสิ่งที่บุคคลรู้ ในด้านความรู้เฉพาะศาสตร์ เฉพาะวิชา(Disciplinary knowledge) ความรู้แบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary knowledge) และความรู้ด้านการปฏิบัติในการนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ (Practical knowledge)
ทักษะ (skills) เป็นการทำบางสิ่งให้ดี เป็นความสามารถในการเลือกและใช้เทคนิคในเวลาที่เหมาะสม ทั้งที่เป็นทักษะทางปัญญาและอภิปัญญา (Cognitive and meta-cognitive skills) ทักษะทางด้านอารมณ์และสังคม (Social and emotional skills) และทักษะทางร่างกายและการปฏิบัติ
เจตคติ (Attitude) เจตคติเป็นสิ่งที่เกิดจากความเชื่อและค่านิยมที่สะท้อนให้เห็นถึงนิสัยชอบที่จะตอบสนองต่อบางสิ่งหรือบางคนในเชิงบวกหรือเชิงลบ และเจตคติอาจแตกต่างกันไปตามสถานการณ์บริบทเฉพาะ
ค่านิยม (Values) เป็นหลักชี้นำที่สนับสนุนสิ่งที่ผู้คนเชื่อว่ามีความสำคัญในการตัดสินใจในทุกด้านของชีวิตส่วนตัวและในที่สาธารณะ ซึ่งเป็นตัวกำหนดสิ่งที่บุคคลให้ความสำคัญในการตัดสินและสิ่งที่บุคคลแสวงหาในการปรับปรุงให้ดีขึ้น
แผนภาพของ OECD สามารถอธิบายการเกิดสมรรถนะได้ว่า สมรรถนะเกิดจากการที่ผู้เรียนได้ประมวลผสมผสานความรู้ ทักษะ เจตคติ และค่นิยมในการลงมือปฏิบัติ (Action) ในงานหรือสถานการณ์ ที่เรียกว่า การประยุกต์ใช้ ซึ่งผู้เรียนจะแสดงสมรรถะออกมาเป็นพฤติกรรมและการกระทำที่สามารถสังเกตได้ จุดที่เป็นคานงัดสำคัญ คือการประยุกต์ใช้ เป็นการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for learning)
ความหมายและความสำคัญ
การประเมินเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for learning: AfL) เป็นกระบวนการในการค้นหาและตีความหมายจากหลักฐานต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้โดยผู้เรียนและผู้สอน เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินเกี่ยวกับระดับการเรียนรู้ของผู้เรียน เป้าหมายการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องบรรลุ และวิธีการบรรลุเป้าหมายต้องไปให้ถึงนั้นทำอย่างไร
การประเมินเพื่อการเรียนรู้ จึงเป็นการใช้การประเมินเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของผู้เรียนมุ่งการให้ช้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น พูดแนะนำ เขียนสะท้อนผลการประเมินลงในชิ้นงานด้วยถ้อยคำที่สร้างสรรค์ และเสนอแนวทางการปรับปรุง แก้ไข ผู้ที่มีส่วนร่วมในการประเมิน และให้ข้อมูลป้อนกลับ ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน เพื่อนร่วมชั้น ผู้ปกครอง ทั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลป้อนกลับไปปรับปรุง และพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้บรรลุตามเปัาหมายของหลักสูตร ดังนั้น ผู้สอนควรดำเนินการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการประเมินผลที่มีการรวบรวมหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ต่ง ๆ ตามสภาพจริงด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลาย เกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าอยู่ตรงไหนของการเรียนรู้ จะต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องระหว่างการจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนทุกวัน มีการบันทีก วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ที่ระบุจุดเด่นและจุดที่ต้องพัฒนาหรือปรับปรุงของผู้เรียน และแสดงความก้าวหน้าพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งจะทำให้ผู้สอนเข้าใจการเรียนรู้ของผู้เรียนในแง่มุมต่าง ๆ อย่างรอบด้าน และมองเห็นแนวทางการพัฒนาผู้เรียนที่เชื่อมโยงไปสู่การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และเข้าใจตนเอง เพื่อนำความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปพัฒนาตนเองได้
สิ่งสำคัญที่สุดในการประเมินเพื่อการเรียนรู้คือการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้เรียนในลักษณะคำแนะนำที่เชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ทำให้การเรียนรู้เพิ่มพูนปรับปรุง แก้ไขความคิดความเข้าใจเดิมที่ไม่ถูกต้อง ตลอดจนการให้ผู้เรียนสามารถตั้งเป้าหมายและพัฒนาตนได้ ในการประเมินเพื่อการเรียนรู้ ผู้สอนจะประเมินผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนดเป็นเป้าหมายในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การชักถาม การสังเกต การตรวจการบ้านการแสดงออกในการปฏิบัติผลงาน หรือการแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ของผู้เรียนตลอดเวลาที่จัดกิจกรรมเพื่อดูว่าบรรลุเป้าหมายหรือมีแนวโน้มว่าจะบรรลุเป้าหมายเพียงใด แล้วปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องเป็นระยะ ๆ การประเมินเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนจะประสบผลสำเร็จได้หรือไม่นั้น ผู้สอนจะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดการเรียนรู้ ดังนั้น การประเมินเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนจึงเริ่มตันตั้งแต่การวิเคราะห์หลักสูตรการออกแบบการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการประเมินผลการเรียนรู้ การเลือกหรือการพัฒนาเครื่องมือประเมินการตัดสินผลการประเมิน และการนำผลการประเมินไปใช้
การประเมินเพื่อการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนรู้เป้าหมายของตนเองและรู้ตัวเองว่ากำลังจะไปที่ไหน(Where is the learner going?) ตอนนี้ตนเองอยู่ที่ไหน (Where is the learner now?) และจะไปที่นั่นได้อย่างไร (How can the learner get there?) ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้มากขึ้น ช่วยแก้ปัญหาในการเรียนรู้ของผู้เรียน ส่งผลให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนประสบผลสำเร็จ ตามองค์ประกอบของการประเมินเพื่อการเรียนรู้ ดังแผนภาพที่ 8
ผู้สอนสามารถนำการประเมินเพื่อการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในแผนการจัดการเรียนรู้ได้ตามความเหมาะสมกับวัยและความสามารถของผู้เรียน โดยให้มีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ และสิ่งสำคัญคือ ผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจในเป้าหมายของการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ชัดเจน มีการประเมินเพื่อเก็บข้อมูลผลการเรียนรู้อย่างเพียงพอ และมีการใช้ผลการประเมินเพื่อนำไปใช้สะท้อน (Relect) ที่เป็นข้อเสนอแนะให้กับผู้เรียน ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) อย่างต่อเนื่อง ดังแผนภาพที่ 9
แนวทางการประเมินเพื่อการเรียนรู้
การประเมินเพื่อการเรียนรู้เป็นการประเมินเพื่อพัฒนา (Formative assessment) ที่เกิดขึ้นก่อนการจัดการเรียนรู้ ระหว่างจัดการเรียนรู้ และก่อนที่จะดำเนินการประเมินเพื่อตัดสิน (Summativeassessment การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยในการปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียน และการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย โดยมีแนวทางการประเมิน ดังนี้
1.การประเมินก่อนการจัดการเรียนรู้
การประเมินก่อนการเรียนการสอนเพื่อวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นหน้าที่ของผู้สอนในแต่ละรายวิชา เพื่อตรวจสอบความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ และความพร้อมด้านต่าง ๆ ของผู้เรียนโดยใช้วิธีการ
ที่เหมาะสม แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุง ซ่อมเสริม หรือเตรียมผู้เรียนทุกคนให้มีความพร้อมและมีความรู้พื้นฐาน ซึ่งจะช่วยให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดีโดยมีแนวปฏิบัติดังนี้
1.1 วิเคราะห์ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เป็นพื้นฐานของเรื่องที่จะเรียนรู้
1.2 เลือกวิธีการและเครื่องมือสำหรับประเมินความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะพื้นฐานอย่างเหมาะสม เช่น การใช้แบบทดสอบ การซักถามผู้เรียน การสอบถามผู้ที่เคยสอน การพิจารณา
ผลการเรียนเดิมหรือพิจารณาแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ที่ผ่านมา เป็นต้น
1.3 ดำเนินการประเมินความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะฟื้นฐานของผู้เรียน
1.4 วิเคราะห์ผลการประเมินความรั ทักษะ และคุณลักษณะพื้นฐานของผู้เรียน
1.5 นำผลการประเมินไปพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมที่จะเรียน เช่น การจัดการเรียนรู้
พื้นฐานสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนผู้เรียนที่มี
ความสามารถพิเศษ เป็นต้น
2.การประเมินความก้าวหน้าระหว่างจัดการเรียนรู้
การประเมินความก้าวหน้าระหว่างจัดการเรียนรู้ เป็นการประเมินที่มุ่งตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียนในการบรรลุป้หมายการเรียนรู้ที่ผู้สอนได้วางแผนไว้ เพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศไปพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่อง และส่งเสริมผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ และเกิดการพัฒนาสูงสุดตามศักยภาพ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ของผู้สอน การประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียนที่ดำเนินการอย่างถูกหลักวิชาและต่อเนื่อง จะให้ผลการประเมินที่สะท้อนความก้าวหน้าในการเรียนรู้และศักยภาพของผู้เรียนอย่างถูกต้อง น่าเชื่อถือ โดยผู้สอนเลือกวิธีการวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับภาระงานหรือกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนปฏิบัติ วิธีการประเมินที่เหมาะสมสำหรับการประเมินความก้าวหน้าระหว่างเรียน ได้แก่ การประเมินจากสิ่งที่ผู้เรียนได้แสดงให้เห็นว่ามีการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นผลจากการเรียนรู้โดยมีแนวปฏิบัติ ดังนี้
2.1 ออกแบบการจัดการเรียนรู้ควบคู่กับการประเมินผลการเรียนรู้
2.2 เลือกวิธีและเครื่องมือการประเมินให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้ หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ เช่น การสังเกต การใช้คำถาม การตรวจแบบฝึกหัด การประเมินตนเอง การประเมินตามสภาพจริงการประเมินปฏิบัติ หรือการจัดทำแฟ้มสะสมงาน เป็นต้น
2.3 สร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิธีการประเมินที่กำหนด
2.4 ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ควบคู่กับการจัดการเรียนรู้
2.5 วิเคราะห์ผลการประเมินเพื่อให้ได้ข้อมูลสารสนเทศซึ่งเป็นข้อมูลป้อนกลับ
2.6 นำข้อมูลป้อนกลับไปใช้พัฒนาผู้เรียนและพัฒนาการเรียนการสอนของผู้สอน
2.7 จัดทำข้อมูลสารสนเทศที่แสดงพัฒนาการของผู้เรียน
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้การประเมินเพื่อการเรียนรู้มีประสิทธิภาพก็คือ การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ (Effective feedback) และรูปแบบของการประเมินเพื่อการเรียนรู้ประเภทต่าง ๆ ที่ต้องมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน ได้แก่ การประเมินสภาพจริง (Authentic assessment)การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance assessment) การสะท้อนคิดด้วยตนเอง (Self-reflection)การประเมินเพื่อวินิจฉัย และการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถาม (Questions for learning) ดังแผนภาพที่ 10
ขอบคุณที่มา :; สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. (obec.go.th)