การเขียนคำขวัญ
การเขียนคำขวัญ

การเขียนคำขวัญ โดย เสกสรร ผลวัฒนะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำขวัญ คือ ถ้อยคำที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจหรือเพื่อให้เป็นสิริมงคล นับเป็นงานเขียนที่มีบทบาทมากในสังคมไทยปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากในวันสำคัญแต่ละปีจะมีการประกาศคำขวัญของวันดังกล่าวเพื่อให้บุคคลที่เกี่ยวข้องได้ทราบ ทำความเข้าใจ และนำไปใช้ เช่น คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ ดำขวัญวันแม่แห่งชาติ นอกจากนี้บางหน่วยงานก็มีการประกาศเชิญชวนให้ผู้สนใจส่งคำขวัญเข้าประกวดอยู่เสมอด้วย เช่น คำขวัญวันครู คำขวัญ-ต่างๆ

๑. ลักษณะของคำขวัญ

การเขียนคำขวัญ มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
๑.๑ เป็นข้อความที่แต่งขึ้นเพื่อปลูกฝังแนวคิดและค่นิยมที่ดีงาม เตือนใจมีให้กระทำผิด และให้คิดปฏิบัติในเรื่องเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ตัวตายดีกว่าชาติตาย ยิ้มวันละนิด จิตแจ่มใส
๑.๒ เป็นข้อความที่สั้น กระชับ สละสลวย มีเสียงสัมผัสให้จดจำง่ย ม่ยาวนัก และไม่แต่งเป็นคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง

ส่วนใหญ่คำขวัญจะมีการใช้คำคล้องจองระหว่างวรรค คือ การใช้ถ้อยคำที่มีเสียงไพเราะอันเกิดจากการใช้เสียงสัมผัสสระ” ช่วยให้เกิดความพเราะสละสลวยมากกว่าการใช้ถ้อยคำปกติ เช่น

การเขียนคำขวัญ
การเขียนคำขวัญ 4

จากคำขวัญข้างต้นจะเห็นได้ว่า มีการใช้เสียงสัมผัสสระอาในคำว่ “หน้า” และ “พา” เพื่อสร้าง ความคล้องจองระหว่างวรรคของคำขวัญ

การเขียนคำขวัญ
การเขียนคำขวัญ 5

(คำขวัญชนะเลิศระดับเยาวชน นักเรียน นักศึกษา หัวข้อ “ไม้ของเรา” เนื่องในวันสถาปนากรมป่าไม้ครบรอบ ๑๒๐ ปี)

จากคำขวัญข้างต้นจะเห็นได้ว่า มีการใช้สียงสัมผัสสระเอาในคำว่า “เรา” และ “เอา” เพื่อสร้างความคล้องจองระหว่างวรรคแรกและวรรคที่ ๒ ของคำขวัญ และการใช้เสียงสัมผัสสระไอในคำว่า “ไว้” และ “ใช้”เพื่อสร้างความคล้องจองระหว่างรรคที่ ๓ และรรคที่ ๔ ของคำขวัญ

นอกจากการใช้คำคล้องจองระหว่างวรรคแล้ว ยังปรากฏการซ้ำคำ คือ การทำให้ถ้อยคำที่ใช้มีความหมายเน้นหนักยิ่งขึ้น โดยใช้คำเดียวกันกล่าวซ้ำระหว่างรรคของคำขวัญด้วย เช่น
ดื่มนมทุกวัน ดื่ม่ได้ทุกวัย

จากคำขวัญข้างต้นจะเห็นได้ว่า มีการใช้ถ้อยคำเพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นเด่นชัดยิ่งขึ้นจากการซ้ำคำคำว่า “ดื่ม” และ “ทุก” ในวรรคแรกและวรรคที่ ๒ ของคำขวัญบางครั้งอาจพบทั้งการใช้คำคล้องจองและการซ้ำคำ เช่น

การเขียนคำขวัญ
การเขียนคำขวัญ 6

(คำขวัญชนะเลิศระดับประชาชน หัวข้อ “ป่ไม้ของเรา” เนื่องในวันสถาปนากรมป่าไม้ครบรอบ๑๒๐ ปี)

จากคำขวัญข้างตันจะเห็นได้ว่า มีการใช้ถ้อยคำเพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นเด่นชัดยิ่งขึ้นจากการช้ำคำคำว่า “รู้” ในรรคแรก วรรคที่ ๒ และวรรคที่ ๓ ของตำขวัญ และมีการใช้เสียงสัมผัสสระอาในคำว่า “ค่า” และ “ป่า” เพื่อสร้างความคล้องจองระหว่างวรรคที่ ๓ และวรรคที่ ๔ ของคำขวัญ

๑.๓ ใช้แสดงลักษณะขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง และออกในวาระสำคัญวาระหนึ่งอาจใช้เป็นประจำตลอดไป หรือประจำปี เช่น

เสียสละ อดทน ดำรงตนอย่างมีเกียรติ (คำขวัญกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน)
รู้หน้าที่ มีวินัย ไฝ่ความดี (คำขวัญวันเด็กแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๖๖)
ครูดี ศิษย์ดี มีอนาคต (คำขวัญวันครู พุทธศักราช ๒๕๖๖)

๑.๔ ใช้นำเสนอสิ่งดีเด่นของจังหวัดหรือของท้องถิ่นนเชิงประชาสัมพันธ์ คำขวัญประจำจังหวัดมีประจำทุกจังหวัด บางอำเภอหรือบางตำบลก็มีคำขวัญประเภทนี้ด้วย ถือเป็นคำขวัญที่มีได้มีจุดประสงค์เตือนใจไม่ให้กระทำผิด และคิดปฏิบัติอย่างใด เช่น

กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย (คำขวัญกรุงเทพมหานคร)

กรมหลวงประจักษ์สร้างเมือง ลือเลื่องแหล่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด ธรรมชาติเนรมิตทะเลบัวแดง (คำขวัญจังหวัดอุดรธานี)

นอกจากลักษณะดังกล่าวข้างต้นแล้ว หากเปรียบเทียบเพื่อแยกคำขวัญจากคำกล่าวชนิดอื่น เช่น โอวาทคำคม สุภาษิต อาจสรุปได้ว่า คำขวัญต่างกับโอวาท คือ มีขนาดสั้น ต่างกับคำคม คือ ให้แนวปฏิบัติ และต่างกับสุภาษิต คือ อาจเป็นสัจธรรมหรือไม่กี่ได้

๒. แนวทางการเขียนคำขวัญ

การเขียนคำขวัญ มีแนวทางการเขียน ดังนี้

๒.๑ ใช้ถ้อยคำสั้น กะทัดรัต อาจมีขนาดสั้นเพียงประโยคเดียวหรือวรรคเดียว หรือมีขนาดยาวตั้งแต่ ๒ ประโยคขึ้นไปจนถึงหลายประโยคหรือหลายวรรค และอาจเป็นคำคล้องจองหรือไม่ก็ได้

๒.๒ เขียนให้ตรงจุดมุ่งหมาย แสดงความคิดอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านและหรือผู้ฟังเข้าใจสารตรงตามจุดมุ่งหมายของคำขวัญ ดั่งจะเห็นได้จากคำขวัญประจำจังหวัดต่าง ๆ ของประเทศไทยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประชาสัมพันธ์จังหวัด ก็มักจะมีเนื้อหาที่แสดงถึงลักษณะสำคัญ จุดเด่น สถานที่ ท่องเที่ยว หรือสินค้าของจังหวัดนั้น ๆ เช่น คำขวัญจังหวัดสุราษฎร์ธานี “เมืองร้อยเกาะ เงาะอร่อย หอยใหญ่ ไข่แดง แหล่งธรรมะ”จากเนื้อหาคำขวัญของจังหวัดสุราษฎร์ธานีสะท้อนให้เห็นว่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีนั้นมีเกาะซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอยู่เป็นจำนวนมาก มีอาหารประจำจังหวัดซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป คือ เงาะโรงเรียน หอยนางรม และไข่เค็มไชยา ส่วนวรรคสุดท้ยของคำขวัญสะท้อนให้เห็นว่าจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

๒.๓ เลือกสรรถ้อยคำที่สื่อความหมายชัดเจน ให้อารมณ์และความรู้สึกชาบซึ้งประทับใจ เช่น คำขวัญ หัวข้อ “ลดเค็มครึ่งหนึ่ง” (โครงการโรงพยาบาลต้นแบบในการลดเค็ม) ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบตี มหาวิทยาลัยมหิดล “ลดความเสี่ยงโรค ลดบริโภคเค็ม” จากคำขวัญข้างต้น จะเห็นได้ว่า ใช้ถ้อยคำสั้น กะทัดรัด สื่อความชัดเจน สอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนด มีการซ้ำคำคำว่า “ลด” เพื่อเน้นย้ำถึงจุดมุ่งหมายของคำขวัญที่ต้องการให้ผู้อ่านและหรือผู้ฟังลดการบริโภคเค็ม โดยแสดงถึงผลของการปฏิบัติ “ลดความเสี่ยงโรค” เพื่อโน้มน้าวใจให้เกิดการปฏิบัติตาม

รายการอ้างอิง
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (๒๕๕๘). หนังสืออุเทศภาษาไทย หลักภาษาไทย : เรื่องที่ครูภาษาไทย
ต้องรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค.ลาดพร้าว.
ราชบัณฑิตยสภา, สำนักงาน. (๒๕’๖๓, ๒๖ มีนาคม). “ศัพห์วรรณกรรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสภา ชุดที่ ๑๑”
Facebook. https://www.facebook.com/photo/
?fbid=700076304998170&set=a.2162904140434336

เอกสารนี้เป็นเนื้อหาส่วนหนึ่งในคู่มือการฝึกอบรมเชื่อหัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยสำหรับครผู้สอนภาษาไทยชั้นประถศึกษาปีที่ ๓-๔ ของสถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ดาวน์โหลดไฟล์ ใบความรู้ การเขียนคำขวัญ

ขอบคุณที่มา :: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่