คู่มือการใช้งาน School Health HERO สำหรับครู โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

คู่มือการใช้งาน School Health HERO สำหรับครู โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์

โครงการ School Health HERO : นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดี กรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า สำหรับแอปพลิเคชั่น “HERO” (Health And Educational Reintegrating Operation) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น ผ่านคำถาม 9 ข้อง่ายๆ (9 symptoms หรือ 9S) คัดกรองอาการของเด็ก ได้แก่

  • ซนเกินไป
  • ใจลอย
  • รอคอยไม่ได้
  • หงุดหงิดง่าย
  • ท้อแท้เบื่อหน่าย
  • ไม่อยากไปโรงเรียน
  • ถูกเพื่อนแกล้ง
  • แกล้งเพื่อน
  • ไม่มีเพื่อน

ซึ่งจะทำให้เกิดการ “เฝ้าระวังคัดกรอง” ช่วยค้นหาเด็กได้เร็วขึ้นโดยไม่เพิ่มภาระครู เป็นการเฝ้าระวังปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ และส่งต่อทีมสาธารณสุขผ่านแอปพลิเคชั่นได้ โดยทำการศึกษานำร่องระบบเฝ้าระวัง ใน 13 พื้นที่แล้วพบว่าค้นหากลุ่มเสี่ยงพบประมาณร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับการคัดกรองที่จะพบกลุ่มเสี่ยงประมาณร้อยละ 10 ไม่เพิ่มภาระให้กับคุณครู เมื่อครูติดตามดูแลแล้วยังไม่ดีขั้น สามารถขอคำปรึกษาจากบุคลากรสาธารณสุขในทุกอำเภอผ่านแอปพลิเคชั่น โดยทางกรมสุขภาพจิตได้เตรียมความพร้อมทีมในแต่ละพื้นที่เพื่อเป็นที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิตสำหรับคุณครู (HERO consultant) ทำให้โรงเรียนและโรงพยาบาลทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น เพื่อการดูแลสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของเด็กร่วมกัน

คู่มือการใช้งาน

คู่มือการใช้งาน School Health HERO สำหรับครู โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
คู่มือ การใช้งาน School Health HERO สำหรับครู โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
คู่มือการใช้งาน School Health HERO สำหรับครู โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ 4

ดาวน์โหลดไฟล์คลิกที่นี่

ขอบคุณที่มา : สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่