ดาวน์โหลดเอกสาร การประชุมแนวทางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ดาวน์โหลดเอกสาร การประชุมแนวทางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564

ดาวน์โหลดเอกสาร การประชุมแนวทางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการประชุมที่ลิงค์ด้านล่างครับ

ดาวน์โหลดเอกสาร การประชุมแนวทางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
ดาวน์โหลดเอกสาร การประชุมแนวทางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 3

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ศธ.มีมาตราการในการเปิดภาคเรียนเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 64 เนื่องจากความเป็นห่วง และได้เตรียมความพร้อมไว้ 2 ช่วง ช่วงที่ 1 17 – 31 พ.ค. 64 เป็นการเตรียมก่อนการเปิดภาคเรียน มี 2 รูปแบบ

– แบบออนไลน์ ทางกระทรวงได้จัดเว็บไซต์ชื่อว่า ครูพร้อม เป็นคลังข้อมูล ความรู้ สำหรับครู นักเรียน และผู้ปกครอง สำหรับการเตรียมความพร้อมในการเรียน เป็นทางเลือกสำหรับการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ไม่ได้เป็นการบังคับ หรือประเมินครูดังนั้นไม่จำเป็นต้องรายการอะไรให้ทราบ

– แบบออฟไลน์ ให้ทางพื้นที่ประสาน หน่วยงานต่าง ๆ และ สบค.จังหวัด ออกแบบกิจกรรมในการเตรียมความพร้อมในพื้นที่ ลักษณะ On-Site แต่เน้นความปลอดภัยเป็นหลักช่วง

เว็บไซต์ ครูพร้อม
เว็บไซต์ ครูพร้อม

คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

กระทรวงศึกษารวมพลัง และให้ความสำคัญว่าไม่ว่าจะเกิดวิกฤติใดขึ้น การศึกษาจะหยุดไม่ได้ แต่กระบวนการศึกษาของนักเรียนจะต้องสนุก น่าสนใจและปลอดภัย คนสำคัญในเรื่องนี้ คือ ผู้บริหาร และครู ยกตัวอย่างประเทศจีน ให้เรียนออนไลน์ 20 นาที และเวลาที่เหลือให้กลับไปสร้างประโยชน์กับครอบครัว และชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นการลดภาระผู้ปกครอง เช่น การเรียนโค้ดดิ้ง เป็นการลดภาระผู้ปกครองเพราะนักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ในการดำรงชีวิตตนเองได้ เป็นต้น เรียนอะไรจากโรงเรียนแล้วสามารถนำความรู้ไปต่อยอดที่บ้านได้หรือไม่ อย่างไร

ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เป็นการรวมพลังในการพัฒนาทุนมนุษย์ ในฐานที่ดูแล กศน. และ สช. ขอเชิญทุกท่านเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาไปพร้อมกัน กศน. มีครูในทุกพื้นที่ ทำงานร่วมกับผู้นำท้องถิ่น หน้าที่ กศน. คือ การจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ความต้องการของบุคคล ตอนนี้ กศน.มี ETV เป็นสื่อในการเรียนที่มีคุณภาพ ดังนั้นวันนี้ กศน.เป็นการศึกษาเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง สช. ทั้งนอกระบบ และในระบบ วันนี้ได้รับเกียรติจากผู้มีความเชี่ยวชาญ ผู้มีจิตอาสาที่แบ่งปันความรู้ เพื่อร่วมพลังในการยกระดับร่วมกัน “เรียนรู้ ปรับใช้ พัฒนาต่อยอด”

การจัดการการสอนแบบ On-Site

จะต้องดำเนินการ ดังนี้

– มีจัดตรวจคัดกรอง วัดอุณหภูมิ
– สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
– มีจุดล้างมือ
– การเว้นระยะห่างทางสังคม
– การจัดบรรยากาศ
– ลดความแออัดและการเวลาในการประกอบอาชีพ

นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทุกกิจกรรมของครูพร้อม คือ การนำสถานการณ์จริงมาปรับใช้ ภายใต้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning และหลักสูตรฐานสมรรถนะที่ทางกระทรวงต้องการปรับใช้ในปีการศึกษาหน้า อยากให้ครู และนักเรียนนำสถานการณ์เหล่านี้ไปสู่กระบวนการเรียนรู้มาปรับใช้ให้สามารถอยู่ร่วมด้วยกันได้ เชิญอาจารย์ เอกสิทธิ์อาจารย์เอกสิทธิ์ ปิยะแสงทอง นักเรียนเป็นปลา ครูเป็นน้ำ ครูมีหน้าที่พานักเรียนไปข้างหน้า ครูควรนำสถานการณ์โควิด -19 มาบูรณาการในการเรียนรู้เพื่อให้นักเรียนสามารถนำสถาการณ์การจริงมาปรับใช้ได้ เช่น การออกแบบถังขยะสำหรับชุมชน เป็นต้น สังเกตได้ว่าจะส่งผลต่อทั้ง ความรู้ ทักษะและสมรรถนะทั้งสิ้น

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สพฐ. เน้นย้ำเรื่องความปลอดภัย โดยครอบคลุมไปทุกกลุ่ม นักเรียนทั่วไป นักเรียนพิการ และนักเรียนด้อยโอกาส ตอนนี้เตรียมความพร้อมไว้ 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 วันที่ 1 มิถุนายน 64 กำหนดไว้ 5 รูปแบบ

– On-Site
– Online
– On-Air
– On-Hand
– On-Demand

การจัดการศึกษาต้องคำนึงประเด็นเหล่านี้
– ปลอดภัย เป็นสำคัญที่สุด “ครู และนักเรียนต้องปลอดภัย แต่นักเรียนต้องได้เรียนทุกคน”
– พื้นที่ (แดงเข้ม แดง ส้ม ขาว)
– ความพร้อม สำคัญที่สุด คือความพร้อมของผู้เรียน อุปกรณ์
– ความสมัครใจ หากผู้ปกครองไม่สบายใจจะให้นักเรียนมาเรียนที่โรงเรียน ทางโรงเรียนจะให้นักเรียนเรียนที่บ้านได้อย่างไร
– ความร่วมมือ ของครู ผู้ปกครอง และชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และอำนวยความสะดวกให้นักเรียนได้อย่างไร
ระยะที่ 2 วันที่ 17 – 31 พฤษภาคม ทาง สพฐ. เป็นตัวกลางในการนำเอกชนมาพัฒนาครู เพื่อให้นักเรียนได้เรียนอย่างมีความสุข

สุเทพ แสนสันเที๊ยะ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
อรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ได้รับมอบให้ทำหน้าที่ในประสานความร่วมมือกับหน่วยงานการศึกษาเอกชนที่มีความสามารถ ประสบความสำเร็จมาจัดกิจกรรม Education Empower Project I แบ่งเป็น 2 ช่วง – เรียนรู้เพื่อการสอน เปิดโอกาสให้ครูเข้ามาเรียนรู้แนวทางการสอนกับครูชื่อดัง ติวเตอร์ เพื่อให้ครู และผู้ปกครอง สำหรับการเตรียมนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน – สอนเพื่อการเรียนรู้ เป็นการเปิดพื้นที่ให้ Celebrity คนดัง หรือคนที่ประสบความสำเร็จได้เผยเคล็ดลับ วิธีการ เรียนรู้ที่นำไปสู่ความสำเร็จ พร้อมรับแนวคิดในการประสานกับอาจารย์ในมหาวิทยาลัยในการจัดกิจกรรมเพื่อสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลาย

นายสุเทพ แก่งสันเที๊ยะ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

การเตรียมการในช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 17 – 31พฤษภาคม 64 Online ช่วงที่ 1 แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ผู้เรียน เน้นสมรรถนะพื้นฐาน ภาษา ดิจิทัล การเรียนวิชาชีพเสริม (11 วัน 11 อาชีพ) ครู เน้นความพร้อมในการจัดการศึกษาออนไลน์ และภาษาอังกฤษ ประชาชน หลักสูตรออนไลน์1 วัน 11 อาชีพ รายละเอียด ครูพร้อม Offline ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของ ศบค.จังหวัด

– นักศึกษา ทำเจลอนามัย หน้ากาก เพื่อส่งต่อยังผู้ที่ต้องการ
– ประชาชนทั่วไป จัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่สนองต่อความต้องการในพื้นที่การเตรียมการในช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 64 มีการสำรวจความพร้อมทั้งภาครัฐ และเอกชนแล้ว – ในพื้นที่ปลอดภัย ดำเนินการแบบ On-Site รายละเอียดขึ้นกับการประเมินของแต่ละสถานศึกษา ทั้งแบ่งกลุ่มเรียน สลับวันเรียน เป็นต้น ในพื้นที่อื่น ๆ อาจผสมผสานกับการเรียนรู้ที่หลากหลาย เข่น การเรียนภาคทฤษฎีทาง Online (มี Platform ที่หลากหลาย เช่น Microsoft GoogleMeet เป็นต้น) เมื่อจบถึงมาเรียนปฏิบัติ

นายวรัท พฤกษาทวีกุล เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

928 แห่ง กศน. มอบให้นสถานศึกษาจัดทำแนวทาง และประเมินความพร้อมตามแบบฟอร์มของกรมอนามัย เปิดเทอม ซักซ้อมความเข้าใจอย่างต่อเนื่องทาง Online เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้เรียนว่า กศน. ยังให้การศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 7 รูปแบบ
– เรียนด้วยตัวเอง
– เรียนแบบชั้นเรียน
– เรียนแบบพบกลุ่ม
– เรียนทางไกล
– เรียนตามอัธยาศัย
– เรียนแบบโครงการงาน
– แบอื่น ๆ มีสื่อการเรียน On- Air เช่น ETV เป็นต้น มีหนังสือเรียนที่สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ทุกระดับ

928 แห่ง กศน. มอบให้นสถานศึกษาจัดทำแนวทาง และประเมินความพร้อมตามแบบฟอร์มของกรมอนามัย เปิดเทอม ซักซ้อมความเข้าใจอย่างต่อเนื่องทาง Online เพื่อสร้างความมั่นใจกับผู้เรียนว่า กศน. ยังให้การศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง 7 รูปแบบ
– เรียนด้วยตัวเอง
– เรียนแบบชั้นเรียน
– เรียนแบบพบกลุ่ม
– เรียนทางไกล
– เรียนตามอัธยาศัย
– เรียนแบบโครงการงาน
– แบอื่น ๆ มีสื่อการเรียน On- Air เช่น ETV เป็นต้น มีหนังสือเรียนที่สามารถดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ทุกระดับ

สรุปโดย นายสุรวุฒิ เอี่ยวสกุล
ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์ จังหวัดภูเก็ต

ขอบคุณสรุปการประชุม : Facebook ครู นุ่นน้อย

ดาวน์โหลดสไลด์นำเสนอคลิกที่นี่

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่