ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม คืออะไร สำคัญแค่ไหน สำหรับครู และผู้เรียน ?
บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ชวนคุณครูมาเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม (Bloom’s Taxonomy) กล่าวถึงการจําแนกการเรียนรู้ตามทฤษฎีของบลูม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย โดยในแต่ละด้านจะมีการจําแนกระดับ ความสามารถจากต่ำสุดไปถึงสูงสุด เช่น ด้านพุทธิพิสัย เริ่มจากความรู้ ความเข้าใจ การนําไปใช้ การ วิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมิน
นอกจากนี้ยังนําเสนอระดับความสามารถที่มีการปรับปรุงใหม่ ตามแนวคิดของ Anderson and Krathwohl (2001) เป็น การจํา( Remembering) การเข้าใจ (Understanding) การประยุกต์ใช้(Applying) การวิเคราะห์ ( Analysing) การประเมินผล (Evaluating) และการสร้างสรรค์ (Creating)
ด้านจิตพิสัย จําแนกเป็น การรับรู้, การตอบสนอง, การ สร้างค่านิยม, การจัดระบบ และการสร้างคุณลักษณะจากค่านิยม ด้านทักษะพิสัย จําแนกเป็น ทักษะ การเคลื่อนไหวของร่างกาย, ทักษะการเคลื่อนไหวอวัยวะสองส่วนหรือมากกว่าพร้อมๆกัน, ทักษะการ สื่อสารโดยใช้ท่าทาง และทักษะการแสดงพฤติกรรมทางการพูด
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา 3 ด้าน ทฤษฎีที่ส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ ให้ครู สามารถนำไปปรับใช้ในการสอน และทำให้รู้ว่าผู้เรียนควรได้รับอะไร และอย่างไรจากการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านพุทธพิสัย พฤติกรรมด้านสมอง ด้านความคิด และสติปัญญา ที่ครู สามารถนำไปใช้เป็นแนวในการตั้งคำถามในห้องเรียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการคิดในระดับที่สูงขึ้น
1. การเรียนรู้ด้านพุทธพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมอง เป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับ สติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาด ความสามารถในการคิดเรื่องราวต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญา
2. จิตพิสัย (Affective Domain)
พฤติกรรมด้านจิตใจ ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ่ง ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม เป็นพฤติกรรมที่ไม่ได้เกิดขึ้นทันที ครูผู้สอนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรม และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม พร้อมสอดแทรกสิ่งดีงามตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์
3. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อประสาท ที่บอกถึงความสามารถในการปฎิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่ว ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรง โดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวบ่งชี้ระดับของทักษะ
ขอบคุณที่มา : Facebook อักษรเจริญทัศน์ อจท.