นโยบายการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเรียนรวม ปีการศึกษา 2565
เมื่อวันที่ วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดการประชุมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 4/2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล Zoom Meeting โดยรับทราบนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ การเปิดภาคเรียนอย่างปลอดภัย ข้อสั่งการและบทบาทของ ผอ.สพท. ในการดำเนินงานให้สถานศึกษาเปิดเรียน Onsite อย่างปลอดภัย และลด Learning Loss การขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนจาก น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรับนโยบายการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาจาก นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. รวมถึงผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โดยมีการชี้แจงนโยบายการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเรียนรวม ปีการศึกษา 2565 รายละเอียดดังนี้

นโยบายข้อที่ 1 ปรับลดจำนวนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
นโยบายข้อที่ 2 บูรณาการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเรียนรวม
นโยบายข้อที่ 3 พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาคุณภาพด้านการจัดการศึกษาเรียนรวม
นโยบายข้อที่ 1 ปรับลดจำนวนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

1) พัฒนาและจัดหาเครื่องมือการคัดกรองความสามารถในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ
2) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการใช้เครื่องมือการคัดกรองอย่างถูกต้อง
3) จัดทำแนวทางการช่วยเหลือ วิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเรียนรู้ในการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ โดยเริ่มตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
นโยบายข้อที่ 2 บูรณาการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเรียนรวม
มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

1) สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่าง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2) กำหนดบทบาทหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา ศูนย์การศึกษาพิเศษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาเรียนรวม
3) มีระบบการนิเทศ กำกับติดตาม อย่างต่อเนื่อง
นโยบายข้อที่ 3 พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาคุณภาพด้านการจัดการศึกษาเรียนรวม
มีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

1) สำนักงานเขตพื้นการศึกษา ร่วมกับศูนย์การศึกษาพิเศษ คัดเลือกสถานศึกษาที่มีความพร้อมด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านสภาพแวดล้อม
2) กำหนดแนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาคุณภาพด้านการจัดการศึกษาเรียนรวม
3) สร้างนวัตกรรมขับเคลื่อนด้านการบริหารจัดการเรียนรวมที่มีประสิทธิภาพ
ที่มา เอกสารประกอบการประชุม ผอ.สพท. โดย Facebook ตามฝัน คนบ้านไกล และ เว็บไซต์ สพฐ. วันที่ 3 พฤษภาคม 2565
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ข้อบกพร่องของเด็ก LD สาเหตุ และแนวทางการดูแลช่วยเหลือ
- นโยบายการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเรียนรวม ปีการศึกษา 2565
- ก.ค.ศ. ประกาศหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำหรับโรงเรียนคุณภาพ สังกัด สพฐ. ว 10/2565