เปิดแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาภาษาอังกฤษครู ตามเกณฑ์ CEFR ครูภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า B1 วิชาอื่นๆไม่ต่ำกว่า A2
จากการประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ณ ห้องประชุม สพฐ. 1 อาคาร สพฐ. 4 ชั้น 2 โดยนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขา กพฐ.) เรื่อง การนำนโยบายสู่การปฏิบัติ มีหัวข้อเรื่องในนโยบายทั้ง 11 ข้อที่หน่วยงานทางการศึกษาทุกหน่วยงานต้องรับทราบและจะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565
จากการประชุมดังกล่าว ในนโยบาย สพฐ. เรื่อง การพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครูในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีสมรรถนะทางภาษาและดิจิทัล มีข้อสังเกตในเรื่องการทดสอบภาษาอังกฤษ ดังนี้
จะพบว่า ครูสอนวิชาอื่นๆและบุคลากรทางการศึกษาไม่ต่ำกว่า A2 ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า B1 ครูผู้สอนภาษาจีน ไม่ต่ำกว่า HSK 4 รวมถึงทักษะพื้นฐานด้านดิจิทัลของครูก็มีตั้งแต่ DC1 – DC 7 เป้าหมายการพัฒนาของ สพฐ.จะเริ่มจาก
สพฐ. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา และศึกษานิเทศก์
– ผู้บริหารการศึกษา 900 คน
– ผู้บริหารสถานศึกษา 5,420 คน
– ศึกษานิเทศก์ 2,500 คน
– ครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษ 30,000 คน
– ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ 10,000 คน
– ครูผู้สอนวิชาอื่น ๆ 320,000 คน
โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจะทำการ
– พัฒนาทักษะภาษาฯ (Onsite) ผ่าน ศูนย์ HCEC 185 ศูนย์
ศูนย์ละ 500-600 คน เพื่อให้บุคลากรทางการศึกษา ไม่ต่ำกว่า A2
ส่วนในโรงเรียนบุคลากรทุกคนต้องมีทักษะดังนี้ ครูสอนวิชาอื่นๆ ไม่ต่ำกว่า A2 ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า B1
ดาวน์โหลดสไลด์อื่น ๆ คลิกที่นี่
CEFR คืออะไร?
CEFR มีชื่อเต็มว่า Common European Framework of Reference for Languages (บางครั้งอาจเห็นชื่อย่อ CEF, CEFRL ด้วยเช่นกัน) เป็นมาตรฐานสากลที่สหภาพยุโรปจัดทำขึ้นใช้วัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 6 ระดับตั้งแต่พื้นฐานไปถึงสูงสุด คือ A1, A2, B1, B2, C1, C2
ระดับความสามารถทักษะภาษาอังกฤษ CEFR ของแต่ละระดับ
CEFR Level | ความสามารถทางภาษา | |
Proficient User | C2 | – สามารถเข้าใจเรื่องที่ฟังหรืออ่านได้อย่างง่ายดาย– สามารถสรุปข้อมูลจากแหล่งที่มาต่าง ๆ สร้างข้อโต้แย้งและใช้ในการนำเสนอที่สอดคล้องกันได้– สามารถแสดงออกและสื่อสารได้อย่างเป็นธรรมชาติ คล่องแคล่ว และแม่นยำ สามารถแยกแยะความหมายที่ใกล้เคียงกันของสถานการณ์ที่มีความซับซ้อนได้ |
C1 | – สามารถเข้าใจความต้องการที่หลากหลาย, ข้อความที่ยาวขึ้น และตระหนักถึงความหมายโดยนัย– สามารถแสดงความคิดได้อย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติโดยไม่ต้องใช้เวลามากนัก– สามารถใช้ภาษาได้อย่างยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพเพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคม วิชาการ และด้านอาชีพ– สามารถสร้างถ้อยคำที่ชัดเจน มีโครงสร้างที่ดี ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่ซับซ้อน แสดงการใช้รูปแบบการสื่อสาร คำเชื่อมและการเชื่อมโยงได้ | |
Independent User | B2 | – สามารถเข้าใจแนวคิดหลักของข้อความที่ซับซ้อนทั้งในหัวข้อที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม รวมถึงพูดคุยทางเทคนิคในเรื่องที่มีความเชี่ยวชาญได้– สามารถโต้ตอบอย่างคล่องแคล่วและเป็นธรรมชาติกับเจ้าของภาษาโดยไม่มีความเคร่งเครียด– สามารถสร้างถ้อยคำที่มีความละเอียดชัดเจนในหัวข้อที่หลากหลาย และอธิบายมุมมองเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียได้ |
B1 | – สามารถเข้าใจจุดประสงค์หลักในเรื่องที่คุ้นพบเจอบ่อยในที่ทำงาน, โรงเรียน, เวลาว่าง เป็นต้น– สามารถรับมือกับสถานการณ์ส่วนใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่เดินทางในสถานที่ต่าง ๆ ได้– สามารถสื่อสารโดยเชื่อมโยงหัวข้อที่คุ้นเคยหรือเกี่ยวข้องกับความสนใจส่วนบุคคลได้– สามารถอธิบายประสบการณ์และเหตุการณ์ ความฝัน ความหวังและความทะเยอทะยาน และให้เหตุผลสั้น ๆ รวมถึงสามารถอธิบายเกี่ยวกับความคิดเห็นและแผนการได้ | |
Basic User | A2 | – สามารถเข้าใจประโยคและสำนวนที่ใช้บ่อยเกี่ยวกับสิ่งรอบตัว เช่น ข้อมูลพื้นฐานส่วนตัว, ข้อมูลครอบครัว, การซื้อของ, ภูมิศาสตร์ท้องถิ่น และการจ้างงาน ได้– สามารถสื่อสารในเรื่องง่าย ๆ และเป็นกิจวัตรประจำวันได้ และแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่คุ้นเคยหรือทำเป็นประจำได้โดยตรง– สามารถอธิบายประวัติของตัวเองอย่างง่าย ๆ สภาพแวดล้อมและประเด็นที่ต้องการได้ทันที |
A1 | – สามารถเข้าใจและใช้สำนวนที่คุ้นเคยในชีวิตประจำวันได้ รวมถึงใช้ประโยคพื้นฐานเพื่อสื่อความต้องการที่เป็นรูปธรรมได้– สามารถแนะนำตัวเองและคนอื่น ๆ ได้ พร้อมทั้งสามารถถาม-ตอบคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดส่วนบุคคล เช่น ที่อยู่อาศัย, คนรู้จัก, ของที่มี ได้– สามารถโต้ตอบง่าย ๆ กับผู้อื่นที่พูดช้า ๆ ชัดเจนได้ และพร้อมที่จะช่วยเหลือ |
อย่างไรก็ตาม CEFR ไม่ได้จัดการสอบเองโดยตรง แต่เป็นการเทียบคะแนนสอบจากการสอบวัดระดับทักษะภาษาอื่น ๆ อย่าง IELTS, TOEFL(iBT), TOEIC (4 ทักษะ)
การเทียบคะแนน CEFR กับการสอบอื่น ๆ
CEFR Level | Professional Pathway | IELTS | TOEFL (iBT) | TOEIC (4ทักษะ) |
C1-C2 | Advanced | 6.5-7.0 | 94-101 | 945+ |
B2 | Upper Intermediate | 5.0-6.0+ | 61-80 | 785-945 |
B1 | Intermediate | 4.0-5.0 | 35-53 | 550-785 |
A2-B1 | Pre Intermediate | 3.0-4.5 | 35-53 | 550-785 |
A2 | Elementary | 2.0-3.0 | 30-31 | 225-550 |
A1 | 12-27 |
การวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษสำหรับครูและนักเรียนไทย จะเทียบกับ 4 ระดับคือ A1 – B2 โดยเกณฑ์การวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษ CEFR สำหรับครูและนักเรียนมีดังนี้
การวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษ CEFR สำหรับครู
ครูที่ไม่ได้สอนภาษาอังกฤษ
– ระดับประถมศึกษา ต้องได้ระดับ A2 ขึ้นไป
– ระดับมัธยมศึกษา ต้องได้ระดับ A2 ขึ้นไป
ครูที่สอนภาษาอังกฤษ
– ระดับประถมศึกษา ต้องได้ระดับ B1 ขึ้นไป
– ระดับมัธยมศึกษา ต้องได้ระดับ B2 ขึ้นไป
เกณฑ์การวัดระดับทักษะภาษาอังกฤษ CEFR สำหรับนักเรียน
นักเรียนห้องปกติ
– ระดับชั้น ป.4 – ป.6 ต้องได้ A1 ขึ้นไป
– ระดับชั้น ม.1 – ม.3 ต้องได้ A2 ขึ้นไป
– ระดับชั้น ม.4 – ม.6 ต้องได้ B1 ขึ้นไป
นักเรียนห้องเรียนภาษาอังกฤษ
– ระดับชั้น ป.4 – ป.6 ต้องได้ A2 ขึ้นไป
– ระดับชั้น ม.1 – ม.3 ต้องได้ B1 ขึ้นไป
– ระดับชั้น ม.4 – ม.6 ต้องได้ B2 ขึ้นไป
แหล่งข้อมูล : ทรูปลูกปัญญา URL : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/82208/-laneng-lan-
ขอบคุณที่มา : สไลด์นำเสนอจาก สพฐ. ข้อมูลจาก เว็บไซต์ รักครูดอทคอม