นโยบายและจุดเน้น และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) สพฐ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2568
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นโยบายและจุดเน้น และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) สพฐ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2568
นโยบายและจุดเน้น 11 ข้อ
ข้อที่ 1 ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ
ข้อที่ 2 ส่งเสริมการอ่าน
ข้อที่ 3 ส่งเสริม สนับสนุนความปลอดภัยในสถานศึกษา
ข้อที่ 4 เพิ่มโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
ข้อที่ 5 ปรับปรุงหลักสูตร และการเรียนรู้ให้ทันสมัย
ข้อที่ 6 จัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)
ข้อที่ 7 จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
ข้อที่ 8 พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา
ข้อที่ 9 เสริมสร้างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (ลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ รักษาดินแดน จิตอาสา ชุมนุม ชมรม)
ข้อที่ 10 ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา
ข้อที่ 11 จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
Quick Win 2 ด้าน 8 ข้อ
ด้านที่ 1 ลดภาระครู และบุคลากรทางการศึกษา
ข้อที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล
ข้อที่ 2 การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
ข้อที่ 3 การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
ด้านที่ 2 ลดภาระนักเรียน และผู้ปกครอง
ข้อที่ 4 การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ข้อที่ 5 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ
ข้อที่ 6 เสริมสร้างทักษะอาชีพ และการมีรายได้ระหว่างเรียน
ข้อที่ 7 สร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนวและการ Coaching ตลอดจนการดูแลสุขภาพกาย และสุขภาพจิต
ข้อที่ 8 การสื่อสาร และประชาสัมพันธ์องค์กร
นโยบายและจุดเน้น และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) สพฐ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2568
นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗ – ๒๕๖๘
๑. ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ และน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ
๑.๑ ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
๑.๒ ขับเคลื่อนพระบรมราโชบายต้านการศึกษาของในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติ
๑.๓ ปลูกฝังความรักในสถาบันหลักของชาติ
๒. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตย
๒.๑ พัฒนาการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม และประชาธิปไตยในสังคมร่วมสมัย
๒.๒ พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศีลธรรม ประซาธิปไตยและส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ สู่ห้องเรียนวิถีใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
๓. ปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัยและหลากหลาย
๓.๑ด ส่งเสริมให้มีการต่อยอดแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
๓.๒ พัฒนาศักยภาพและคุณลักษณะผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ด้วยการเรียนรู้อย่างมีความสุข
๓.๓ ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ พื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๔. ส่งเสริมการอ่าน เพื่อเป็นวิถีในการค้นหาความรู้และต่อยอดองค์ความรู้ที่สูงขึ้น
๔.๑ ส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต
๔.๒ พัฒนาความสามารถด้านการอ่านตามแนวทางการประเมิน PISA
๕. ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
๕.๑ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะด้านการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม การมีจิตอาสาทำความดีด้วยหัวใจ
๕.๒ สร้างผู้นำด้วยกระบวนการลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาขาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอื่น ๆ
๕.๓ ส่งเสริมกิจกรรมสภานักเรียน ชุมนุม ชมรม และการมีส่วนร่วมให้เกิดวิถีประชาธิปไตยในโรงเรียน เป็นพลเมืองที่ดี และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
๖. จัดการศึกษาแบบเรียนรวม
๖.๑ พัฒนาองค์ความรู้ เจตคติและทักษะการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
๖.๒ สร้างเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระหว่างสถานศึกษากับทีมสหวิชาชีพ
๖.๓ นิเทศ กำกับ ติดตาม โดยร่วมมือกับเครือข่ายในทุกภาคส่วน
๗. จัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ
๗.๑ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามพหุปัญญา
๗.๒ พัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านภาษา ด้านทัศนศิลป์ ด้านตนตรี ด้านนาฎศิลป์ ด้านกีฬา และด้านอื่น ๆ
๗.๓ ส่งเสริมความเป็นเลิศของผู้มีความสามารถพิเศษ และ Soft Power อย่างเต็มศักยภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
๘. เสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา
๘.๑ ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพของสถานศึกษา เพื่อให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยอบอุ่น มีความสุข เอื้อต่อการเรียนรู้
๘.๒ สร้างเครือข่ายและกลไกในการดูแลความปลอดภัยให้กับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา และสถานศึกษา
๘.๓ สร้างภูมิคุ้มกันผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ไม่ให้เข้าไปข้องเกี่ยวกับยาเสพติด
๘.๔ รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ ดูแลความปลอดภัยของผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาผ่านระบบ OBEC Safety Center
๙. เพิ่มโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
๙.๑ พัฒนาระบบการป้องกัน การเฝ้าระวัง และการดูแลช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยง เด็กตกหล่น เด็กออกกลางคัน เด็กไร้สัญชาติ เด็กพื้นที่สูงในถิ่นทุรกันดารและพื้นที่เกาะ ตามความต้องการจำเป็นรายบุคคลเพื่อไม่ให้หลุดจากระบบการศึกษา โดยบูรณาการความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๙.๒ ส่งเสริม สนับสนุนให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาสได้รับโอกาสเข้าถึงการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และการฝึกอาชีพที่หลากหลายเหมาะสมตามศักยภาพ เพื่อให้มีทักษะในการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งตนเองได้
๑๐. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
๑๐. ๑ พัฒนาผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารการศึกษาผู้บริหารสถานศึกษา และบุคลากรส่วนกลาง ให้เป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ นำนโยบายสู่การปฏิบัติ และมีทักษะในการบริหารสถานการณ์
๑๐.๒ พัฒนาสมรรถนะศึกษานิเทศก์ ในการนิเทศ และการชี้แนะ ( Coaching)
๑๐.๓ พัฒนาสมรรถะครู ด้านภาษาอังกฤษ ภาษาจีน เทคโนโลยีดิจิทัล การจัดการเรียนรู้จิตวิญญาณความเป็นครู และทักษะอื่นที่จำเป็น
๑๐.๔ พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้และสมรรถนะด้านวิชาการด้านทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
นโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา
๑. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคล
๑.๑ ปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการ การแต่งตั้ง การย้าย การช่วยราชการ และการขอมี
๑.๒ พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒. การแก้ไขปัญหาหนี้สินครู
๒.๑ จัดตั้งศูนย์และสถานีแก้หนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกระดับ
๒.๒ จัดทำข้อมูลสารสนเทศ และแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒.๓ ดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา
๓. การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
๓.๑ จัดทำแผนการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
๓.๒ จัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
๓.๓ เสนอปรับเกณฑ์อัตรากำลังผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรสายสนับสนุน
๓.๔ จัดทำคำสั่งมอบอำนาจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ โดยให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้ดำเนินการแทนโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน ๖๐ คนและเลื่อนวิทยฐานะ
๓.๕ จัดทำรูปแบบการบริหารเจ้าหน้าที่ธุรการ ในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา
๓.๖ สร้างและใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ในระบบดิจิทัล และส่งเสริมการใช้ DLTV
๔. ลดภาระการประเมินของสถานศึกษา
๔.๑ สำรวจรายการประเมิน การรายงานข้อมูล และโครงการของสถานศึกษา
๔.๒ จัดทำรูปแบบและแนวทางการประเมินเพื่อลดภาระของสถานศึกษา
๔.๓ ติดตามผลการประเมินตามแนวทางเพื่อลดภาระการประเมินของสถานศึกษา
๕. สร้างความตระหนักในการป้องกันการทุจริต
๕.๑ เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕.๒ สรรหา บรรจุและแต่งตั้ง โยกย้าย ตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ยึดถือระบบคุณธรรม และความโปร่งใส
๕.๓ จัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ อาหารกลางวัน อย่างมีคุณภาพและถูกต้องตามระเบียบกฎหมาย ที่เกี่ยวข้อง
๖. การสื่อสาร และประชาสัมพันธ์องค์กร
๖.๑ พัฒนาการสื่อสารทุกช่องทาง
๖.๒ ติดตามและวิเคราะห์ประเด็นข่าวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
๖.๓ ผลิตและเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ สพฐ.
๖.๔ สร้างเครือข่าย และประยุกต์ใช้ AI เพื่อการประชาสัมพันธ์
ลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง
๑. การเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime) ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
๑.๑ จัดหาเครื่องมือ พร้อมอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยสำหรับการเรียนรู้
๑.๒ จัดหาระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงของสถานศึกษา
๑.๓ พัฒนา ส่งเสริม และขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้เทคโนโลยีดิจิทัล ให้แก่ผู้เรียนทุกที่ทุกเวลา
๒. สร้างความเข้มแข็งระบบแนะแนว การชี้แนะ (Coaching) และการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของผู้เรียน
๒.๑ พัฒนาระบบการแนะแนวและการชี้แนะแนวทาง (Coaching)
๒.๒ พัฒนาครูแนะแนวแกนนำ และพัฒนาให้ครูทุกคนให้การแนะแนวนักเรียนได้
๒.๓ ส่งเสริมสุขภาพจิตนักเรียนวิถีใหม่ด้วย School Health Hero และส่งเสริมสุขภาพกายรอบด้าน
๓. ส่งเสริมระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank)
๓.๑ พัฒนาระบบการเทียบโอนความรู้ และประสบการณ์เพื่อใช้ในการสะสมหน่วยกิตและผลการเรียนของผู้เรียน ผ่านระบบธนาคารหน่วยกิต (Credit Bank)
๓.๒ พัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล
ต.๓ เชื่อมโยง AP1 ระหว่างสถานศึกษา หน่วยงานต้นสังกัด และระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ
๔. ๑ อำเภอ ๑ โรงเรียนคุณภาพ
๔.๑ จัดทำแผนการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ
๔.๒ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนคุณภาพ
๔.๓ สนับสนุนและพัฒนาโรงเรียนคุณภาพที่ สอดคล้องกับบริบทและความต้องการเพื่อการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ
๕. เสริมสร้างทักษะอาชีพ และการมีรายได้ระหว่างเรียน
๕.๑ พัฒนานักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
๕.๒ ส่งเสริมให้นักเรียนทำงานหารายได้ในช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน
๕.๓ ส่งเสริมประสบการณ์อาชีพของนักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
๕.๔ พัฒนาต่อยอดห้องแล็บสอนอาชีพ ในโรงเรียนต้นแบบสหกรณ์โรงเรียน
๕.๕ ส่งเสริมการศึกษาร่วมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ทวิศึกษา) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
นโยบายและจุดเน้น และนโยบายระยะเร่งด่วน (Quick Win) สพฐ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567-2568 ขอบคุณที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | – สพฐ (obec.go.th)