ภาวะผู้นำคืออะไร จะสร้างภาวะผู้นำให้นักเรียนได้อย่างไร ?
ภาวะผู้นำคืออะไร จะสร้างภาวะผู้นำให้นักเรียนได้อย่างไร ?

ภาวะผู้นำคืออะไร จะสร้างภาวะผู้นำให้นักเรียนได้อย่างไร ?

ผู้นำถือเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างสูงในทุกองค์กร ด้วยเป็นผู้ที่กำหนดนโยบาย จัดสรรกำลังคน บริหารจัดการ และตรวจสอบการทำงานจนกว่างานจะสำเร็จลุล่วงด้วยดี หากผู้นำเป็นผู้ที่มีประสิทธิภาพทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ และเปี่ยมด้วยคุณธรรม ก็จักสามารถนำพาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าไปได้ บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอนำเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับภาวะ ผู้นำ การสร้างภาวะ ผู้นำ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จ รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการสร้าง ภาวะ ผู้นำ ให้นักเรียนได้อีกด้วย

ปัจจัยที่สำคัญในการบริหารงานต่าง ๆ ให้บรรลุถึงจุดเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้นั้นก็คือภาวะผู้นำ ถ้าผู้นำมีความสามารถในการเป็นผู้นำ เช่น มีความรู้ มีคุณธรรม มีความสามารถรอบด้านหรือมีภาวะผู้นำที่เหมาะสมแล้ว ย่อมทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ผู้ที่ทำหน้าที่ผู้นำนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องศึกษา ทักษะต่าง ๆ ในการเป็นผู้นำ การที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ยและไม่ใช่เรื่องยาก หากผู้นำ มีคุณธรรม มีความสามารถ มีทักษะและประสบการณ์

ที่มา ; Is Leadership a Skill or a Quality? – AIESEC | Blog

ความหมายของผู้นำ

ภาวะผู้นำคืออะไร จะสร้างภาวะผู้นำให้นักเรียนได้อย่างไร ? 5

นักวิชาการ และผู้รู้จำนวนมากให้ความหมายของคำว่า ผู้นำ ในทัศนะที่แตกต่างกันไป ทว่าเมื่อมองโดยภาพรวมแล้ว ความหมายที่ได้นั้นมีความคล้ายคลึงกันอย่างยิ่ง เช่น ผู้นำคือผู้ชักพาให้คนอื่นกระทำการในทิศทางที่ผู้นำกำหนดเป้าหมายไว้ หลายคนมีบทบาทเป็นผู้นำกันอยู่แล้วเช่นเป็นผู้นำองค์กร ผู้นำสมาคม ผู้นำวัด และแม้กระทั่งหัวหน้าครอบครัวก็จัดว่าเป็นผู้นำ (พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมมจิตโต), 2549:26) ในสถานการณ์หนึ่งๆ นั้นสามารถสร้างบุคคลให้กลายเป็นผู้นำได้ ผู้นำจึงเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับหรือยกย่องให้เป็นหัวหน้าจากสมาชิกในกลุ่ม เพราะเห็นว่าบุคลิกลักษณะของเขาในสถานการณ์นั้นๆ มีความเหมาะสมที่จะเลือกให้เขาเป็นผู้นำ บุคลิกพิเศษดังกล่าวอาจเป็นความกล้าหาญมีความรู้ความสามารถ มีสติปัญญาฉลาดหลักแหลมกว่าคนอื่น เป็นต้น(วิเชียร วิทยอุดม,2550:85) หากองค์กรหนึ่งๆ แต่งตั้งบุคคลหนึ่งๆ ให้ขึ้นมาเป็นหัวหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบหน่วยงานหนึ่งๆ ในองค์กร เราก็สามารถเรียกบุคคลนั้นๆ ว่าเป็นผู้นำได้ (เจษฎา บุญโฮม, 2546:185) อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับว่า ผู้นำคือ ผู้ที่มีอิทธิพลในทางที่ถูกต้องต่อการกระทำของผู้อื่นมากกว่าคนอื่น ๆ ในองค์การ หรือกลุ่มที่เขาปฏิบัติงานอยู่ เป็นผู้ซึ่งใช้อิทธิพลในการกำหนดเป้าหมายหรือการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมาย โดยได้รับการเลือกตั้งจากกลุ่มเพื่อให้เป็นผู้นำหรือหัวหน้า (นพพงษ์ บุญจิตราดุล,2540:95) คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ผู้นำที่ดีควรจะมีคือ สามารถชี้ให้ลูกน้องเห็นความสามารถที่ช่อนไว้ในตัวของลูกน้องเอง แล้วช่วยให้ลูกน้องแสดงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่(Steven R. Covey,2005:97-98) และเพราะความที่ผู้นำถือเป็นผู้ที่ทุกคนในหน่วยงานจับตามองดูอยู่ตลอดเวลา ผู้นำจึงต้องมีลักษณะที่โดดเด่นบางอย่าง อาทิ เป็นผู้ที่รู้จักตนเอง เชื่อมั่นในตนเอง มีวิสัยทัศน์ที่ดี มีความฉลาดหลักแหลม และมีวิจารณญาณ มุ่งมั่นที่จะสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย ลอดทั้งเป็นผู้ที่ทำงานหนัก อดทน กล้าหาญ กระตือรือร้น ซื่อสัตย์สุจริต เฉลียวฉลาด มีความสามารถในการสื่อสารและโน้มน้าวผู้อื่น มีความเปิดกว้างต่อโลก และเป็นผู้ช่วยสร้างสรรค์สังคม (ยงยุทธ เกษสาคร, 2541:54)

(บุญทัน ดอกไธสง, 2545:266 แนวคิดเกี่ยวกับผู้นำคือ ผู้นำ (Leader) หมายถึง ผู้มีอิทธิพลมีศิลปะ มีอิทธิพลต่อกลุ่มชน เพื่อให้พวกเขามีความตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายตามต้องการเป็นผู้นำและแนะนำ เพราะผู้นำ ต้องคอยช่วยเหลือกลุ่มให้บรรลุเป้าหมายสูงสุดตามความสามารถ ผู้นำไม่เพียงแต่ยืนอยู่เบื้องหลังกลุ่มที่คอยแต่วางแผนและผลักดัน แต่ผู้นำจะต้องยืนอยู่ข้างหน้ากลุ่มและนำกลุ่มปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายผู้นำ คือ ผู้ที่ได้รับการยอมรับหรือได้รับการแต่งตั้ง ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการให้นำคนอื่น และนำพาองค์การให้บรรลุเป้าหมายตามที่ได้ตั้งร่วมกันไว้แล้วตัวผู้นำเองควรมีคุณสมบัติพิเศษประการต่าง ( ที่เป็นแบบอย่างและมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ตามจนทำให้ผู้ตามอยากเดินตามอย่างสมัครใจ

ภาวะผู้นำ หรือ ความเป็นผู้นำ ยังหมายถึง บุคลิกภาพพิเศษหลายอย่างในตัวผู้นำ ที่สามารถที่จะบังคับบัญชาผู้อื่นได้ โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ (Authority) ภาวะผู้นำ ของผู้บริหาจากตำแหน่งและอำนาจบารมี (Power) ที่ได้จากตัวของเขาเองเป็นเครื่องมือ และสามารถจะสร้างอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชาให้มีความเชื่อถือยอมร่วมมือหรือยอมรับในตัวของเขาได้ ไม่ว่าจะเป็นบุคลิกภาพลักษณะของความผู้นำ ความรู้ ความสามารถ ความคิดริเริ่ม การตัดสินใจ เป็นต้น เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายของกลุ่มหรือขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ซึ่งในบางขณะคนที่ได้รับการยอมรับหรือยกย่องให้เป็นผู้นำ แต่ก็ไม่ได้เป็นที่ยอมรับของผู้ใต้บังคับบัญชา ก็อาจจะพูดว่าเขาไม่มีภาวะผู้นำ ตรงกันข้ามบางคนไม่ได้เป็นผู้นำ แต่กลับได้รับความเชื่อถือ ยอมรับและร่วมมือปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำแนะนำปฏิบัติตาม ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวสอดคล้องกับคำพูดที่ว่า “ผู้นำอาจจะไม่มีภาวะผู้นำ ผู้มีภาวะผู้นำอาจจะไม่ได้เป็นผู้นำ” (วิเชียร วิทยอุดม, 2550:3)

ภาวะผู้นำ (Leadership) คืออะไร

ภาวะผู้นำ หมายถึง คุณลักษณะที่เป็นบุคลิกภาพ และอุปนิสัยของบุคคลที่ทำให้บุคคลนั้นได้รับความไว้วางใจจากบุคคลอื่นและนำพาบุค่คลอื่น(Webster, 1913) ซึ่งสอดรับกับคุณลักษณะที่สำคัญของผู้นำคือ จะต้องเป็นผู้ที่มองโลกในแง่ดี อีกทั้งมีความมุ่งมั่นเพียรพยายามขณะเผชิญหน้ากับปัญหายุ่งยาก ทั้งจะต้องแผ่รังสีความเชื่อมั่นออกมา แม้ว่าตัวเองไม่แน่ใจในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น บททดสอบสุดท้ายสำหรับผู้นำ คือ ความรู้สึกของผู้ร่วมประชุมว่าภายหลังการประชุมกับผู้นำแล้ว มีความรู้สึกฮึกเหิมและเชื่อมั่นหรือไม่(จีระ หงส์ลดารมภ์ และบุญรัตน์ อภิชาตไตรสรณ์, 2546:107)

ภาวะผู้นำ คือ คุณสมบัติ ลักษณะ หรือคุณลักษณะที่โดดเด่นของคน ๆ หนึ่งที่ทำให้บุคคล อื่น ๆ หันมายอมรับ เชื่อถือ และยอมทาตาม คุณสมบัติดังกล่าว อาทิ สติปัญญา ความดีงาม คุณธรรม ความพากเพียร ความสามารถในการจูงใจคน ความสามารถในการสื่อสาร มองโลกในแง่บวก การมีอารมณ์ขัน เป็นต้น และยังควรเป็นผู้ที่มุ่งหวังประโยชน์ส่วนรวมหรือเป้าหมายขององค์การมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว นอกจากนี้ผู้นำยังควรเป็นแบบอย่างในการรักษาสมดุลของชีวิตทั้งสุขภาพกาย ใจ และอารมณ์ ให้เป็นแบบอย่างแก่คนอื่น ๆ อีกด้วย

คุณลักษณะของภาวะผู้นํา มีอะไรบ้าง

คุณลักษณะของผู้นำที่ดีควรมี 8 ประการ ได้แก่

1) ต้องเป็นผู้ที่ใฝ่การเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา (Continually Learning) ทั้งการเรียน การอบรมการฝึกฝน และตั้งใจฟังในสิ่งที่คนอื่นพูด ทั้งยังชอบถามคำถาม และกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

2) ชอบบริการผู้อื่น (Sevice-Oriented) มีชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้คน มิใช่คิดแต่เรื่องความสำเร็จทางอาชีพเท่านั้น มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อสังคม และอยากให้การบริการแก่ทุกคน

3) เชื่อมั่นในพลังด้านบวก (Positive Energy) มีความร่าเริง มีความสุข คิดในแง่บวกมีศรัทธาต่อสิ่งที่ทำ มีอารมณ์ขัน และนิยมหลีกเลี่ยงความคิดหรือพลังด้านลบ

4) เชื่อมั่นในบุคคลอื่น (Believe in Other People) พยายามแสวงหาจุดแข็งของคนอื่นไม่คอยหาจุดบกพร่องในบุคคล นิยมให้อภัยในความผิดพลาดของคนอื่น ไม่ผูกอาฆาตแค้น มักเชื่อว่าทุกคนมีข้อดีที่ซ่อนอยู่ในตน

5) ใช้ชีวิตได้อย่างสมดุล (Balanced Lives มีชีวิตส่วนตัว ชีวิตสังคม สุขภาพกายและใจที่สมดุล ไม่นิยมความสุดโต่ง มีความสม่ำเสมอในการทำกิจกรรมชีวิตในแต่ละวัน และพักผ่อนอย่างเพียงพอ

6) มองชีวิตเป็นการผจญภัย (Adventure) คาดหวังว่าจะได้เห็นเรื่องใหม่ ๆ ในชีวิตได้ทุกวันขณะที่คนอื่น ๆ เห็นเป็นเรื่องจำเจ ความสร้างสรรค์ของผู้นำมาจากภายใน ไม่ชอบเดินตามใครมีความยืดหยุ่นในการใช้ชีวิตสูง

7) นิยมทำงานเป็นทีม (Synergistic มักนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ทีมงานได้อย่างอัศจรรย์ทำงานหนักและมีความเฉลียวฉลาด เคารพความสามารถของผู้อื่น ไม่สนใจตำแหน่งแต่สนใจการทำงานให้สำเร็จ

8) พัฒนาศักยภาพในตนเอง (Self-Renewal) ใน 4 ด้านตลอดเวลา ได้แก่ ด้านกายภาพ สติปัญญา อารมณ์ และจิตใจ ด้านกายภาพมีการออกกาลังกาย เป็นต้น ด้านสติปัญญา มีการอ่านหนังสือ การเขียน และการจินตนาการ ด้านอารมณ์ คือ การฝึกตนให้อดทน ฟังคนอื่นอย่างตั้งใจรับผิดชอบในภารกิจการงาน ด้านจิตใจ มีการสวดมนต์ ทำสมาธิ อ่านคัมภีร์ศาสนา และถือศีลอด เป็นต้น (Steven R. Covey, 2992:33-39)

คุณสมบัติของผู้นำที่ แจ็ค เวลซ์ คิดไว้คือต้องมีองค์ประกอบ 4 อี (4 Es)

  1. เป็นผู้มีพลังสูง (Energy) มีความกระตือรือร้นในการทำงานและการใช้ชีวิต
  2. สามารถสร้างความกระตือรือร้นในการทำงานให้แก่บุคคลอื่น (Energize others) ให้มุ่งสู่จุดหมายเดียวกันขององค์กรได้
  3. มีการตัดสินใจได้อย่างเฉียบขาด (the Edge to make tough decisions)
  4. สามารถบริหารงานและส่งงานได้ตามเวลา (Execute and deliver on their promises) ( Jack Welch, 2003:195)

โดยองค์ประกอบทั้ง 4 นี้ต้องออกมาจาก แรงผลักภายใน (Passion) ที่อยู่ในตัวผู้นำ แจ็ค เวลซ์ กล่าวว่า หากผู้นำปราศจากคุณสมบัติเหล่านี้ เขาจะเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่และประสบความสำเร็จไม่ได้เลย

ภาวะผู้นำคืออะไร จะสร้างภาวะผู้นำให้นักเรียนได้อย่างไร ? 6

องค์ประกอบของภาวะผู้นำ (Leadership Components)

เกียมแมทเทียว (Giammatteo, 1981, pp. 1-2) ชี้ให้เห็นว่าพลังในตัวบุคคลที่ก่อให้เกิดภาวะผู้นำมีองค์ประกอบ คือ

  1. พลังในตัวผู้นำเอง (Forces within the leader)  เป็นลักษณะประจำตัวผู้นำ เช่น พฤติกรรมส่วนตัวที่แสดงออกมา
  2. พลังในตัวผู้ตาม (Forces within those being led)  ได้แก่ บทบาทของสมาชิกในกลุ่มที่แสดงออก บทบาทของผู้นำมักจะสอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่ม
  3. พลังจากสภาพแวดล้อม (Forces within the  environment) เป็นพลังที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น นโยบายแนวคิดของกลุ่มนักวิชาการ เศรษฐกิจ การเมือง การปกครองที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้นำ

เฮอร์เซย์ และแบลนชาร์ด (Hersey and Blanchard, 1993, p. 94)  มีความเห็นสอดกันคือ องค์

ประกอบที่จะทำให้เกิดภาวะผู้นำขึ้นได้นั้นมี 3 ประการ คือ  ตัวผู้นำเอง  (Leader)  ผู้ตาม (Foll0wers) และสถานการณ์ (situations) ดังสมการต่อไปนี้

                                L = f(lfs)

                                L  แทน  Leadership  คือ ภาวะผู้นำ

                                F  แทน  function  คือ  องค์ประกอบ

                                l  แทน  leader       คือ  ตัวผู้นำเอง

                                f  แทน   followers   คือ ผู้ตาม

                                s  แทน  situation  คือ สถานการณ์/สิ่งแวดล้อม

                                จากสมการดังกล่าว ชี้ให้เห็นองค์ประกอบของพฤติกรรมจะมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบตัวผู้นำ คือ คุณลักษณะเฉพาะของผู้นำ เช่น ความรู้ความสามารถ ทักษะประสบการณ์ การฝึกอบรมพื้นฐาน การอบรมเลี้ยงดูแต่เยาว์วัย เป็นต้น ลักษณะเหล่านี้จะหลอมรวมเข้าเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวรวมทั้งเจตคติต่อตัวเอง ต่อคนอื่น และต่องานอาชีพส่วนตัว ผู้ตามหรือผู้ร่วมงาน

บทบาทหน้าที่ของผู้นำ

ผู้ที่เป็นผู้นำต้องสามารถนำพาทีมให้บรรลุวัตถุประสงค์การทำงาน และตอบสนองความต้องการของลูกทีมให้ได้ ดังนั้นผู้นำจึงจำเป็นต้องมีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างไปจากลูกทีมคนอื่น ๆ
ความหมายของคำว่า บทบาท ได้แก่ พฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกตามที่สังคมหรือองค์การกำหนดให้ในการปฏิบัติหน้าที่ บุคคลจึงแสดงพฤติกรรมไปตามบทบาทที่ถูกกำหนดนั้น บางคนอาจไม่กระทำตามบทบาทนั้น ๆ ก็ได้ ซึ่งผลกระทบทางสังคมจะมีต่อมาในลักษณะใดลักษณะหนึ่งเสมอ(Bruce J. Cohen,1979:6)

บทบาท ยังหมายถึง พฤติกรรมที่คาดหวังสำหรับคนที่อยู่ในสถานภาพที่แตกต่างกันว่าจะต้องปฏิบัติตัวเช่นไร เป็นบทบาทที่กลุ่มคนหรือสังคมคาดหวัง ซึ่งบทบาทสามารถนำมาใช้พยากรณ์พฤติกรรมของบุคคลได้ด้วย(งามพิศ สัตย์สงวน, 2538:96 บทบาทของผู้นำทั้งที่มาจากตำแหน่งแต่งตั้งและผู้นำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติว่ามี 7 บทบาท(ณัฐนรี ศรีทอง, 2552:86-87) ดังนี้ บทบาทของการเป็นตัวแทนหน่วยงานในทุกสถานการณ์ (Figurehead) ที่สำคัญก็คือการเป็นตัวแทนของหน่วยงานเพื่อรวบรวมข้อมูลจากภายนอกหน่วยงานรวมถึงบทบาทการต้อนรับผู้มาเยี่ยมเยือนหน่วยงาน บทบาทของนักพูด (Spokesperson) เป็นบทบาทการนำเสนอกิจกรรมของหน่วยงาน บทบาทการสร้างวิสัยทัศน์ที่ดีของหน่วยงาน รวมถึงบทบาทการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยงานให้เป็นที่รู้จักของบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงาน ผู้รับบริการ เพื่อนร่วมอาชีพ และสังคมภายนอกหน่วยงาน เป็นต้น บทบาทเป็นนักเจรจาต่อรอง (Negotiator) เพื่อผลประโยชน์ของหน่วยงานและเพื่อความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงานเป็นสำคัญ เช่น การต่อรองจัดซื้อวัสดุ ครุภัณฑ์เข้าหน่วยงาน การต่อรองราคาค่าก่อสร้างอาคารที่ทาการใหม่ของหน่วยงาน เป็นต้น บทบาทการสอนงาน (Coach) แก่ผู้ตามและเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานเพื่อให้การดาเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่น และทำให้ผู้นำเกิดความมั่นใจว่าผู้ตามและเพื่อนร่วมงานทำงานถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และผลงานที่ได้จะมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของบุคคลทุกฝ่าย บทบาทในการสร้างทีมงาน (Team builder) เพื่อเป็นการรวมพลังความสามัคคีของผู้ตามและเพื่อนร่วมงานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้งานที่ทำอยู่สำเร็จลุล่วงไปได้โดยง่ายช่วยลดปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงานร่วมกัน และที่สำคัญก็คือเป็นการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจที่ดียิ่งให้แก่ผู้ตามและเพื่อนร่วมงานโดยตรง บทบาทในการแก้ปัญหาด้านเทคนิค (Technical problem solver) โดยการให้บริการในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ผู้แนะนำด้านวิชาการ เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ บทบาทของผู้ประกอบการ (Entrepreneur) เพื่อให้หน่วยงานดำรงอยู่ได้และปฏิบัติงานตามภารกิจของหน่วยงานได้อย่างต่อเนื่อง

บทบาทหน้าที่ของผู้ที่เป็นผู้นำได้แก่ พฤติกรรมของบุคคลที่เป็นไปตามความคาดหวังของสังคมหรือองค์การ บทบาทหน้าที่ของผู้นำเป็นบทบาทเฉพาะที่ต้องรับผิดชอบมากกว่าลูกทีมคนอื่น ๆ และผู้นำต้องสามรถเล่นบทบาทได้อย่างหลากหลายและครอบคลุมความรับผิดชอบหลักขององค์กรให้ได้ อาทิ เป็นนักพูด เป็นนักต่อรอง เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ฝึกสอน หรือ แม้แต่เป็นผู้จุดประกายความหวังในการทางานให้แก่ลูกน้อง จากเนื้อหาข้อมูลที่ได้นามาแสดงทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นว่า สังคมมีความคาดหวังในตัวผู้นำสูงกว่าลูกทีมคนอื่น ๆ ผู้ที่เป็นผู้นำจึงนับเป็นผู้ที่จำต้องมีคุณสมบัติพิเศษและมีพลังทงจิตใจที่ข้มแข็ง รวมทั้งต้องยอมรับว่าตนเองจำต้องมีแรงเสียดทานกับปัญหานานาชนิดให้ได้

คุณลักษณะของภาวะผู้นำ

ในสมัยโบราณที่มีการรบพุ่งเป็นนิจนั้น ความเข้มแข็งในการรบและฝีมือการต่อสู้จึงเป็นคุณลักษณะที่อาจกล่าวได้ว่ามีความโดดเด่นที่สุดที่ผู้นาจะต้องมี แต่ปัจจุบันความสามารถเช่นนั้นไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว สังคมคาดหวังคุณลักษณะของผู้นำในเชิงสติปัญญามากขึ้น ทว่าคุณลักษณะทางกายภาพทางอุดมคติ อาทิ การมีร่างกายที่สง่งาม มีหน้าตาดี มีบุคลิกภาพภูมิฐาน ยังคงได้รับการจารึกในตำราเกี่ยวกับภาวะผู้นำอยู่เสมอ

คุณลักษณะของผู้นำหรือคุณลักษณะภาวะผู้นำ (Leadership Trait) หมายถึง ลักษณะเด่นประจำตัวของบุคคลที่แตกต่างจากผู้อื่น ซึ่งมีอยู่ในตัวผู้นำแสดงให้เห็นถึงความดีงาม และภาวะผู้นำที่เอื้อต่อความสำเร็จขององค์การ มีอิทธิพลต่อการจูงใจคนอื่น ๆ ให้ปฏิบัติตามคุณลักษณะนี้อาจติดมาแต่กำเนิดหรือสร้างขึ้นมาในภายหลังก็ได้ และหากไม่มีคุณลักษณะของผู้นำ ผู้คนอาจไม่ปฏิบัติตาม

(N.L. Frigon and H.K. Jackson, 1996:29-36) คุณลักษณะของผู้นำไว้ 6 ประการ (จุมพล หนิมพานิช, 2529:98-99) ได้แก่ คุณลักษณะทางกาย (Physical characteristics) ได้แก่ อายุ ลักษณะท่าทาง ส่วนสูง และน้ำหนัก ภูมิหลั่งทางสังคม (Social background) ได้แก่ สภาพภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้นำ อาทิ การศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม และการเลื่อนฐานะทางสังคม เป็นต้น สติปัญญา ความรู้ ความสามารถ (Inteligence) ได้แก่ สติปัญญา ความรู้ความสามารถที่ผู้นามีอยู่ในตน บุคลิกภาพ (Personality ได้แก่ คุณลักษณะของบุคลิกภาพที่ดีของผู้นำ เช่น มีความเชื่อมั่นในตนเอง เป็นต้น ลักษณะที่เกี่ยวกับงาน (Task-related characteristics) ได้แก่คุณลักษณะที่มีความต้องการความสำเร็จ มีความรับผิดชอบสูง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นต้น

ลักษณะต่าง ๆ ทางสังคม (Social characteristics ได้แก่ มีคุณลักษณะของความเป็นผู้ที่ต้องการการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ อย่างกระตือรือร้น ทั้งยังเป็นผู้ที่ชอบการติดต่อ พบปะสังสรรค์กับบุคคลอื่น ๆและให้ความร่วมมือกับบุคคลต่าง ๆ ด้วยดี

คุณลักษณะที่ผู้นำควรหลีกเลี่ยงไว้ 7 ประการ คือ

  1. ผู้นำอย่ายึดถือความเป็นนายเหนือกว่า

2. ผู้นำอย่าทำให้เป็นผู้รู้มากกว่าที่รู้จริง

3. ผู้นำไม่ควรแทรกแซงในขณะทำงาน

4. ผู้นำอย่าตำหนิผู้อื่นต่อหน้าสาธารณชน

5. ผู้นำอย่าเป็นคนใจน้อย ใจแคบ ชี้โมโห

6. ผู้นำอย่าใช้คำสั่งที่ขัดแย้ง

7. ผู้นำอย่าใช้คำสั่งมากเกินความจำเป็น

การพัฒนาทักษะที่จำเป็นของผู้นำมี 4 ประการหลัก

1. การพัฒนาทักษะด้านความคิด (Thinking skills) คือ ความสามารถในการมององค์การในภาพรวมหลายด้าน เช่น นโยบายเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ซึ่งจาเป็นต้องอาศัยทักษะในด้านความคิด วิเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กว่าทักษะด้านอื่น ผู้บริหารระดับสูงจำเป็นต้องมีทักษะด้านนี้เป็นอย่างยิ่ง

2. การพัฒนาทักษะด้านมนุษย์ (Human skills) คือ ความสามารถในการใช้วิธีต่าง ๆ จูงใจให้สมาชิกในองค์การต้องการที่จะทำงาน มีความสามารถน้มน้าวและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของสมาชิกในองค์การให้เป็นไปตามทิศทางที่พึงประสงค์ขององค์การ ผู้บริหารทุกระดับจำเป็นต้องศึกษาและเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์

3. การพัฒนาทักษะด้านเทคนิค (Technical skills) คือ ความสามารถในการทำงานที่ต้องมีฝีมือ ใช้เทคนิคและวิธีการ เป็นเรื่องของความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขาอาชีพ ผู้บริหารระดับต้นจำเป็นต้องมีทักษะนี้มาก คือ เก่งงานมากกว่าเก่งด้านอื่น ๆ

4. การพัฒนาทักษะด้านการออกแบบ (Design skills) คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาในแนวทางที่เกิดประโยชน์ต่อองค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการจัดการระดับสูงขององค์การที่ผู้บริหารต้องมีความสามารถรอบด้าน หลากหลาย ที่สามารถนำทักษะด้านต่าง ๆ มาหาทางแก้ไขปัญหาในการทำงานได้ด้วย (สมคิด บางโม, 2538:76-77)

การพัฒนาตนเองให้มีคุณลักษณะแบบเดียวกับผู้นำที่ดี ด้วยหลักการ 7 ประการของผู้มีประสิทธิภาพสูง (The 7 Habits of Highly Effective People)

  1. กระตือรือร้นและริเริ่มด้วยตนเอง (Be proactive) รู้ว่าตนเองสามารถกำหนดโชคชะตาของตัวเองได้ ไม่ปล่อยให้ใครมาบงการชีวิตตน รับผิดชอบในตัวเองได้
  2. เริ่มต้นด้วยการรู้เป้าหมายข้างหน้า (Begin with the end in mind) มีวิสัยทัศน์รู้ล่วงหน้าว่าสิ่งที่ตนเองกระทำจะมุ่งไปสู่ความสำเร็จใด รู้เป้าหมายของชีวิตว่าเกิดมาเพื่อสิ่งใด
  3. ทำสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อน (Put first things first) รู้จักบริหารเวลา บังคับจิตใจตนเองให้กระทำตามแผนงานที่ทำไว้อย่างเฉียบขาด สิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต เช่น ครอบครัว การงาน การเรียนความรัก ควรมาก่อนเรื่องอื่น ๆ
  4. คิดอย่างผู้ชนะทั้งเขาและเรา (Think win-win) รู้จักประสานประโยชน์ให้เกิดความเท่าเทียมกันทั้งตนเองและผู้อื่น ด้วยความใจกว้างและยอมรับการแบ่งปันที่เท่าเทียม
  5. พยายามเข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วค่อยให้เขามาเข้าใจเราทีหลัง (Seek first to understand, then to be understood)
  6. ผนึกกำลังเป็นทีมเพื่อสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่มากกว่าการทำอะไรคนเดียว (Synergize)
  7. พัฒนาตนเองอยู่เสมอ (Sharpen your saw ทั้งในด้านสุขภาพ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ซึ่งเกี่ยวกับการทานอาหาร ออกกาลังกาย อ่านหนังสือ ทำสมาธิ และงานอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อน เป็นต้น (Stephen R. Covey, 1989:123-124)

โดยนิสัยข้อที่ 1-3 เป็นการพัฒนาตนเอง และข้อที่ 4-6 เป็นการพัฒนาความสัมพันธ์กับผู้อื่นและนิสัยข้อที่ 7 เป็นการปฏิบัติแบบรอบด้านทั้งเพื่อตนเองและผู้อื่น คุณลักษณะของผู้นำ เป็นคุณลักษณะเฉพาะที่พิเศษของบุคคลที่มีอยู่ในตนและส่งอิทธิพลต่อความเป็นผู้นำ และทำให้คนอื่น ๆ ทำตาม ซึ่งควรส่งผลสู่ความดีและความงาม คุณลักษณะของผู้นำควรครอบคลุมทั้งลักษณะทางกายภาพ สติปัญญา อารมณ์ ลอดจนอุปนิสัยที่ดีงามของผู้นำซึ่งจะก่อให้เกิดความศรัทธาและเชื่อมั่นที่จะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้นำจึงต้องหมั่นพัฒนาตัวตนอยู่เสมอและมองตัวเองอย่างรอบด้าน รวมทั้งรับฟังความคิดเห็นของคนรอบด้านในเรื่องภาวะผู้นำของตนเอง

ผู้นำอาจมิใช่ผู้ที่สมบูรณ์เพียบพร้อมทุกประการ แต่ผู้นำควรมีคุณลักษณะที่มองโดยภาพรวมแล้วสามารถสร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นจากคนในทีมและ นอกทีมของตนได้ หากผู้นำขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือกระทำผิดรูปแบบที่ควรจะเป็น อาจส่งผลให้ผู้ตามไม่ทำตามได้

คุณสมบัติและคุณลักษณะของผู้นำที่ดี

ตัวอย่างของคุณสมบัติของผู้นำที่ดี ที่ผู้นำต้องมี 8 ประการ คือ

  1. ไว้วางใจ ไม่หวงอำนาจ
    ผู้นำต้องไว้วางใจผู้ตามหรือลูกน้อง ไม่หวงอำนาจ ยิ่งมอบอำนาจออกไปมากยิ่งเป็นผลดีต่อการบริหาร เพราะจะช่วยแบ่งเบาในรายละเอียด ทำให้ผู้นำมีเวลาที่จะสร้างสรรค์ ควบคุม และติดตามงาน ความสำคัญของการมอบอำนาจจึงอยู่ที่วิธีการ และการเลือกบุคคลที่จะรับมอบอำนาจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
  2. หยั่งรู้แล้วเตรียมพร้อม
    ผู้นำต้องสามารถหยั่งรู้ว่าจะเกิดสถานการณ์เหตุการณ์อะไรขึ้นข้างหน้า เพื่อจะได้เตรียมรับสถานการณ์ได้อย่างทันท่วงทีการหยั่งรู้ในที่นี้หมายถึงการหยั่งรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ คือหยั่งรู้จากการติดตามข่าวสารหรือจากการเก็บข้อมูลมาศึกษาในเชิงสถิติตัวอย่างเช่น ท้องที่ที่เคยประสบภัยธรรมชาติย่อมต้องมีข้อมูลเก่าที่สามารถนำมาใช้เตรียมการ เพื่อรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีกได้ผู้นำที่ดีจึงต้องพยายามหาวิธีที่จะไมให้เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า ซ้ำซาก
  3. รู้จักตัวเอง
    ผู้นำต้องรู้จักตัวเอง รู้ว่าตัวเองเป็นคนอย่างไร มีจุดเด่นจุดด้อยหรือข้อดีข้อเสียประการใด จะได้ใช้เป็นปัจจัยในการนำผู้คนให้ได้ดียิ่งขึ้นโดยปกติ เรามักมือคติทำให้มองตัวเองไม่ชัดหรือเข้าข้างตัวเอง ทำให้ไม่รู้จักตัวเองอย่างแท้จริง ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีการฝึกอบรม มีการให้ทำการประเมินเบื้องต้น โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) หาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของตนเอง ซึ่งใช้ได้ทั้งกับบุคคลและองค์กร หรือเราจะใช้วิธีง่ายๆ โดยให้สามีหรือภรรยาหรือลูก ซึ่งเป็นคนใกล้ชิด และจริงใจต่อเรา ช่วยวิเคราะห์และแนะนำก็ได้ วิธีการเหล่านี้ช่วยให้เรารู้จักตัวตนของเราชัดเจนยิ่งขึ้น
  1. มีจินตนาการและการจูงใจ
    ผู้นำต้องเป็นผู้ที่มีจินตนาการอย่างเช่นที่ไอน์สไตน์กล่าวไว้ว่า “จินตนาการสำคัญกว่าความรู้” เพราะจินตนาการคือวิสัยทัศน์และความคิดสร้างสรรค์ เป็นความสามารถในการจำลองผลสำเร็จ ขั้นตอนการดำเนินการที่มีความเป็นไปได้ไว้ในสมอง คือเมื่อคิดสร้างสรรค์สิ่งใดแล้ว ต้องคิดภาพในรายละเอียดให้ออกว่าต้องมีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไรจึงจะสำเร็จในส่วนของความสามารถในการจูงใจนั้น เป็นศิลปะที่เรียนรู้ได้ จึงมีการเขียนไว้เป็นทฤษฎีต่างๆ ให้ผู้นำได้ศึกษามากมาย เพราะเมื่อผู้นำคิดสร้างสรรค์โครงการใดๆ ได้แล้ว แต่ไม่สามารถจูงใจให้ผู้อื่นปฏิบัติตามจนประสบผลสำเร็จได้ จินตนาการนั้นก็ไร้ความหมาย ดังนั้น การมีจินตนาการและมีความสามารถในการจูงใจผู้อื่น จึงเป็นคุณสมบัติที่จำเป็นของผู้นำที่ดี
  2. ประพฤติสิ่งที่น่านับถือ
    ผู้นำจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่าง เพราะการประพฤติปฏิบัติของผู้นำ นอกจากจะมีอิทธิพลต่อผู้ตามและองค์กร ดังคำพูดที่ว่า “หัวไม่ส่ย างไม่กระดิก” แล้ว การปฏิบัติตนของผู้นำยังอยู่ในสายตาของผู้คน หากประพฤติดี ผู้คนก็ชื่นชม สรรเสริญ และในทางตรงกันข้าม หากประพฤติไม่ดี ผู้คนก็ชิงชังไม่นับถือ การถูกชิงชังและขาดความนับถือจะทำให้บารมีของผู้นำ ตลอดจนแรงจูงใจที่จะปฏิบัติตามลดน้อยลงหรือหมดไปนั่นย่อมเป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานเป็นอย่างยิ่ง
  3. เชื่อมั่นและรับฟัง
    ผู้นำจะต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองในขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยเฉพาะกับผู้ตามหรือลูกน้อง โลกในยุคประชาธิปไตย คนรุ่นใหม่ถูกฝึกให้มีความคิดเป็นของตนเอง และรับฟังเสียงของคนส่วนใหญ่ ดังนั้นผู้นำที่ดีต้องมีคุณสมบัติทันโลก จึงจะสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. รู้จักปรับตัวและยืคหยุ่น
    ผู้นำต้องรู้จักปรับตัวตามสถานการณ์ เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ และพร้อมที่จะนำผู้อื่นให้ปรับตัวตาม อย่างที่เรียกว่า “เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง” อีกทั้งต้องมีความยืดหยุ่น รู้จักผ่อนปรนรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องและเพื่อนร่วมงานบ้าง นั่นคือทำงานโดยยึดหลักนิติศาสตร์ ในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญแก่หลักรัฐศาสตร์ด้วย
  2. ยอมรับทั้งความผิดพลาดและความถูกต้อง
    ผู้นำ ทำอะไรก็ตาม หากผิดพลาดต้องยอมรับผิด ผู้นำต้องรู้จักการกล่าวคำขอโทษ เพราะคนเราไม่มีใครทำอะไรได้ถูกต้องเสมอไป แต่ความผิดพลาดในเรื่องเดียวกันนั้น ไม่ควรจะกระทำผิดซ้ำ และไม่ควรละเลยการเก็บสถิติ เพื่อประเมินหาข้อดีข้อเสีย เมื่องานแต่ละงานเสร็จสิ้นลง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น

คุณสมบัติทั้ง 8 ประการนี้ ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้นำต้องมีประจำอยู่ในตน จึงจะถือเป็นผู้นำที่ดีได้

ส่วนคุณลักษณะของผู้นำที่ควรมีอย่างน้อย 5 ประการ ได้แก่

  1. นั่งแถวหนัา
    ผู้นำควรสร้างคุณลักษณะให้เป็นคนอาจหาญต่อหน้าชุมชน พอใจที่จะนั่งแถวหน้าในที่ประชุมหรือที่ชุมนุมใดก็ตาม ตามวัฒนธรรมของคนเป็นผู้นำ เพื่อเป็นเกียรติ และเพื่อความคล่องแคล่วในการประสานงานและการสื่อสารในที่ประชุมนั้น
  2. สบตาผู้ฟัง
    ผู้นำควรมีคุณลักษณะของคนที่มีความจริงใจดังนั้นในการพูดสื่อสารกับผู้ฟัง ทั้งรายบุคคล หรือพูดในที่สาธารณะก็ตาม ผู้นำที่ดีต้องพยายามสบตากับผู้ฟัง ซึ่งจะมีผลทางจิตวิทยาว่า เราพูดจากใจและจริงใจในสิ่งที่พูดออกมาทั้งหมด
  3. มีพลังเดินไว
    ผู้นำควรมีคุณลักษณะของคนเข้มแข็ง เดินเหินกระฉับกระเฉง รวดเร็ว ไม่เดินช้า หรือเดินแบบหมดแรงทำให้ดูเหมือนเป็นตนเฉื่อย ขาดความเชื่อมั่นและความกระตือรือร้น ก่อให้เกิดผลทางลบต่อความรู้สึกของผู้ตาม
  4. ลื่นไหลการพูด
    ความสามารถในการพูด เป็นคุณลักษณะที่ดีประการหนึ่งของคนเป็นผู้นำ เพราะต้องใช้เพื่อการสื่อสารทำความเข้าใจ เพื่อการจูงใจ ตลอดจนเพื่อการสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ตาม ความสามารถในการพูดจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เป็นผลสำเร็จ
  5. ครบสูตรยิ้มกว้าง
    ผู้นำที่มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส แสดงให้เห็นถึงความเป็นคนมีสุขภาพจิตดี พร้อมที่จะแบ่งปันความสุข ความเมตตา ความอบอุ่นใจให้แก่ผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ด้วย นอกจากนั้นรอยยิ้มยังช่วยสร้างไมตรี ความสามัคคีและการอภัย อันเป็นปัจจัยของความสำเร็จและความสุขอีกด้วย

ผู้นำแบบที่คนไทยชื่นชอบ

การกล่าวอ้างถึงคุณสมบัติและคุณลักษณะที่ดีของผู้นำ อาจพูดได้ว่าเป็นการมองอย่างนักวิชาการ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจความคิดเห็นของคนไทยในหัวข้อความต้องการผู้นำที่มีคุณสมบัติอย่างที่คนไทยชื่นชอบก็จะได้ผลในทำนองเดียวกัน ดังนี้

1. มีความซื่อสัตย์สุจริต

คนไทยมองว่า ความซื่อสัตย์สุจริต ควรจะเป็นคุณสมบัติที่สำคัญประการแรกของผู้นำไทย เพราะความซื่อสัตย์สุจริตถือเป็นตัวชี้วัดการพัฒาของประเทศ ดังจะสังเกตได้ว่า การจัดลำดับความน่าเชื่อถือและสถิติการคอร์รัปชั่นนั้น ประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมดจะมีผลการยอมรับในลำดับต้นๆ ทั้งสิ้น ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องแข่งขันกันเพื่อไมให้ตกเป็นอันดับรั้งท้าย

2. มีความยุติธรรม

คนไทยให้ความสำคัญกับความยุติธรรม เพราะความยุติธรรมของผู้นำช่วยให้ผู้ปฏิบัติเกิดกำลังใจในการทำงาน โดยมุ่งหวังว่า เมื่อมีความมุ่งมั่น ความขยันขันแข็งในการปฏิบัติงานแล้ว จะได้รับความดีความชอบและการสนับสนุนจากผู้นำอย่างยุติธรรม

3. มีความรับผิดชอบ

ความรับผิดชอบเป็นคุณสมบัติพื้นฐานของผู้นำ โดยธรรมชาติที่กลุ่มคนต้องการผู้นำก็เพราะต้องการให้ผู้นำแสดงบทบาทในการรับผิดชอบ และตัดสินใจแทนตน ดังนั้นคนไทยจึงต้องการผู้นำที่มีความรับผิดชอบ เช่นกัน

4. มีวิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ของผู้นำมีส่วนสำคัญในการนำองค์กรไปสู่ความก้าวหน้าและความสำเร็จในหน่วยงานขนาดใหญ่อาจต้องใช้วิสัยทัศน์ที่เกิดจากการระดมความคิดเห็นของสมาชิกในองค์กรร่วมกัน แต่อย่างไรก็ตาม วิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กรก็ยังเป็นคุณสมบัติสำคัญที่เป็นที่ต้องการเสมอ

5. มีความคิดสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรืออย่างน้อยก็ช่วยก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นในองค์กร บางครั้งความคิดสร้งสรค์ก็สามารถช่วยแก้ปัญหาซ้ำซาก ทำให้เกิดวิธีการหรือผลงานใหม่ๆ ขึ้นในองค์กร ดังนั้นความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งของผู้นำที่คนไทยต้องการ

6. มีการทำงานเป็นทีม

โดยลักษณะนิสัยดั้งเดิมของคนไทย มักไม่ค่อยประสบความสำเร็จในการทำงานเป็นทีมนัก แต่เมื่อสังคมมีการพัฒนาขึ้น เราจึงเรียนรู้และมองเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นทีมว่า การให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมรับผิดชอบย่อมให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า การทำงานเป็นทีมของผู้นำจึงเป็นคุณสมบัติที่ต้องการของคนไทยยุคใหม่

7. มีความเป็นผู้นำ

การสื่อความของคำว่า มีความเป็นผู้นำ ในความหมายที่แท้จริง คือ การที่ผู้นำมีภาวะผู้นำ (Leadership) นั่นเอง ดังได้เคยกล่าวแล้วว่า ภาวะผู้นำคือ ศิลปะในการทำให้ผู้ปฏิบัติทำในสิ่งที่ผู้นำต้องการให้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความเต็มใจของผู้ปฏิบัติ ซึ่งผู้นำจะใช้เทคนิค บารมี หรือคุณลักษณะเพื่อการจูงใจอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับผู้นำเอง แต่สรุปแล้วสิ่งที่คนไทยต้องการคือ ผู้นำที่มีความเป็นผู้นำ หรือมีภาวะผู้นำอย่างเต็มเปี่ยมนั่นเอง

8. มีความเสียสละ

มีคำกล่าวเตือนสติผู้นำอยู่เสมอว่า เป็นผู้นำต้องทำงานหนักกว่าผู้อื่น อดทนกว่าผู้อื่น และเสียสละกว่าผู้อื่น ผู้นำที่เห็นแก่ประโยชน์สวนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวมย่อมไม่ได้รับความร่วมมือในการทำงาน ดังนั้น จะหวังผลสำเร็จได้ยาก คนไทยจึงเชื่อว่าคุณสมบัติที่ดีอีกประการหนึ่งของผู้นำคือ เป็นผู้มีความเสียสละ

9. มีการวางแผน

ผู้นำต้องทำงานเป็นระบบ มีการวางแผนการทำงานเป็นขั้นเป็นตอน มีการแบ่งงานกันรับผิดชอบ การทำงานที่มีการวางแผน จะช่วยให้การติดตามงาน การจัดสรรงบประมาณ และการประเมินผลงนชัดเจนเป็นระบบ และถ้ามีปัญหาอุปสรรคใดๆ ก็จะสามารถแก้ไขได้ถูกจุด ทั้งยังใช้เป็นบทเรียน เพื่อป้องการเกิดปัญหาซ้ำชากได้อีกในอนาคต คุณสมบัติของผู้นำที่ทำงานอย่างมีการวางแผน จึงเป็นที่ต้องการของคนไทยอีกประการหนึ่ง

10. มีวุฒิภาวะ

วุฒิ หมายถึงความเจริญงอกงามความบริบูรณ์ ดังนั้น วุฒิภาวะ คือ สภาพหรือสภาวะที่ส่อให้เห็นว่าสมบูรณ์ทุกด้าน ทั้งทางด้านอายุ การศึกษา สติปัญญา จิตใจอารมณ์ และการตัดสินใจ เป็นต้น คนไทยต้องการผู้นำที่มีความสมบูรณ์ดังกล่าว เพราะคาดหวังว่า วุฒิภาวะของผู้นำจะช่วยให้คุณสมบัติข้ออื่นๆ ของผู้นำ โดดเด่นและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

อ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่