ระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ตามตำแหน่งและวิทยฐานะตำแหน่งครู ในการประเมินวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนด
สำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ใช้การวิจัยเป็นฐานดำเนินการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในการประเมินวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กำหนดตลอดจนสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และผลการศึกษาวิจัยของประเทศต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากำหนดเป็นกรอบแนวคิดสำคัญ ในการดำเนินการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเป็นหัวใจสำคัญที่จะยกระดับคุณภาพการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ
จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการให้ตอบสนองต่อนโยบาย รวมถึงหลักการและแนวคิดในเชิงวิชาการ เช่น Back to school Focus on classroom Teacher Performnance Powerful Pedagogies Students Outcomes Teacher as a Key of Success Execute and Learn Apply and Adapt Solve the Problem) รับรู้ปัญหาและสามารถแก้ปัญหาในการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ริเริ่ม พัฒนา (Oiginate and Improve) คิดค้น ปรับเปลี่ยน (Invent and Transform) สร้างการเปลี่ยนแปลง (Create an Impact)สามรถสร้งผลกระทบให้เกิดขึ้น นอกเหนือจากห้องเรียน สามารถสอนให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ (School as an Organization) การจัดระบบการบริหารการจัดการในสถานศึกษาต้องมุ่งเน้นงานหลักของครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา ลดความซ้ำซ้อนการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือนกับการให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะ (มาตรา ๕๔) และการคงวิทยฐานะ (มาตรา ๕๕) เป็นเรื่องเดียวกัน (ใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน) School Professional Community
การจัดทำ PLC เป็นหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นในโรงเรียน ควรกำหนดเป็นตัวชี้วัดของผู้อำนวยการสถานศึกษาด้วย Support System ควรเป็นระบบ Online System เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มการพัฒนาต่าง ๆ ครูต้องได้รับการพัฒนาตรงตามความต้องการจำเป็นอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
ในส่วนของครู สำนักงาน ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ครูที่มีศักยภาพนอกจากจะต้องมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้นตามระดับวิทยฐานะที่คาดหวังแล้ว ยังต้องสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะเต็มตามศักยภาพ จึงได้นำความคิดเห็นของนักวิชาการและผลการวิจัยดังกล่าวมาปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชกรครูและบุคลากรทางกรศึกษา ตำแหน่งครู โดยครูต้องมีการพัฒนาสมรรณนะในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้นตามระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง ตามตำแหน่งและวิทยฐานะ และต้องสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะเต็มตามศักยภาพ เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยได้กำหนดระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูตามภาพประกอบ ดังนี้
ระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะ
- วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ สร้างการเปลี่ยนแปลง (Create an Impact)
- วิทยฐานะเชี่ยวชาญ คิดค้นและปรับเปลี่ยน (Invent and Transform)
- วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ริเริ่มพัฒนา (Originate and Improve)
- วิทยฐานะชำนาญการ แก้ปัญหา (Solve the problem)
- ตำแหน่งที่ไม่มีวิทยฐานะ ปรับประยุกต์ (Apply and Adapt)
ในการทำข้อตกลง (PA) จะต้องทำและแสดงให้เห็นถึง ระดับการปฏิบัติ ที่คาดหวัง และวิทยฐานะด้วย เช่น ปัจจุบัน ดำรงวิทยฐานะ “ชำนาญการ” ในข้อตกลงก็ต้องแสดงให้เห็นถึงการแก้ไขปัญหา (Solve the problem) ดู flowchart ประกอบด้วยนะครับ
แต่พอจะขอเลื่อนวิทยฐานะ เราต้องส่ง แผนการสอน+คลิปการสอน ฯลฯ ตรงนี้ ท่านต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่สูงกว่าปัจจุบัน การปฏิบัติที่สูงกว่า “การแก้ไขปัญหา” ก็คือ “ริเริ่มพัฒนา” (Originate and Improve)
ถ้าปัจจุบัน เป็น “ชำนาญการพิเศษ” ท่านจะขอเลื่อนวิทยฐานะ “เชี่ยวชาญ” ผลงานท่านจะต้องแสดงให้เห็นระดับการปฏิบัติที่คาดหวังเท่ากับระดับที่จะขอ นั่นคือ “คิดค้นและปรับเปลี่ยน” (Invent and Transform) ทั้งแผนการสอน คลิปต่างๆ รวมถึง งานวิจัย
สรุป
- ข้อตกลง PA ทำเท่ากับวิทยฐานะปัจจุบัน
- ผลงาน ซึ่งได้แก่ แผนการสอน คลิปต่างๆ รวมถึงงานวิจัย ต้องทำให้เท่ากับวิทยฐานะที่จะขอ!!!
ถ้าตีโจทย์ตรงนี้ไม่แตก บอกเลยว่าเสียเวลาแน่นอนครับ
เครดิตที่มา https://www.facebook.com/TikkyCMPEO
รายละเอียดเพิ่มเติม : ดาวน์โหลดที่นี่ คู่มือการประเมิน วิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ PA ครบทั้ง 4 ตำแหน่ง ครูผู้สอน ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา – ครูอาชีพดอทคอม (kruachieve.com)
ที่มา : คู่มือการประเมิน วิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์ PA จัดทำโดย สพร.สพฐ