สรุปผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563
Facebook วิษณุ ผอ.สทศ. ได้เปิดเผยสรุปผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 โดยมีข้อสังเกตดังนี้
1. สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ. ได้ดำเนินการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ซึ่งเป็นการประเมินความสามารถพื้นฐานที่สำคัญตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จำนวน 2 ด้าน คือ ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ และความสามารถด้านภาษาไทย
2. กลุ่มเป้าหมายที่ประเมิน คือ ผู้เรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 จากสถานศึกษาสังกัดต่าง ๆ จำนวน 8 สังกัด คือ
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
- สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.)
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
- สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร (กทม.)
- สำนักการศึกษาเมืองพัทยา (พัทยา)
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อปท.)
- กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.)
- โฮมสคูล
จำนวนโรงเรียนรวมทั้งสิ้น 30,252 แห่ง และมีผู้เรียนชั้น ป.3 ที่เข้าสอบ จำนวน 741,554 คน
3. สรุปผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563
3.1 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) จำแนกตามสังกัด
3.1.1 ผลการประเมินความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ระดับประเทศ สรุปได้ว่ามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 40.47
หน่วยงานที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (51.51) รองลงมา คือ โฮมสคูล (43.37) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (41.30) ตามลำดับ
3.1.2 ผลการประเมินความสามารถด้านภาษาไทย ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ระดับประเทศ สรุปได้ว่ามีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 47.46
หน่วยงานที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (56.02) รองลงมาคือ โฮมสคูล (51.96) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (47.76) ตามลำดับ
3.1.3 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนทั้ง 2 ด้าน ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 ระดับประเทศ สรุปได้ว่า มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 43.97
หน่วยงานที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด คือ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (53.76) รองลงมา คือ โฮมสคูล (47.66) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (44.53) ตามลำดับ
3.2 การเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2562 กับปีการศึกษา 2563
3.2.1 ผลการประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2562 กับปีการศึกษา 2563 ภาพรวมระดับประเทศ พบว่า ภาพรวมทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลง (1.73)
เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความสามารถด้านภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น (1.00) ส่วนความสามารถด้านคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลง (4.47)
3.2.2 ผลประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT) ปีการศึกษา 2562 กับปีการศึกษา 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ภาพรวมทั้ง 2 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลง (1.29)
เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสามารถด้านภาษาไทย มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละเพิ่มขึ้น (1.76) ส่วนความสามารถด้านคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละลดลง (4.34)
3.3 จำนวนและร้อยละของนักเรียนจำแนกตามระดับคุณภาพ ปีการศึกษา 2563
3.3.1 จำนวนและร้อยละผู้เรียนจำแนกตามระดับคุณภาพ ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมระดับประเทศ
ผลประเมินในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 40.34) รองลงมา คือ ระดับปรับปรุง (26.79) ระดับดี (23.74) และระดับดีมาก (9.13) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 39.46) รองลงมา คือ ระดับปรับปรุง (32.32) ระดับดี (17.66) และระดับดีมาก (10.56) ตามลำดับ
ส่วนความสามารถด้านภาษาไทย นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (32.80) รองลงมา คือ ระดับดี (29.60) ระดับปรับปรุง (25.54) และระดับดีมาก (12.06) ตามลำดับ
3.3.2 จำนวนและร้อยละผู้เรียนจำแนกตามระดับคุณภาพ ปีการศึกษา 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผลประเมินในภาพรวมทั้ง 2 ด้าน พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (ร้อยละ 43.12) รองลงมา คือ ระดับดี (27.77) ระดับปรับปรุง (18.00) และระดับดีมาก (11.11) ตามลำดับ
เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความสามารถด้านคณิตศาสตร์ นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (41.01) รองลงมา คือ ระดับปรับปรุง (24.99) ระดับดี (20.92) และระดับดีมาก (13.08) ตามลำดับ
ส่วนความสามารถด้านภาษาไทย นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพอยู่ในระดับพอใช้ (34.77) รองลงมา คือ ระดับดี (34.12) ระดับปรับปรุง (17.23) และระดับดีมาก (13.88) ตามลำดับ
ที่มา : Facebook วิษณุ ผอ.สทศ.