สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร
สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร

เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่านครับ

สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร

โลกในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นยุคที่ความรู้และข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ของทุกภูมิภาคของโลกเข้าด้วยกัน ทำให้เกิดเครื่องมือที่หลากหลายในการเข้าถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ทั้งในเชิงวิชาการและในเชิงบันเทิง การพัฒนาเครื่องมือการเข้าถึงเนื้อหาตังกล่าว ส่งผลให้เยาวชนที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินชีวิตและการเรียนในแต่ละวัน ซึ่งแตกต่างไปจากเยาวชนในยุคก่อนอย่างมาก ซึ่งการพัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืนจะต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนในประเทศ ให้เข็มแข็งพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคศตวรรษที่ 21การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของตัวผู้เรียน หากการศึกษายังหลงติดอยู่กับสิ่งเดิมที่เคยใช้ได้ผลในยุคเก่า ย่อมจะส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนไม่สอดคล้องกับโลกที่เป็นจริงทั้งในปัจจุบันและในอนาคตที่จะยิ่งเข้มข้นขึ้น (สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์,2560)

เทคโนโลยีได้มีวิวัฒนาการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย ไปพร้อม ๆ กับวิถีชีวิตของประชาชนเพราะเทคโนโลยีเริ่มมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันแทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 เลยทีเดียว อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ และไม่มีทีท่าว่าจะหยุดเหมือนกับโลกของเราไม่ได้หยุดหมุนแต่เพียงเท่านี้ในระยะเวลาสองทศวรรษที่ผ่านมานี้ เทคโนโลยีได้มีบทบาทในวงการศึกษาของไทยเป็นอย่างมาก ถูกพัฒนา ดัดแปลงและพยายามนำความคิดวิธีการใหม่ ๆ หรือที่เรียกว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” มาใช้เพื่อพัฒนาทำให้ผลลัพธ์ทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้านดีขึ้น โดยนำใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาดัดแปลงโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ศึกษาค้นคว้าและทดลอง เพื่อการออกเผยแพรใช้กลายเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัยนั้นเอง

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอเชิญชวนคุณครูทุกท่าน มาทบทวนความรู้เกี่ยวกับ สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร หรือสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน มีอะไรบ้าง ก่อนเริ่มพัฒนาสื่อการเรียนรู้ หรือนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนต่อไป และสามารถพัฒนาผู้เรียน จัดทำเป็นข้อตกลงในการพัฒนางาน ตามหลักเกณฑ์ วPA ที่ ก.ค.ศ. กำหนดได้อีกด้วย

สื่อการเรียนรู้คืออะไร

สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร
สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร
ตัวอย่าง สื่อนวัตกรรมประถมศึกษา

ความหมายของสื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้ที่มีครูผู้สอนนิยมใช้เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน เพื่อเปลี่ยนแปลง การอ่านหนังสือจากในหนังสือเป็นการอ่านผ่านสื่ออื่น ๆ แทน ดังที่มีนักวิชาการได้กล่าวถึงความหมายของ
สื่อการเรียนรู้ไว้ดังนี้

บงกช บุญจริญ ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่ทำให้การสอนของครูสามารถสื่อความไปถึงผู้เรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ สื่อการเรียนรู้อาจจะเป็นสื่อที่เป็นรูปธรรม เช่น หนังสือ, ภาพถ่าย และสื่อ ที่เป็นนามธรรม เช่น คำพูด และวิธีสอน (บงกช บุญเจริญ, 2553)

เบญจมาศ เหมือนสุทธิวงศ์ ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนรู้คือ สิ่งที่จะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในเนื้อหาที่เรียน ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีจากการเรียนด้วยสื่อการเรียนรู้ ซึ่งองค์ประ กอบที่ทำให้เกิดการเรียนรู้แบ่งเป็น ผู้เรียนที่ใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้ สิ่งเร้า คือสื่อการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการเรียนรู้ และการตอบสนองคือผลตอบรับของนักเรียนที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ (เบญจมาศ เหมือนสุทธิวงศ์, 2554)

พรนภา พุทธสังฆ์ ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนรู้ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นวัตถุ อุปกรณ์ วิธีการและรวมถึงสภาพแวดล้อมที่เป็นแหล่งเรียนรู้ ซึ่งช่วยถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปถึงผู้เรียนก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ต้องการ ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร (พรนภา พุทธสังฆ์, 2555)

ประเสริฐ ลิ้นฤษี ได้กล่าวว่า สื่อการเรียนรู้เป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการสอน เพราะเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้เกิดกรสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (ประเสริฐ
ลิ้นฤๅษี, 2556)

คณวัฒน์ พรสุริยโรจน์ กล่าวว่า สื่อการเรียนรู้เป็นเครื่องมือที่ช่วยครูในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์และตรงตามวัตถุประสงค์ โดยสื่อการเรียนรู้เป็นได้ทั้งแบบรูปธรรม เช่น หนังสือ ภาพถ่าย และสื่อการเรียนรู้ที่เป็นแบบนามธรรม เช่น คำพูด วิธีสอน (คณวัฒน์ พรสุริยโรจน์, 2559)

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า สื่อการเรียนรู้ หมายถึง เครื่องมือที่ช่วยเป็นสื่อกลางให้เกิดการเรียนรู้ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยสื่อการเรียนรู้อาจอยู่ในรูปแบบวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ รวมไปถึงแหล่ง
เรียนรู้ ซึ่งช่วยถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปยังผู้เรียน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมตามที่ต้องการ ผู้เรียนสามารถสร้งองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน

ประเภทของสื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้ที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศจากผู้สอนไปยังผู้เรียน หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนใช้ศึกษาความรู้ด้วยตนเอง นักวิชาการได้จำแนกสื่อการเรียนรู้ตามประเภท ลักษณะ และวิธีการใช้ ดังนี้

โดนัลด์ พี่. อีลี (Donald P. Ely) ได้จำแนกสื่อการเรียนการสอนตามทรัพยากรการเรียนรู้ 5 รูปแบบ โดยแบ่งได้เป็นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อ จุดมุ่งหมายทางการศึกษา (by design) และสื่อที่มีอยู่ทั่วไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียน การสอน (Donald P. Ely, 1972) ได้แก่

1.คน (People) “คน” ในทางการศึกษาโดยตรงนั้น หมายถึง บุคคลที่อยู่ในระบบของโรงเรียน ได้แก่ ครู ผู้บริหาร ผู้แนะนำการศึกษา ผู้ช่วยสอนหรือผู้ที่อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ส่วน “คน” ตามความหมายของการประยุกต์ใช้ ได้แก่ คนที่ทำงานหรือมีความชำนาญงานในแต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมทั่วไป คนเหล่านี้เป็น “ผู้เชี่ยวชาญ” ซึ่งถึงแม้มิใช่นักศึกษาแต่สามารถจะช่วยความสะดวกหรือเชิญมาเป็นวิทยาการ เพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความรู้แต่ละด้าน อาทิเช่น ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ช่างซ่อมเครื่อง

2.วัสดุ (Materials) ในการศึกษาโดยตรงเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียน โดยรูปแบบของวัสดุมิใช่สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เช่น หนังสือ สไลด์ แผนที่ แผ่นซีดี หรือสื่อต่าง ๆ ที่เป็นทรัพยากรในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษา ดังกล่าวเพียงแต่ว่าเนื้อหาที่บรรจุในวัสดุส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง เช่น คอมพิวเตอร์ หรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์ สิ่งเหล่านี้ถูกมองไปในรูปแบบของความบันเทิง แต่สามารถให้ความรู้ในเวลาเดียวกัน

3.อาคารสถานที่ (Settings) หมายถึง ตัวตึก ที่ว่าง สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลเกี่ยวกับทรัพยากรรูปแบบอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วและมีผลกับผู้เรียนด้วย สถานที่สำคัญในการศึกษา ได้แก่ ตึก
เรียนและสถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยรวม เช่น ห้องสมุด หอประชุม ส่วนสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชนก็สามารถประยุกต์ให้เป็นทรัพยากรสื่อสารเรียนการสอน ได้เช่น โรงงาน ตลาดสถานที่ทางประวัติศาสตร์ เช่น พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

4.เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tools and Equipment) เป็นทรัพยากรทางการเรียนรู้เพื่อช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่น ๆ ส่วนมากมักเป็นโสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่นำมาใช้ประกอบหรืออำนวยความสะอาดในการเรียนการสอน เช่น เครื่อง ายข้ามศีรษะคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร หรือแม้แต่ตะปู ไขควง เหล่านี้เป็นต้น

5.กิจกรรม (Activities) โดยทั่วไปแล้วกิจกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนมักจัดขึ้นเพื่อร่วมกระทำทรัพยากรอื่น ๆ หรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน เช่น เกม การสัมมนาการจัดทัศนศึกษา กิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ตั้งขึ้น โดยมีการใช้วัสดุการเรียนเฉพาะแต่ละวิชาหรือวิธีการพิเศษในการเรียนการสอน

สื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพนั้น “ครู” จะต้องสามารถใช้สื่อการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย และเหมาะสม เพื่อให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ฝึกประสบการณ์ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยที่ครูสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง อาจเริ่มจากการตั้งคำถามก่อนนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเป็นการฝึกให้เด็กได้จับใจความสำคัญ หรือแม้แต่การอภิปรายหลังดูวิดีโอจบ ก็ถือเป็นการต่อยอดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีสื่อการเรียนรู้ที่มีการนำเสนอเนื้อหาและบทเรียนที่ซับซ้อนให้เข้าใจและจดจำได้ง่าย สามารถนำมาสร้างกิจกรรมเวิร์กช็อปที่เชื่อมโยงกับบทเรียนให้ครูสามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้ ฝึกคิด แก้ปัญหา และสร้างเนื้องาน เพราะกิจกรรมที่สนุก ครูจะมีการต่อยอดในห้องเรียนได้ดี ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการการเรียนการสอน “ครู”ต้องเข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีเสียก่อนว่า ปัจจุบันโลกของธุรกิจต้องการคนที่มีทักษะ ไม่ใช่คนที่มีความรู้เพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้น ครูต้องเลือกใช้วิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับเด็กให้มากที่สุด (ธานี จันทร์นาง, 2558)

การปฏิรูปการศึกษาที่แท้ควรปฏิรูปกระบวนทัศน์ด้วย ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่นี้ “กระบวนการเรียนรู้สำคัญกว่าความรู้” และ “ครูมิใช่ผู้มอบความรู้” แต่เป็น”ผู้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กและเยาวชน ” เป้าหมายของการเรียนรู้มิใช่ตัวความรู้อีกต่อไป เพราะตัวความรู้นั้นมีมายมายมหาศาลเกินกว่าที่จะมอบให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้อีกทั้งนักเรียนในศตวรรษใหม่มีหนทางคันหาความรู้ด้วยตนเองจากทุกหนแห่งทั้งในสิ่งแวดล้อมและอินเทอร์เน็ต หากการศึกษาไทยยังย่ำอยู่กับกระบวนทัศน์เดิม คือมอบความรู้เป็นรายวิชาก็จะไม่ทันสถานการณ์โลก ที่ควรทำคือมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้โฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้อะไรบ้างขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน แต่ที่ทุกคนควรมีคือความสามารถในการเรียนรู้ตลอดเวลา ตลอดชีวิตและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์, 2562)

สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร

กระบวนการผลิตสื่อการเรียนรู้

สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร

การผลิตสื่อการเรียนรู้แต่ละประเภทอาจมีขั้นตอนวิธีผลิตที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไป ในที่นี้จะนำเสนอกระบวนการผลิตสื่อการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้กับการผลิต
สื่อการเรียนรู้ทั่วๆ ไป ซึ่งมีกระบวนการตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.กำหนดวัตถุประสงค์ทั่วไปของการผลิตสื่อ

  1. ศึกษาและกำหนดคุณสมบัติของผู้เรียน โดยพิจารณาว่าผู้ที่จะใช้สื่อนั้นคือใคร มีความรู้และประสบการณ์เดิมมาอย่างไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดคุณสมบัติส่วน
    อื่นๆ ของสื่อให้เหมาะสมต่อไป
  2. กำหนดและวิเดราะห์เนื้อหาสาระว่าจะต้องประกอบด้วยเนื้อหาสาระอะไรบ้าง ทั้งนี้ควรจะต้องพิจารณากำหนดเนื้อหาสาระให้สัมพันธ์กับจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ และให้เหมาะสมกับ
  3. กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม โดยการตีความและจำแนกแยกย่อยจุดประสงค์ทั่วไปให้ละเอียดลงไปถึงขั้นที่ทราบได้ว่า เมื่อผู้เรียนเรียนรู้จากสื่อนั้นแล้วสามารถทำอะไรได้บ้าง
    ซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนต่อไป
  4. กำหนดรูปแบบและวิธีประเมินผลผู้เรียนด้วย
สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร
  1. กำหนดวิธีการและแนวทางการเสนอเนื้อหา เป็นการวางแผนว่าจะเสนอเนื้อหาสาระในรูปแบบใด เรียงลำดับหัวข้อและเนื้อหาอย่างไร มีตัวอย่าง มีการนำเรื่อง สรุปเรื่อง หรือ
    ทบทวนเรื่องอย่างไร ควรมีแบบฝึกหัดหรือกิจกรรมแทรกอยู่ด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
  2. ทำหนดแหล่งข้อมูลที่สนับสนุนการจัดทำสื่อการเรียนรู้ ไม่ว่าจะผลิตสื่อการเรียนรู้ชนิดใด อาจจะเป็นสิ่งพิมพ์หรือสื่อเทคโนโลยี ผู้ผลิตจะต้องกำหนดว่าจะหาข้อมูลสนับสนุนได้
    จากแหล่งใด เช่น แหล่งคันคว้าเกี่ยวกับเนื้อหา ภาพประกอบ แผนภูมิ เป็นตัน
  3. ยกร่างและจัดทำสื่อการเรียนรู้ตามรูปแบบ และวิธีการที่กำหนดไว้
  4. ทดสอบคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้น โดยนำสื่อตันแบบไปทดลองใช้กับกลุ่มบุคคลที่เป็นตัวแทนของผู้เรียนที่จะต้องไช้สื่อนั้น ใช้สื่อตันแบบนี้จัดการเรียนการสอนจริงๆ เพื่อศึกษาข้อบกพร่องต่าง ๆ สำหรับนำมาเป็นข้อมูลในการปรับปรุงสื่อให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
  5. ปรับปรุงสื่อการเรียนรู้ตามข้อมูลที่ได้ศึกษาไว้
  6. นำสื่อที่ปรับปรุงแก้ไขสมบูรณ์แล้วไปใช้
    (กรมวิชาการ, 2544, หน้า 38-39)

นวัตกรรมการเรียนรู้คืออะไร

สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร
สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร

ความหมายของนวัตกรรม

ในหนังสือประมวลศัพท์บัญญัติวิชาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการได้บัญญัติคำว่า นวัตกรรม ไว้ว่ามีรากศัพท์มาจากาภาษาลาตินว่า Innovare แปลว่า to renew หรือ to modify และในภาษาบาลีและสันสฤต ดังนี้ นว + อตต (บาลี) – ใหม่ + กรม์ (สันสฤต) คือการกระทำปฏิบัติ ความคิด เมื่อนำมารวมกันจะหมายถึงความคิดหรือการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ (ปรัชญา ใจสะอาด,2534)

เมื่อนำคำว่า นวัตกรรมและการศึกษามารวมกันจะได้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) ซึ่งหมายถึงการนำเอาความคิดหรือวิธีปฏิบัติใหม่ ๆ มาใช้กับการศึกษาความหมายของนวัตกรรมได้มีผู้นิยามไว้ในด้านต่างมากมายหลายความหมาย ดังตัวอย่างเช่น มอร์ตัน (Morton, 1971) ให้นิยามของคำว่านวัตกรรมไว้ว่า คือการทำใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) หรือที่เรียกว่า การปรับปรุงของเก่าที่มีอยู่แล้วให้เป็นของใหม่แล้วเพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ นวัตกรรมไม่ใช่การเอาของเก่าทิ้งให้หมด แต่เป็นการปรับปรุงให้มีศักยภาพมากขึ้น

ไชยยศ เรื่องสุวรรณ (2533) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึงวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม โดยอาจจะได้มาจากการคิดคันวิธีการใหม่ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าที่มีอยู่แล้ว และได้รับการทดลองพัฒนาจนเป็นที่ชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพบุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) กล่าวว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ ๆ อาจอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีเดิมอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

จากความหมายของนวัตกรรมที่กล่าวมา สามารถจะนำมาสรุปความหมายของคำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา” ได้ว่า เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา โดยมีจุดประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยอาศัยหลักการทฤษฎีที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นวัตกรรมเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี ขยายก็คือ ก่อนเป็นเทคโนโลยีได้นั้นต้องเป็นนวัตกรรมมาก่อนนั้นเอง ถ้าเปรียบเทียบแล้วก็เหมือนกับต้นกล้าที่จะเจริญเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ ซึ่งเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีถ้าต้นกล้าไม่เกิดต้นไม้ใหญ่ก็จะไม่เกิด ถ้านวัตกรรมไม่เกิดเทคโนโลยีก็จะไม่เกิดเช่นกัน

คุณสมบัติของนวัตกรรม

การที่จะพิจารณาว่า วิธีการ หลักปฏิบัติ แนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์เหล่านั้น เป็นนวัตกรรมหรือไม่ มี เกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ชัยยงค์ พรหมวงศ์. 2526; ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2533)

  1. สิ่งนั้นต้องแปลกใหม่จากของเดิมที่มีอยู่ อาจจะใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
  2. มีการทดลองใช้ ปรับปรุง และวิจัย เพื่อเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่สร้างขึ้นมานั้นมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าของเดิม
  3. ในการประดิษฐ์หรือคิดค้นต้องอาศัยหลักการ System Approach เพื่อเป็นการยืนยันการสร้างได้อย่างมีมาตรฐาน
  4. สิ่งนั้นยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย หรือยังอยู่ในขั้นตอนทดลองใช้งานถ้าวิธีการ หลักปฏิบัติ แนวคิดและสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นนวัตกรรมใช้งานได้ดีจนได้รับการยอมรับ และมีการใช้งานอย่างแพร่หลาย หรือมีการนำไปใช้ในจริง คำว่านวัตกรรมจะกลายเป็นคำว่าเทคโนโลยีนั้นเอง
สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ คืออะไร

ข้อสำคัญที่จะบอกได้ว่านวัตกรรมนั้นใช้ได้จริงและเป็นที่ยอมรับ

เมื่อมีการนำนวัตกรรมทางการศึกษามาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน มีลำดับขั้นการบูรณาการนวัตกรรมทั้งสิ้น 5 ลำดับ (Sandholtz, Ringstaff, and Dwyer, 1997 อ้างอิงใน Bitter, and Pierson,2002) ที่ผู้ใช้มีพัฒนาการในการยอมรับและนำนวัตกรรมนั้นมาใช้

  1. ขั้นเริ่มทดลอง (Entry stage) เป็นชั้นแรกที่ผู้สอนได้นับการแนะนำให้รู้จักและใช้นวัตกรรม ในขั้นนี้ผู้สอนอาจจะมีอุปสรรคในการใช้นวัตกรรม เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ได้ลองใช้ ผู้สอนอาจเกิดการต่อต้านเพราะไม่มีความสามรถอย่างเพียงพอในการใช้นวัตกรมนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจเป็นเพราะปัญหาด้านวิธีการใช้งาน เป็นผลให้คนบางคนอาจเกิดความกลัวและเลิกใช้งานไปในที่สุด
  2. ชั้นนำมาใช้งาน (Adoption stage) ผู้สอนจะเริ่มคุ้นเคยเพราะผ่านขั้นตอนแรกมาได้แล้ว ในขั้นตอนนี้ผู้สอนจะเริ่มมีทัศคติที่ดีต่อนวัตกรรม จนกล้าที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนและเรียนรู้จากความผิดพลาดบางประการที่อาจเกิดขึ้นเพื่อพยายามแก้ไขให้ข้อเสียในนวัตกรรมนั้น ๆ
  3. ขั้นปรับให้เหมาะสม (Adaptation stage) ในขั้นนี้ผู้สอนใช้นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเริ่มพัฒนาตนเอง เพื่อปรับปรุงนวัตกรรมนั้นให้เหมาะสมกับเนื้อหาของบทเรียนและวิธีการการเรียนการสอนของวิชาที่ตนเองสอนเมื่อผู้สอน
  4. ขั้นจัดสรรอย่างเหมาะสม (Appropriation stage) เป็นขั้นที่ผู้สอนบริหารจัดการงานนวัตกรรมนั้นให้เหมาะสมกับการทำงานประจำวันและเริ่มปรับใช้การเรียนการสอนทั้งในวิชาและระหว่างวิชา รวมถึงเริ่มรับเทคโนโลยีใหม่อื่น ๆ เข้ามาใช้ในวิชาที่ตนเองสอน
  5. ขั้นประดิษฐกรรม (Invention stage) ในชั้นนี้ไม่เพียงผู้สอนจะยอมรับนวัตกรรมนั้น ผู้สอนยังสามารถนำนวัตกรรมนั้นไปเผยแพรให้ผู้อื่นหรือร่วมสื่อสารใช้งานกับผู้สอนคนอื่น ๆ ในขั้นสุดท้ายนี้ผู้สอนจะพัฒนานวัตกรรมที่ตนเองใช้อยู่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ รวมไปถึงการที่จะก้าวไปสู่ที่ปรึกษาทางวิชาการให้ผู้อื่นได้ด้วย

นวัตกรรมทางการศึกษา ตัวอย่าง

นวัตกรรมการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา 6 นวัตกรรม

1.หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย
2.การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนแผนจัดประสบการณ์
4.การเรียนแบบ มิติมิเดีย วิชา ชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
5.การใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ในการสอน
6.บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต วิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมที่ 1 : หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย

ประเภท สื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อดึงดูดความสนใจในการอ่านภาษาไทย
2.เพื่อสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินในการอ่าน
3.เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์จินตนาการให้มากขึ้น
4.เพื่อเป็นสื่อในการฝึกทักษะในการอ่าน
5.เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านและรู้จักการมีส่วนร่วมในกิจกรรม และส่งผลให้เกิดความพร้อมในการเรียน
6.เพื่อให้นักเรียนได้สื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ลักษณะ
หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรีนี้จะเป็นแบบ มีเนื้อหาน้อย สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย มีการบรรยายโดยใช้ภาพการ์ตูน และที่สำคัญเวลาเปิดไปหน้าต่อไปจะมีเสียงดนตรี เช่น เรียนเรื่อง สัตว์ ก็จะมีเสียงสัตว์ต่างๆในหนังสือการ์ตูน เป็นต้น

ความคิดเห็น
หนังสือการ์ตูนประกอบการเรียน กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่อง “บุคคลสำคัญ”เป็นการนำการ์ตูนที่เด็กๆชอบมาประกอบการสอน จึงทำให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนมาก สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ มีอารมณ์ร่วมในการเรียน จึงทำให้เด็กเรียนรู้มากกว่าเดิมและสนใจที่จะเรียนในเรื่องต่อไป

แหล่งอ้างอิง
เพชรจันทร์ ภูทะวัง,วิทยานิพนธ์ เรื่อง การสร้างหนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี สำหรับส่งเสริมการอ่านภาษาไทย, ๒๕๔๗

นวัตกรรมที่ 2 : การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL

วัตถุประสงค์
1.ผู้เรียนสามารคิดแก้ปัญหาได้คิดอย่างวิจารณญาณ
2.ใช้ภาษาในการสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลักษณะ

แหล่งเรียนรู้ในที่นี้อาจเป็นแหล่งสารสนเทศใดๆ ที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน เช่น ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ หน่วยงานและองค์กรต่างๆ และบุคคลที่เป็นผู้รู้ในเรื่องนั้นๆ โดยที่สารสนเทศอาจบันทึกอยู่ในรูปหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุ และ อินเทอร์เน็ต สำหรับในปัจจุบันสารสนเทศบนเว็บนับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและทันสมัย เข้าถึงได้ง่ายและสะดวก

ความคิดเห็น
กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการวิเคราะห์ จากการแก้ปัญหาการ ที่ได้ประสบ จากการเรียนที่ต้องค้นคว้าด้วยตนเอง และผู้เรียนจะมีความเชื่อมั่นและกล้าแสดงออกเนื่องจากการเรียนด้วยวิธี RBL ผู้เรียนจะต้องพึ่งพาตนเองสูง

แหล่งอ้างอิง
vdo.kku.ac.th/mediacenter/library/document/view-document.php?library_id=1311&lang=en&pid=922

นวัตกรรมที่ 3 : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเขียนแผนจัดประสบการณ์

วัตถุประสงค์
1.ผู้เรียนสามารถบอกการเตรียมตัวก่อนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้
2.ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ได้

ลักษณะ
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสร้างขึ้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าโดยมีการบรรจุเนื้อหา ชุดคำถาม พร้องเฉลยคำตอบเรื่อง การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่นและได้รับพัฒนาการทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา อย่างเหมาะสมสามารถนำไปปฎิบัติ จริงได้

ความคิดเห็น
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์มีคุณสมบัติที่มีเนื้อหา ภาพ เสียง ภาพเครื่อนไหวรวมอยู่ด้วยกัน ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์น่าสนใจ ผู้เรียนเรียนด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลินไม่น่าเบื่อ

แหล่งอ้างอิง
นายเสนีย์ โกสิยวัฒน์.วิทยานิพนธ์เรื่องการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการเขียนแผนการจัดการประสบการณ์สำหรับครูผู้สอนปฐมวัยศึกษา .มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2547.

นวัตกรรมที่ 4 : การเรียนแบบมัลติมีเดีย วิชา ชีววิทยาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

วัตถุประสงค์

1.เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้แบบมัลติมีเดียวิชาชีววิทยา ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด

2.เพื่อศึกษาการใช้ฐานข้อมูล การเรียนรู้แบบมัลติมีเดียวิชาชีววิทยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในด้านสมรรถภาพด้านทักษะในการสื่อสาร

ลักษณะ

1.มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ช่วยในการเรียนการสอนปฏิบัติการชีววิทยา อันเป็นการเร้าความสนใจ สะดวก ประหยัดเวลา สามารถศึกษาค้นคว้าไว้ตามความสามารถและศักยภาพอย่างไม่จำกัด จะช่วยให้ การเรียนการสอนชีววิทยามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.การกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนการสอนวิชาชีววิทยามากขึ้น เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศการสอนในห้องเรียนปกติซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ในทางที่ดีขึ้นทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

3.เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนเป็นหลัก สร้างความสามารถให้ผู้เรียนได้เรียนตามศักยภาพของตนเองแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองทำให้เกิดเจตคติของการเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.สามารถใช้เรียนเสริมหรือซ่อมเสริมได้ด้วยตนเองเมื่อต้องการ

5.เป็นการใช้เทคโนโลยีสื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มคุณภาพในการเรียนการสอนนักเรียนจำนวนมากๆได้

ความคิดเห็น
ไม่ใช่เพียงวิชาชีววิทยาเท่านั้นที่สามารถใช้ฐานข้อมูลการเรียนรู้แบบมัลติมีเดีย แต่ทุกสาขาวิชาสามารถพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ โดยการใช้เทคโนโลยีสื่อการศึกษานี้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการเรียนการสอนนักเรียนทั้งกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ทาง schoolnet ได้ และสามารถให้นักเรียนใช้เรียนเสริมหรือซ่อมเสริมได้ด้วยตนเองเมื่อต้องการ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนในการสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อ

แหล่งอ้างอิง
รายงานการวิจัย การพัฒนานวัตกรรมการเรียนแบบมัลติมีเดียวิชาชีววิทยา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ดร.ชาตรี เกิดธรรม พ.ศ 2542

นวัตกรรมที่ 5 : การใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ในการสอน

วัตถุประสงค์

เพื่อให้นักเรียนมีความสามารถในการใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ ในการหาคำราชาศัพท์

เพื่อให้นักเรียนมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์

ลักษณะ
เป็นการใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์ให้กับนักเรียนและให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดท้ายบทเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์

ความคิดเห็น
เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนมากขึ้นและเสริมสร้างทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพ

แหล่งอ้างอิง
วิทยานิพนธ์เรื่อง การใช้เกมส์คอมพิวเตอร์ในการสอนซ่อมเสริมเรื่องคำราชาศัพท์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ.2538

นวัตกรรมที่ 6 : บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา

ประเภท นวัตกรรมสื่อการสอนออนไลน์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา
  2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลักษณะ เป็นการเรียนรู้โดยผ่านเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับโลกยุคนี้ซึ่ง e-Learning นี้ก็จะเป็นเส้นทาง หนึ่งที่ช่วยพัฒนาแต่ละประเทศให้สามารถเข้าสู่สังคมเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ดั้งนั้นสังคมเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีการศึกษาในหลายๆรูปแบบถูกนำมา ใช้ในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นทั้งนี้ก็เพื่อจะเป็นการเตรียมความพร้อม ทรัพยากร มนุษย์ ให้พร้อมที่จะเข้าสู่สังคมต่อไปซึ่งเป็นยุคเทคโนโลยี

ความคิดเห็น

  • ให้แรงจูงใจแก่ผู้เรียน
  • บอกผู้เรียนให้ทราบว่าเขาจะเรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง
  • การเชื่อมโยงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่
  • นำเสนอเนื้อหาใหม่
  • การให้ข้อเสนอแนะ และข้อมูลตอบกลับ

แหล่งอ้างอิง
ห้องสมุดงานวิจัยสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ

เอกสารอ้างอิง

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่