ก.ค.ศ. แจงเกณฑ์อัตรากำลัง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัด สพฐ.
ว23/2563 เกณฑ์อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ล่าสุด เว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ชี้แจงอัตรากำลัง ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัด สพฐ.ผ่าน สถานี ก.ค.ศ. ดังนี้
สวัสดีข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้อ่านทุกท่าน วันนี้สํานักงาน ก.ค.ศ. มีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับการบริหารงาน บุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามานําเสนอ ซึ่ง ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 ได้มีมติ “อนุมัติเกณฑ์อัตรากําลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ซึ่งเหตุผลในการปรับเกณฑ์ในครั้งนี้ เนื่องมาจากเกณฑ์เดิมใช้มาตั้งแต่ปี 2545 รวมระยะเวลากว่า 18 ปี โดยเกณฑ์เดิมจะพิจารณา เพียงสัดส่วนของครูต่อนักเรียน และจํานวนห้องเรียนเท่านั้น จึงไม่สอดคล้องกับบริบทการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบกับโครงสร้างประชากรวัยเรียนลดลง ทําให้โรงเรียนขนาดเล็กมีจํานวนมากขึ้น อัตรากําลังในสถานศึกษาไม่เพียงพอ ต่อการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพ ทําให้เกิดความเหลื่อมล้ำกับโรงเรียนขนาดเล็ก จึงจําเป็นต้องปรับเกณฑ์อัตรากําลังใหม่ ที่คํานึงถึงมิติเชิงปริมาณและมิติเชิงคุณภาพ โดยนําภาระงานของครูมาเป็นปัจจัยในการกําหนดอัตรากําลัง ทั้งชั่วโมงเรียนและ ชั่วโมงสอน รวมทั้งกําหนดให้โรงเรียนขนาดเล็กมีครูขั้นต่ำ 1- 4 คน นอกจากนี้ยังกําหนดให้มีบุคลากรสนับสนุนการศึกษา เพื่อลดภาระงานธุรการของครู เป็นการคืนครูสู่ห้องเรียน โดยเกณฑ์อัตรากําลังใหม่มีสาระสําคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กําหนดให้มีผู้อํานวยการสถานศึกษาในโรงเรียนทุกแห่ง
ยกเว้น โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ปกติที่มีนักเรียน 1 – 40 คน และกําหนดให้มี รองผู้อํานวยการสถานศึกษาในโรบเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป (เดิมกําหนดให้มีรองผู้อํานวยการโรงเรียนในโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 360 คนขึ้นไป) ซึ่งจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษา และการจัดการเรียนการสอนให้สูงขึ้นและเป็นการสร้างความก้าวหน้าในวิชาชีพ ให้แก่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2.กําหนดให้โรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนจํานวน 1- 40 คน มีครูผู้สอนจํานวน 1- 4 คน นักเรียนจํานวน 41- 80 คน มีครูผู้สอนจํานวน 6 คน และนักเรียนจํานวน 81-119 คน มีครูผู้สอนจํานวน 8 คน
(เดิมกําหนดครูผู้สอนขั้นต่ำสุดจํานวน 1 คน และสูงสุดจํานวน 6 คน) ซึ่งการกําหนดครูผู้สอนขั้นต่ำจํานวน 1- 4 คนนี้ เพื่อให้โรงเรียนขนาดเล็กสามารถจัดการเรียนการสอนตามสาขาวิชาเอก ที่จําเป็น ได้แก่ ครูประถมศึกษา ครูภาษาไทย ครูคณิตศาสตร์ และครูปฐมวัยหรือครูภาษาอังกฤษ สอดคล้องกับ การจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐาน ที่เน้นให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้หนังสือ (Literacy) สามารถอ่านออก เขียนได้ มีทักษะในการคิดคํานวณ (Numeracy) ซึ่งจะส่งผลให้คุณภาพการศึกษาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ โรงเรียนขนาดเล็กสูงขึ้น และสําหรับโรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 120 คนขึ้นไป การกําหนดครูผู้สอนให้ใช้สูตรในการ คํานวณ โดยนําจํานวนห้องเรียนแต่ละระดับการศึกษา คูณชั่วโมงเรียนตามหลักสูตรต่อสัปดาห์ หารด้วยชั่วโมง การปฏิบัติงานของครู 1 คนต่อสัปดาห์ (20 ชั่วโมง)
3.กําหนดให้โรงเรียนทุกแห่งมีบุคลากรสนับสนุนการศึกษา
ซึ่งจะเป็นการลดภาระงานธุรการของครู และคืนครูสู่ห้องเรียน เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนําไปสู่คุณภาพ ของผู้เรียนอย่างแท้จริง รวมทั้งกําหนดให้มีบุคลากรสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียนที่มีเด็กพิการมาเรียนรวม เพื่อช่วยสนับสนุนการสอนและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการจัด การเรียนการสอนเช่นเดียวกับเด็กปกติ เป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
สํานักงาน ก.ค.ศ. มุ่งหวังให้การปรับเกณฑ์อัตรากําลังใหม่นี้นําไปสู่การปรับปรุษพัฒนาที่สําคัญ คือ โรงเรียนขนาดเล็กจะมีครูครบชั้นเรียน ครบวิชา การเกลี่ยอัตรากําลังจากโรงเรียนขนาดใหญ่ไปสู่โรงเรียน ขนาดเล็กจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น การบรรจุและการย้ายจะเป็นไปตามวิชาเอกที่โรงเรียนต้องการและจะ เชื่อมโยงไปสู่แผuการผลิตครูในอนาคตของสถาบันฝ่ายพลิต สามารถตอบโจทย์สมรรถนะทางการศึกษา ทั้งด้านการบริหารสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งจะช่วยยกระดับคุณภาพโรงเรียน ขนาดเล็กให้สูงขึ้นลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษา
สํานักงาน ก.ค.ศ.
25 ธันวาคม 2563
ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์สำนักงาน ก.ค.ศ.