เคล็ดไม่ลับ 3 ผ่านกับการประเมินเกณฑ์ PA
เคล็ดไม่ลับ 3 ผ่านกับการประเมินเกณฑ์ PA

ถอดความรู้ Workshop “เคล็ดไม่ลับ 3 ผ่านกับการประเมินเกณฑ์ PA” โดยวิทยากรในนาม ก.ค.ศ. นายตะวัน แสงทอง รองผู้อำนวยการโรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา จ.กาญจนบุรี และนายจักรกฤช เลื่อนกฐิน ครูโรงเรียนบางละมุง จ.ชลบุรี

เคล็ดไม่ลับ 3 ผ่านกับการประเมินเกณฑ์ PA
เคล็ดไม่ลับ 3 ผ่านกับการประเมินเกณฑ์ PA 4

5 เคล็ดลับนำไปปรับใช้เพื่อการยื่น PA
เคล็ดลับที่ 1 : รู้หลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมิน
เคล็ดลับที่ 2: รู้เกณฑ์การตัดสินทั้ง 3 ด้าน
เคล็ดลับที่ 3 : วิเคราะห์แผนและการเรียนรู้ 8 ตัวชี้วัดอย่างละเอียด
เคล็ดลับที่ 4: กลยุทธ์ในการทำแผนให้ปัง
เคล็ดลับที่ 5: ให้ความสำคัญกับการตอบโจทย์ระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง

เคล็ดไม่ลับ 3 ผ่านกับการประเมินเกณฑ์ PA 5

เคล็ดลับที่ 1 : รู้หลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้ขอรับการประเมิน

1.มีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะไม่น้อยกว่า 4 ปีติดต่อกัน

Tips : ไม่ต้องรอให้ครบรอบปีแล้วทำ คุณครูสามารถทำคลิปล่วงหน้าไปก่อนได้เลย แล้วค่อยนำมาส่งแต่ขออยู่ในช่วง 4 ปี และสามารถใช้คลิปจากโรงเรียนเก่า (ก่อนที่ย้ายโรงเรียน) ก็สามารถทำได้

2.มีการพัฒนางานตามข้อตกลง ย้อนหลัง 3 รอบการประเมินโดยแต่ละรอบ มีภาระงานตามที่ก.ค.ศ. กำหนด และมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

Tips: ยังสามารถยื่นแบบผสมได้ ก่อน 30 กันยายน 67 หากใครมีว.21

3.มีวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 4 ปี

Tips : ห้ามถูกลงโทษทางวินัย เพราะอาจจะเสียเวลาได้

เคล็ดลับที่ 2: รู้เกณฑ์การตัดสินทั้ง 3 ด้าน

– ด้านที่ 1 : ด้านการจัดการเรียนรู้ คุณครูต้องเข้าใจ 8 ตัวชี้วัด และจัดการเรียนการสอนตามวิทยฐานะที่เราต้องการ โดยมีผลงานที่ครูจะต้องส่ง ได้แก่

1) แผนการจัดการเรียนรู้ (ไม่ระบุจำนวนหน้า)

2) คลิปวิดีโอ จำนวน 2 คลิป ได้แก่

คลิปที่ 1 = คลิปการสอน (ความยาวไม่เกิน 60 นาที)

– เห็นกระดาน/ เห็นตัวผู้สอน/ เห็นตัวผู้เรียน

– ห้ามใส่เสียง ห้ามเร่งภาพให้เร็วขึ้น ห้ามตัดต่อ ไม่ต้องเช็กชื่อเพื่อเป็นการรักษาเวลา

– บันทึกเป็นไฟล์ MP4

คลิปที่ 2 = คลิปแรงบันดาลใจ

– บ่งบอกปัญหาของนักเรียน/บอกสถานการณ์ของโรงเรียน เพื่อให้กรรมการทราบบริบทของโรงเรียน

– แทรกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวได้

– ตัดต่อวิดีโอได้

– ห้ามมีเสียงดนตรีประกอบ ห้ามมีตัวหนังสือบรรยาใต้ภาพ

*หมายเหตุ คลิปที่ 2 แนะนำให้ทำหลังจากถ่ายคลิปวิดีโอที่ 1 เสร็จแล้ว เพื่อความเชื่อมโยงกันของเนื้อหา

– ด้านที่ 2 : ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน คุณครูต้องจดจำเกณฑ์การให้คะแนน ดังต่อไปนี้

– 10 คะแนน คลิปผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (สามารถตัดต่อได้) ต้องส่งมากกว่าร้อยละ 75% ของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เด็ก 30 ส่งผลงานเด็กอย่างน้อย 28 คน / ผลงานต้องสอดคล้องผลการเรียนรู้ในแผน

– 10 คะแนน ไฟล์รูปภาพ ใบงาน กิจกรรมของนักเรียน และเพิ่มร่องรอยในการตรวจของคุณครู ไม่

เกิน 6 รูป

– 10 คะแนน ไฟล์ PDF ที่วัดจุดประสงค์การเรียนรู้ไม่ควรเกิน 10 หน้า

ด้านที่ 3: ผลงานทางวิชาการ

เคล็ดลับที่ 3 : วิเคราะห์แผนและการเรียนรู้ 8 ตัวชี้วัดอย่างละเอียด

ให้คุณครูวิเคราะห์ 8 ตัวชี้วัดจากในแผนการเรียนรู้ และเขียนพฤติกรรมบ่งชี้ที่อยู่ในแผน

ตัวชี้วัดที่ 1 : ผู้เรียนสามารถเข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน

ตัวชี้วัดที่ 2 : ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่

ตัวชี้วัดที่ 3 : ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 4 : ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 5 : ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 6 : ผู้เรียนได้รับการสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้

ตัวชี้วัดที่ 7 : ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม

ตัวชี้วัดที่ 8: ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง

เคล็ดลับที่ 4: กลยุทธ์ในการทำแผนให้ปัง

  1. แผนการจัดการเรียนรู้ต้องสามารถทำให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กัน (Active Learning)
  2. แผนการจัดการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับบริบทของนักเรียน และชีวิตประจำวันของนักเรียน
  3. แผนการจัดการเรียนรู้ต้องให้โจทย์นักเรียนที่แตกต่างกัน
เคล็ดไม่ลับ 3 ผ่านกับการประเมินเกณฑ์ PA 6

เคล็ดลับที่ 5: ให้ความสำคัญกับการตอบโจทย์ระดับการปฏิบัติที่คาดหวัง

  1. การแก้ปัญหา (ชำนาญการ) – ไม่ใช่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระหว่างการสอน
  2. การริเริ่มใช้วิธีการใหม่ๆ (ชำนาญการพิเศษ)
  3. การคิดค้นและปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ๆ (เชี่ยวชาญ)
  4. การแสดงให้เห็นถึงนวัตกรรม (เชี่ยวชาญพิเศษ)

ส่วนใน PA มาจากการบันทึกหลังการสอน (ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งข้อ 4)

*การสอนด้านที่ 1 และด้านที่ 2 มีความสอดคล้องกัน

ทั้ง 5 เคล็ดลับนี้ วิทยากรทั้งสองท่านได้มีความหวังว่าจะช่วยให้คุณครูที่เข้าร่วมกิจกรรม ประมาณ 70 กว่าท่านได้เข้าใจเบื้องต้นและสามารถนำไปปรับใช้เพื่อการยื่น PA ของตนเองได้ในลำดับต่อไป

มาเรียนรู้ และทบทวนบทเรียน ได้แล้วที่นี่ : https://bit.ly/4762q6v

ขอบคุณที่มา : Kru Tony English – English and Inspiration | FutureEd Fest | ติดบูทส์ไอเดีย เติมเครื่องมือ ขยายขีดจํากัดของการเรียนรู้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่