แนวทางการดำเนินงาน อาหารกลางวันและนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
แนวทางการดำเนินงาน อาหารกลางวันและนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

แนวทางการดำเนินงาน อาหารกลางวันและนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

จาก การประชุม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ทั่วประเทศ ครั้งที่ 4/2565 วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้สรุป แนวทาง การดำเนินงาน อาหารกลางวันและ นมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ไว้ เพื่อเป็นแนวให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ชี้แจง การดำเนินงาน อาหารกลางวัน และนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ให้แก่ โรงเรียนในสังกัดได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติ ดังนี้

1. กรณีเปิดภาคเรียนนักเรียนมาโรงเรียนปกติ

– โรงเรียนจัดอาหารกลางวันให้นักเรียนตามปกติ

2. กรณีจัดการเรียนการสอน Online การสลับวันมาเรียน หรือรูปแบบอื่น ๆ

– ให้จ่ายคำอาหารกลางวันให้นักเรียน (21 บาท/คน/วัน) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยให้เบิกจ่ายเดือนละ 1 ครั้ง และนับตามจำนวนวันที่เป็นวันเปิดเรียนแต่นักเรียน
ไม่สามารถมาเรียนไต้ ตามมติ ครม. วันที่ 19 พ.ค. 2563

– ให้ปฏิบัติตามแนวการเบิกจ่ายที่ สพฐ. กำหนด คือตั้งกรรมการเบิกจ่าย อย่างน้อย 2 คน (ครูประจำขั้นและครูการเงิน รร.)
– ให้มีการลงชื่อรับเงิน (นักเรียน/ผู้ปกครอง)
– ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของนักเรียน
– จัดเก็บหลักฐานการจ่ายเงินเพื่อการตรวจสอบของหน่วยงาน

แนวทางการดำเนินงาน อาหารกลางวันและนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
แนวทางการดำเนินงาน อาหารกลางวันและนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

มติคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวขน เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2564 ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับสิทธิการจำหน่าย
นมโรงเรียน ส่งนมได้ทั้ง 2 ประเภท ตามที่ได้ตกลงกับหน่วยจัดซื้อและโรงเรียน โดยดำเนินการ ดังนี้

1. กรณีเปิดภาคเรียนนักเรียนมาโรงเรียนปกติ

– ดำเนินการโครงการอาหารเสริม(นม) ตามปกติ

2.กรณีกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

1) ชนิด UHT (นมกล่อง) หรือ นมต้องมีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 4 เดือน นับจากวันที่จัดส่ง

2) ชนิดพาสเจอไรส์ (นมถุง) กรณีที่คู่สัญญาได้ตกลงกับหน่วยจัดซื้อและโรงเรียน ตามเงื่อนไขที่กำหนด คือ

การดำเนินการจัดส่ง ดังนี้

2.1 คุณภาพน้ำนม

2.2 การเก็บรักษาคุณภาพน้ำนม (อุณหภูมิไม่เกิน ๔°C)

2.3 การควบคุมป้องกันโรคในการบริหารจัดการส่งนมโรงเรียนให้ยึดตามมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัส
โคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

แนวทางการดำเนินงาน อาหารกลางวันและนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
แนวทางการดำเนินงาน อาหารกลางวันและนมโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

หมายเหตุ : สพฐ. มีหนังสือแจ้ง สพป. ทุกเขต ตามหนังสือ สพฐ. ด่วนที่สุดที่ ศธ ๐๔๑๘๘/ว๑๒ ลว. ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๔

ขอบคุณที่มา : สพฐ.

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่