Intrend ให้แบบไม่ OUT กับ 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ครูต้องใช้ในยุคนี้
Intrend ให้แบบไม่ OUT กับ 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ครูต้องใช้ในยุคนี้

Intrend ให้แบบไม่ OUT กับ 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ครูต้องใช้ในยุคนี้

การเป็นครูก็ว่ายากแล้ว แต่การเป็นครูแบบ Active Learning สมัยนี้ยากกว่า

เพราะนอกจากจะต้องเติมสรรพกำลังในการหาความรู้ใหม่ ๆ มาใช้สอนแล้ว ยังต้องปรับตัวให้ตามทันการสอนในยุคที่เด็ก ๆ ต้องเรียนแล้วได้อะไรที่มากกว่าความรู้ และต้องสามารถนำความรู้ที่เราสอนไปเชื่อมโยง บูรณาการ คิดวิเคราะห์แล้วนำไปต่อยอดในการใช้ในชีวิตจริงได้ ความยากอยู่ตรงที่เราจะต้องสอนอย่างไรให้พวกเขาได้สิ่งเหล่านี้ มาทำความรู้จัก 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของเด็กในยุคนี้ พวกเขาต้องเรียนรู้อะไรบ้าง แล้วเราต้องสอนอย่างไรให้เด็ก ๆ ไปสู่เป้าหมาย บทความนี้มีคำตอบครับ

Intrend ให้แบบไม่ OUT กับ 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ครูต้องใช้ในยุคนี้
High school students are actively studying science by raising their hands to answer questions that teachers ask them.

Active Learning กับการสอนในยุคนี้ดีกับเด็กอย่างไร!

ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้การสอนในรูปแบบ Active Learning กำลังมาแรง ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้คิด ลงมือทำ ได้มีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ เชื่อมโยงความรู้ ทักษะ และเจตคติ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขาอยากเรียนรู้ และสามารถสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง เพื่อสร้างนิสัยให้รักการเรียนรู้ตลอดชีวิต

รูปแบบการสอน Active Learning ที่ดีต้องอาศัย 4 องค์ประกอบนี้

  1. Thinking Based Learning เพราะการสร้างองค์ความรู้ได้นั้นต้องอาศัยการคิด วิเคราะห์ การประเมิน ถึงสามารถสร้างสรรค์เป็นความรู้ของตัวเองได้
  2. Learning by Doing เป็นพื้นฐานของการคิดแบบ Active Learning ซึ่งเชื่อว่าไม่ใช่แค่การเรียนรู้เพียงแค่คุณครูบอกเท่านั้น แต่คุณครูต้องฝึกให้เด็ก ๆ สามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตัวเองผ่านการคิด และลงมือทำ
  3. Cooperative Learning การสร้างองค์ความรู้เพื่อให้บรรลุตัวชี้วัด และสมรรถนะนั้น นอกจากให้พวกเขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเองแล้ว การสร้างองค์ความรู้ผ่านการลงมือทำร่วมกัน มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันกับผู้อื่น ก็สามารถสร้างเรียนรู้แบบ Active Learning ได้เช่นกัน
  4. Inquiry Based Learning ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ และใช้ความคิดของตนเองอย่างเต็มที่ (Active Learning) กระตุ้นให้ผู้เรียนเป็นคนคิดด้วยการ…
  • ตั้งคำถาม กำหนดปัญหา และกำหนดสถานการณ์
  • ค้นคว้า และค้นหา
  • เชื่อมโยงความรู้ที่ได้จากกระบวนการสืบเสาะหาความรู้

ตัวอย่าง 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ครูต้องใช้ในยุคนี้

รูปแบบการสอนที่ดีนอกจากครบองค์ประกอบของการสอนแบบ Active Learning แล้ว การเลือกรูปแบบการสอนให้เหมาะสมกับเป้าหมาย หรือธรรมชาติการเรียนรู้ของวิชานั้น ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งคุณครูอาจตั้งธงไว้ก่อนว่าจะสอนให้เด็กได้อะไรแล้วค่อยเลือกรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับเป้าหมายนั้น ๆ ซึ่งขอยก 5 รูปแบบการสอน Active Learning มาเป็นไอเดีย เพื่อให้เข้าใจว่าเป้าหมายใด เหมาะกับวิธีการสอนรูปแบบไหน และใช้เมื่อไร?

รูปแบบการสอนที่ 1: 5E (Engage – Explore – Explain – Extend –Evaluate )

เมื่อเป้าหมายของคุณครู คือ ให้เด็กสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง รูปแบบการสอนนี้จะช่วยให้เด็กเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สร้างทั้งความสนใจ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ และเป็นพื้นฐานให้เด็กเกิดทักษะโดยใช้การตั้งคำถาม (Inquiry) ให้พวกเขาได้นำประสบการณ์ที่เรียนรู้ หรือฝึกฝน มาคิด และลงมือทำ จนเกิดเป็นการเรียนรู้จากความเข้าใจของตัวเอง ซึ่งลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบ 5E คือ

•Engage กระตุ้นความสนใจของเด็ก ๆ ให้มากที่สุด โดยวิธีที่ใช้ต้องสัมพันธ์กับบทเรียน ครูสามารถประเมินความรู้ก่อนเรียนของเด็ก ๆ ในขั้นตอนนี้ได้ด้วย
•Explore เปิดโอกาสให้เด็กได้สร้างความรู้ความเข้าใจในตนเอง
•Explain ให้พวกเขามีโอกาสสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และสิ่งที่ได้ค้นพบ
•Extend สามารถนำความรู้ไปใช้
•Evaluate ครู และเด็กประเมินความเข้าใจสิ่งที่ได้เรียนรู้ไป

รูปแบบการสอนที่ 2 : Phenomenon Based Learning : PheBL การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฎการณ์เป็นฐาน

เมื่อเป้าหมายตามตัวชี้วัด คือ คิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และพัฒนานวัตกรรม รูปแบบการสอนนี้เป็นการเรียนรู้ผ่านปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรือปรากฏการณ์ที่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น เน้นให้เด็ก ๆ ได้สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง ได้สังเคราะห์ความรู้ และแก้ปัญหาด้วยตนเอง ลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบ PheBL คือ

•เด็กสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
•บูรณาการแบบสหวิทยาการ
•เรียนรู้ในชีวิตจริง ตามสภาพจริง
•เรียนรู้แบบองค์รวมที่สอดคล้องกับบริบท
•เด็กมีบทบาทในการเรียนรู้
•เรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้

รูปแบบการสอนที่ 3 : การใช้กรณีศึกษา (Case Study Method)

เมื่อเป้าหมายตามตัวชี้วัด คือ คิดอย่างเป็นระบบ รูปแบบการสอนที่เหมาะสม คือ Case – Study เป็นวิธีสอนที่ใช้กรณีศึกษา หรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริงมาดัดแปลงให้เด็ก ๆ ได้ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากในตำราเรียน ทำให้พวกเขารู้จักวิธีคิด วิธีนำข้อมูลต่าง ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อข้อมูลในการเรียนรู้กรณีศึกษาของตัวเองได้

Intrend ให้แบบไม่ OUT กับ 5 รูปแบบการสอน Active Learning ที่ครูต้องใช้ในยุคนี้
Student learning STEM Education robotics for creating project based studying for innovation robot model. New study generation for DIY electronic Kit in computer teachnology classroom

รูปแบบการสอนที่ 4 : Project Based Learning: PrBL (การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน )

การจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้ จะช่วยพัฒนาผู้เรียนทั้งด้านความรู้ และทักษะผ่านกระบวนการศึกษาค้นคว้า และการใช้ความรู้ผ่านกิจกรรม สามารถตั้งต้นได้จากปัญหา สถานการณ์ คำถาม เงื่อนไข หรือข้อจำกัด ความต้องการต่าง ๆ แล้วสร้างเป็นนวัตกรรม หรือชิ้นงาน เพื่อแก้ปัญหา หรือตอบคำถามในเรื่องนั้น ๆ จะใช้รูปแบบการสอนนี้เมื่อเป้าหมายตามตัวชี้วัด คือ ต้องการให้เด็กออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ หลักการสำคัญของ PrBL มี 6 ขั้นตอน คือ…

ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อม เพื่อให้เด็กเข้าใจเป้าหมายของการทำ
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนด และเลือกหัวข้อ เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละหัวข้อที่จะทำโครงงาน
ขั้นตอนที่ 3 การเขียนเค้าโครงของโครงงาน เป็นการสร้างผังมโนทัศน์ (Conceptual Map) หรือแผนที่ ความคิด (Mind Map) ที่แสดงถึงภาพรวมทั้งหมดของโครงงานตั้งแต่ต้นจนจบ
ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติงานโครงงาน เป็นขั้นตอนนำวิธีการตามเค้าโครงของโครงงานมาลงมือทำ
ขั้นตอนที่ 5 การนำเสนอผลงาน จัดทำรายงาน และการนำเสนอผลการปฏิบัติโครงงาน
ขั้นตอนที่ 6 การประเมินโครงงาน เป็นการประเมินอย่าง ต่อเนื่องด้วยวิธีการและเครื่องมือที่หลากหลาย เน้นการประเมินตามสภาพจริง (Authentic Assessment) ทั้งความรู้ กระบวนการ พฤติกรรมของเด็ก ๆ ผลงาน และสิ่งที่พบเจอในขณะทำโครงงาน

รูปแบบการสอนที่ 5 : การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL)

เมื่อเรามีเป้าหมายตามตัวชี้วัด คือ อยากสอนให้เด็กสามารถแก้ปัญหาเป็น ดังนั้นรูปแบบการสอนที่เหมาะสมกับตัวชี้วัดนี้ คือ Problem Based Learning เด็กจะเรียนรู้โดยใช้ปัญหาที่ใกล้ตัว และพบเจอในชีวิตประจำวันเป็นตัวนำ หรือเป็นฐานในการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมาสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้จัดการกับปัญหาดังกล่าวได้ ขั้นตอนของ PBL

เพราะการเรียนรู้แบบ Active Learning ไม่ได้มีสูตรสำเร็จ
คุณครูจำเป็นต้องใช้การเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องไปกับบริบทของเนื้อหา และเป้าหมายที่เด็กจะได้รับ อันจะนำไปสู่การเกิดของ “สมรรถนะ” กับพวกเขาต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก
https://www.aksorn.com/activelearning-5method

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่