รัฐบาลเดินหน้าแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 มุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ “เก่ง ดี มีสุข” เข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษา สวัสดิการสังคมอย่างเท่าเทียม
รัฐบาลเดินหน้าแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 มุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ “เก่ง ดี มีสุข” เข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษา สวัสดิการสังคมอย่างเท่าเทียม

รัฐบาลเดินหน้าแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 มุ่งพัฒนาเด็กทุกคนให้ “เก่ง ดี มีสุข” เข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษา สวัสดิการสังคมอย่างเท่าเทียม

ครม.เห็นชอบร่างแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2564 – 2570 ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ร่างแผนพัฒนาเด็กปฐมวัยฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาโครงสร้างการดำเนินงานด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศด้วยการบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เด็กปฐมวัยซึ่งเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของกระบวนการพัฒนาเด็กให้เป็นเด็ก“เก่ง ดี มีสุข” มีพัฒนาการทุกด้านแบบองค์รวม โดยมุ่งเน้นนโยบายด้านเด็กปฐมวัย 3 ข้อ คือ 1)เด็กปฐมวัยทุกคนต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน อย่างมีคุณภาพ ตามศักยภาพ ตามวัยและต่อเนื่อง 2)การพัฒนาเด็ก ต้องจัดอย่างเป็นระบบที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยบูรณาการระหว่างทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ระหว่างวิชาชีพที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ทั้งในระดับชาติ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น 3)รัฐและทุกภาคส่วนจะต้องร่วมกันระดมทรัพยากรให้เพียงพอต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจะดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ “เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านเต็มตามศักยภาพ เป็นพื้นฐานของความเป็นพลเมืองคุณภาพ” เพื่อให้เด็กปฐมวัยทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย รวมถึงเด็กที่เป็นลูกแรงงานต่างชาติและเด็กที่ไม่ได้มาจากครอบครัวไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศ ได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้านและสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพ การศึกษา และสวัสดิการสังคมได้อย่างเท่าเทียมกัน

สำหรับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนฯ ประกอบด้วย 7 ยุทธศาสตร์ คือ
1.การจัดและการให้บริการแก่เด็กปฐมวัย เช่น สร้างกลไกความร่วมมือในการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัยตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จัดให้มีระบบการสำรวจ คัดกรอง และวินิจฉัยเพื่อหาภาวะความต้องการพิเศษหรือด้อยโอกาส
2.การพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เช่น ขับเคลื่อนพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 จัดหรือสนับสนุนให้มีการบริการรับเลี้ยงและพัฒนาเด็กทารกวัยเตาะแตะในชุมชนและสถานประกอบการ
3.การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการพัฒนาเด็กปฐมวัย เช่นส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกแห่งอย่างเพียงพอ สร้างระบบพัฒนาสมรรถนะบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.การพัฒนาระบบและกลไกการบูรณาการสารสนเทศเด็กปฐมวัย เช่น วิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศเด็กปฐมวัยที่สำคัญ เพื่อใช้ในการวางแผน ติดตาม และประเมินผล
5.การจัดทำและปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยและการดำเนินการตามกฎหมาย เช่น ปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อลดความซ้ำซ้อน และให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.2562 และมาตรฐานสากล
6.การพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ เช่น วิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย พัฒนาระบบการจัดการความรู้ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยในมิติต่างๆ
7.การบริหารจัดการสร้างกลไกการประสานงาน ดำเนินงาน และติดตามประเมินผล เช่น สร้างกลไกและพัฒนาระบบการบริหารจัดการการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม. ได้มอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่างแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 ไปใช้เป็นกรอบแนวทางและเป้าหมายร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพ การบริการ และจัดการศึกษาเด็กปฐมวัย ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ขอบคุณที่มา : Facebook สำนักงานประชาสัมพัธ์จังหวัดสิงห์บุรี

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่