ดาวน์โหลด (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ฉบับเต็ม วันที่ 24 ก.พ. 65
ดาวน์โหลด (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ฉบับเต็ม วันที่ 24 ก.พ. 65

ดาวน์โหลด (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ฉบับเต็ม วันที่ 24 ก.พ. 65 (ร่างหลักสูตรอยู่ระหว่างการพัฒนา)

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม เชิญชวนคุณครูมารู้จัก ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ สำหรับเตรียมความพร้อมในการพัฒนาตนเองเพื่อรอรับการปรับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่กำลังจะมาถึงปรับเป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ ที่เน้นให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามสมรรถนะหลัก (Core Competencies) 6 ด้าน ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ ดังนี้ครับ

การจัดการศึกษาเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของประชากร ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ด้วยสถานการณ์ของโลกปัจจุบันที่ผันผวน ไม่แน่นอน สลับขับซ้อน ความคลุมเครือ และเปลี่ยนแปลง รวดเร็วตลอดเวลา การจัดการศึกษาโดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงจำเป็นต้องเตรียมเด็กและเยาวชนของชาติให้เข้มแข็งและสามารถดำรงอยู่ได้ท่ามกลางภาวะวิกฤติและการเปลี่ยนแปลงทั้งวิถีชีวิตและการทำงาน ดังเป้าหมายการจัดการศึกษาที่กำหนดไว้ใน แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๗๙
และมาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. ๒๕๖๑ ที่ล้วนมุ่งพัฒนา “ผลลัพธ์ที่เกิดในตัวผู้เรียน” กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดทำหลักสูตรในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ ได้ศึกษาการจัดการศึกษาของประเทศต่าง ๆ ที่ผู้เรียนมีผลลัพธ์การเรียนรู้ที่มีคุณภาพระดับโลก ภายใต้โครงกรพัฒนาการศึกษาร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development: OECD) และองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย รวมทั้งผลการศึกษาและวิจัยของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ให้ข้อเสนอแนะว่า “การพัฒนาสมรรถนะ” เป็นทิศทางของการพัฒนาหลักสูตรใหม่ในการพัฒนาคนให้รองรับและทันกับการเปลี่ยนแปลง ตอบสนองความจำเป็นและความต้องการของประเทศทั้งในปัจจุบันและอนาคต

กระทรวงศึกษาธิการ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการและอนุกรรมการหลายองค์คณะ เพื่อศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ รวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับนโยบายและผู้ปฏิบัติ เพื่อออกแบบและพัฒนา (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. ระดับประถมศึกษา ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญที่สร้างการเปลี่ยนแปลง คือ “สมรรถนะหลัก” เป็นสมรรณะที่ต้องการพัฒนาบุคคลในฐานะนุษย์และพลเมืองที่เข้มแข็ง ที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก
และภายในตน เรียนรู้และเติบโต ร่วมสร้างสรรค์การทำงน การใช้ชีวิตอย่างเห็นคุณค่ และภาคภูมิใจ ในความเป็นไทยบนพื้นฐานความเข้าใจความแตกต่างและหลากหลายในสังคม โดยมีความคาดหวังว่า (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ระดับประถมศึกษา จะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด แรงจูงใจฝ่เรียนรู้ในทุกย่างก้าวของเส้นทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต และสร้างแรงบันดาลใจให้ครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และผู้เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ได้ทบทวนรูปแบบและวิธีการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียน การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจริงในห้องเรียนจะบ่งชี้ถึงการนำเป้าหมายการเรียนรู้ไปออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์จริงทั้งในและนอกโรงเรียน เพื่อให้เกิดสมรรถนะสำคัญที่ติดตัวไปใช้ในการดำรงชีวิต

สิ่งสำคัญคือ ผู้เรียนทุกคนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องได้ ไม่ว่าผู้เรียน จะมีความสามารถ ภูมิหลังทางสังคมและเศรษฐกิจใดๆ ก็ตาม และบรรลุผลสำเร็จนี้ได้ด้วยความมุ่งมั่นและทำงานอย่างมืออาชีพของทุกฝ่าย

ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งระดับชาติ ชุมชน ครอบครัว และบุคคล ทั้งภาครัฐและเอกชนในการทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อให้ (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ระดับประถมศึกษา มีความสมบูรณ์และพร้อมสำหรับการนำไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียน ได้ตามความมุ่งหวังสู่การเป็นประชากรที่ มีคุณภาพ อันจะเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศสู่ ความรุ่งเรืองอย่างยั่งยืนสืบไป

ดาวน์โหลด (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ฉบับเต็ม วันที่ 24 ก.พ. 65
ดาวน์โหลด (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ฉบับเต็ม วันที่ 24 ก.พ. 65

ตัวอย่างร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ฉบับเต็ม วันที่ 24 ก.พ. 65

ดาวน์โหลด (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช .... ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ฉบับเต็ม วันที่ 24 ก.พ. 65
ดาวน์โหลด (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ ฉบับเต็ม วันที่ 24 ก.พ. 65

แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร

ความจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่าง ๆ ของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงความรู้ และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ที่นำไปสู่การเป็นสังคมดิจิทัลอย่างรวดเร็ว รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์สำคัญของโลก เช่น ภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาอย่างรุนแรง ส่งผลให้ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทย เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรมและเศรษฐกิจที่กระทบวิถีชีวิตของผู้คนอย่างไม่หยุดยั้ง เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนั้น ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษายังไม่สะท้อนถึงศักยภาพของผู้เรียนที่สามารถออกไปสู่สังคมและโลกของการทำงานในอนาคตได้อย่างขัดเจน จึงเป็นความสำคัญ จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาของชาติ ซึ่งเป็นพิมพ์เขียวและกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศ ให้สอดคล้องรับกับความก้าวหน้าทางวิทยาการและการเปลี่ยนแปลงทุกด้าน เพื่อสร้างคนไทยให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีความสามารถและศักยภาพในการดำรงชีวิต ปรับตนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง พร้อมที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงาน

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้ดำเนินงานพัฒนาหลักสูตรการศึกษาของชาติฉบับใหม่เพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาเยาวชนของชาติให้มีคุณลักษณะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก พร้อมทั้งเป็นการเตรียมเยาขนสำหรับการเผชิญหน้ากับโลกอนาคตที่ไม่แน่นอนต่อไป(ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักรช….. ระดับประถมศึกษานี้ พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการจัดการศึกษาฐานสมรรถนะ ซึ่งมีความแตกต่งจา กหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดหลักสูตรอิงมาตรฐาน ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณภาพอย่างน้อยตามที่ มาตรฐานกำหนด ส่วน (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช..
ระดับประถมศึกษา เป็นหลักสูตรฐานสมรรถนะ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีสมรรถนะหลักที่สำคัญจำเป็น และส่งเสริมให้ผู้เรียนได้บ่มเพาะ พัฒนา และต่อยอดสมรรถะหลักและสมรรถนะอื่นได้เต็มตามศักยภาพ ตามความจำเพาะเจาะจงของบุคคล (Personalization) ตามความเชื่อที่ว่ามนุษย์มีหน้าที่ในการพยายามคั้นหาตัวเอง และเลือกสร้างลักษณะของตนเองตามที่อยากจะเป็น การจัดการศึกษาตามแนวคิดนี้จึงมุ่งให้ผู้เรียนทบทวน พิจรณา ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ และรวจสอบ เพื่อให้คันพบและรู้จักตนเองอยู่เสมอ
เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเป็นองค์รวม

การจัดการศึกษาซึ่งหมายถึงการออกแบบหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ตาม (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…. ระดับประถมศึกษา จึงมีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้เรียนที่เหมาะสมตามช่วงวัย จัดสภาพแวดล้อมและเส้นทางการเรียนรู้ (Leaming Pathways) ที่หลากหลาย จัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของผู้เรียน Differentiated Learning ใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ช้สื่อและสถานการณ์การเรียนรู้ที่ร่วมสมัย หลากหลายและยืดหยุ่น ตามความสนใจและความถนัดของผู้เรียน บริบท และจุดเน้นของสถานศึกษาและชุมชนแวดล้อม เน้นประเมินการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและสะท้อนสมรรถะของผู้เรียนตามเกณฑ์การปฏิบัติที่เป็นธรรม เชื่อถือได้ เอื้อต่อการถ่ายโยงการเรียนรู้และพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นตามความเชี่ยวชาญของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง

วิสัยทัศน์ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ

ผู้เรียนมีสมรรถนะหลัก ความรู้ ทักษะ และเจตคติ เพื่อการเป็นผู้เรียนรู้ ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมและเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

หลักการของหลักสูตร

(ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักรช….. ระดับประถมศึกษา กำหนดหลักการสำคัญของหลักสูตร ไว้ดังนี้

๑. เป็นหลักสูตรที่มีเป้าหมายในการพัฒนาสมรรถะของผู้เรียนที่เหมาะสมตามช่วงวัย เน้นการพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล (Personalization) อย่างเป็นองค์รวม (Holistic Development) เพื่อการเป็นเจ้าของการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (Life-Long Learning)

๒. เป็นหลักสูตรที่เชื่อมโยงระหว่างสมรรถะหลักและสมรรถะเฉพาะในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้(Learning Outcome) เพื่อการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตและการทำงาน

๓. เป็นหลักสูตรที่จัดสภาพแวดล้อมและเส้นทางการเรียนรู้ (Learning Pathway) ที่หลากหลาย และระบบสนับสนุนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพหุปัญญาและธรรมชาติของผู้เรียน

๔. เป็นหลักสูตรที่มีกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning การใช้สื่อและสถานการณ์การเรียนรู้ร่วมสมัย มีความหลากหลาย และยืดหยุ่น ตามความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน ( DifferentiatedInstruction) บริบท จุดเน้นของสถานศึกษา และชุมชนแวดล้อม

๕. เป็นหลักสูตรที่มุ่งใช้การประเมินเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้และสะท้อนสมรรถนะของผู้เรียนตามเกณฑ์การปฏิบัติ (Performance) ที่เป็นธรรม เชื่อถือได้ เอื้อต่อการถ่ยโยงการเรียนรู้และพัฒนาในระดับที่สูงขึ้นตามระดับความสามารถ

จุดหมายของหลักสูตร

การพัฒนาผู้เรียนตาม (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช….. ระดับประถมศึกษามีจุดหมายเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะและเจตคติที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตและมีความสามารถ ดังนี้

๑. รู้จัก รัก เห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น จัดการอารมณ์และความเครียด ปัญหาและภาวะวิกฤต สามารถฟื้นคืนสู่สภาวะสมดุล (Resilience) และมีสุขภาวะและมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น

๒. มีทักษะการคิดขั้นสูงอย่างมีคุณธรรม มีความสามารถในการนำและกำกับการเรียนรู้ของตนเองอย่างมีเป้าหมาย

๓. สื่อสารอย่างฉลาดรู้ สร้างสรรค์ มีพลัง ด้วยความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

๔. จัดระบบและกระบวนการทำงานให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย มีความเป็นผู้ประกอบการภาวะผู้นำ และจัดการความขัดแย้งภายใต้สถานการณ์ที่มีความซับซ้อน

๕. ปฏิบัติตนอย่างรับผิดชอบ มีคุณธรรม จริยธรรม ในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก

๖. เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของโลกและจักรวาล เข้าถึงและรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตและอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

คุณลักษณะอันพึงประสงค์ เป็นค่นิยมร่วมที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน อันเป็นคุณลักษณะที่สังคมต้องการในด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมและจิตสำนึกเพื่อให้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข ทั้งในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก ประกอบด้วย

๑) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการเป็นพลเมืองดีของชาติ มีทัศนคติ ที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง ปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ เคารพสถาบันพระมหากษัตริย์ และยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๒) ซื่อสัตย์สุจริต เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยืดมั่นในความถูกต้อง ประพฤติตรงตามความเป็นจริงต่อตเองและผู้อื่นทั้งทางกาย วาจาและใจ ดหลักความจริงและความถูกต้องในการดำเนินชีวิตมีความละอายและเกรงกลัวต่อการกระทำผิด

๓) มีวินัย หมายถึง คุณลักษณะที่แสดงออกถึงการยึดมั่นในข้อตกลง กฎเกณฑ์และระเบียบข้อบังคับ ทั้งของตนเอง ครอบครัว โรงเรียนและสังคมเป็นปกติวิสัย และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น

๔) อยู่อย่างพอเพียง เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผลรอบคอบ มีคุณธรรม อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความรับผิดชอบไม่เบียดเบียนผู้อื่น เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่าง ๆ มีการวางแผนป้องกันความเสี่ยงและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มีภูมิคุ้มกันในบุคคลที่ดีและปรับตัว เพื่ออยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข

๕) มีจิตสาธารณะ เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคม ด้วยความเต็มใจและกระตือรือร้นโดยไม่หวังผลตอบแทน

สมรรถนะหลัก ๖ ด้าน

สมรรถนะหลัก (Core Competencies) ตาม (ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช..ระดับประถมศึกษา หมายถึง สมรรถนะที่กำหนดให้เป็นพื้นฐานที่นักเรียนทุกคนต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นความสามารถติดตัวเมื่อจบการศึกษา มีลักษณะเป็นสมรรถะข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือคร่อมวิชา สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้สาระต่ง ๆ ได้ดีขึ้น เป็นสมรรถนะที่มีลักษณะ “content – free” คือ ไม่ขึ้นกับเนื้อหาสาระของศาสตร์ใด ( อย่างไรก็ตามสมรรถะหลักโดยตัวมันเองไม่ได้ปราศจากความรู้ แต่ความรู้ ที่เป็นองค์ประกอบของสมรรถนะหลักจะเป็นองค์ความรู้เชิงกระบวนการ (Procedural Knowledge) ซึ่งเป็น ชุดของขั้นตอนหรือการปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้บรรลุเป้หมายของสมรรถะนั้น ( เป็นได้ทั้งกระบวนการที่ใช้เฉพาะศาสตร์หรือบูรณาการข้ามศาสตร์ เช่น ความรู้ที่เป็นองค์ประกอบของสมรรถะการคิดขั้นสูงเป็นเป็นชุดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดประเภทต่ง ๆ เช่น การคิดวิเคราะห์ การคิดเชิงวิพากษ์ และการคิดสร้างสรรค์

(ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช…. ระดับประถมศึกษา ร่างหลักสูตรฐานสมรรถนะ กำหนดสมรรถนะหลัก ๖ ด้าน เพื่อเป็นเป้าหมายการพัฒนาผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้

๑. การจัดการตนเอง

๓. การสื่อสาร

๔. การรวมพลังทำงานเป็นทีม

๕. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง

๖. การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และวิทยาการอย่างยั่งยืน

๗. การคิดขั้นสูง

ศธ.เปิดตัวเว็บไซต์ CBE Thailand ศูนย์รวมข้อมูลหลักสูตรฐานสมรรถนะ
ศธ.เปิดตัวเว็บไซต์ CBE Thailand ศูนย์รวมข้อมูลหลักสูตรฐานสมรรถนะ

กลุ่มสาระการเรียนรู้

(ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช….. ระดับประถมศึกษา กำหนดกลุ่มสาระการเรียนรู้ ประกอบด้วย สมรรถนะเฉพาะ และผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้น ดังนี้

ช่วงชั้นที่ ๑ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓)

กำหนด ๗ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้

ช่วงชั้นที่ ๑ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๓) กำหนด ๗ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ช่วงชั้นที่ ๑ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ – ๓) กำหนด ๗ กลุ่มสาระการเรียนรู้

๑. ภาษาไทย

๒. คณิตศาสตร์

๓. ภาษาอังกฤษ

๔. ศิลปะ

๕. สุขศึกษาและพลศึกษา

๖. สังคมศึกษา

๗. วิทยาศาสตร์และระบบธรรมชาติ

ช่วงชั้นที่ ๒ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖)

กำหนด ๙ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้

ช่วงชั้นที่ ๒ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ - ๖) กำหนด ๙ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ช่วงชั้นที่ ๒ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖) กำหนด ๙ กลุ่มสาระการเรียนรู้

๑. ภาษาไทย

๒. คณิตศาสตร์

๓. ภาษาอังกฤษ

๔. ศิลปะ

๕. สุขศึกษาและพลศึกษา

๖. สังคมศึกษา

๗. การจัดการในครัวเรือนและการประกอบการ

๘. วิทยาศาสตร์และระบบธรรมชาติ

๙. เทคโนโลยีดิจิทัล

ความหมายขององค์ประกอบกลุ่มสาระการเรียนรู้

สมรรถนะเฉพาะ (Specific Competencies) เป็นสมรรถะเฉพาะกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ประกอบด้วย ความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) เจตคติ (Attitudes) และค่านิยม (Values) ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่กำหนดสำหรับนักเรียนในแต่ละช่วงชั้น

ผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้น (Learning Outcome) เป็นเป้าหมายของการจัดการเรียนรู้ เมื่อจบช่วงชั้น ผลลัพธ์การเรียนรู้ประกอบด้วย พฤติกรรมที่สะท้อนสมรรถะหลักและสมรรถนะเฉพาะ ที่ครูผู้สอนต้องนำไปใช้เป็นกรอบแนวคิดในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และการวัดผลประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้นเป็นภาพรวมความสามารถของนักเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะหลักกับกลุ่มสาระการเรียนรู้

(ร่าง) กรอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช …. ระดับประถมศึกษา กำหนดแนวคิด การพัฒนาสมรรถะหลัก ๖ ด้านผ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยผสมผสานระหว่างสมรรถะหลักกับสมรรถะเฉพาะ ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป็นผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อจบช่วงชั้นของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ สามารถดาวน์โหลดได้ในลิงก์ ดังนี้

ดาวน์โหลดไฟล์คลิกที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ CBE Thailand สพฐ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่