แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 - 18 ปี (ประถม-มัธยม)
แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 - 18 ปี (ประถม-มัธยม)

แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 – 18 ปี (ประถม-มัธยม)

การทดสอบสมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness Test)

สมรรถภาพทางกายหรือความสมบูรณ์พร้อมทางกาย (Physical Fitness) หมายถึง สภาพร่างกายที่สมบูรณ์พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจด้วยความกระฉับกระเฉง ไม่เหนื่อยล้า (ราชบัณทิตยสถาน, 2547) ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายที่ดีจะสามารถกลับสู่สภาวะปกติได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกายสมรรถภาพทางกาย จึงเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดในการนำออกซิเจนไปสันดาปให้เกิดพลังงานขณะที่ออกกำลังกาย ดังนั้นสมรรถภาพการใช้ออกชิเจนสูงสุดจึงเป็นตัวสำคัญ ที่จะบ่งชี้ระดับสมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกาย แบ่งเป็น 2 ประการ คือ

  1. สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (Health-related physical fitness) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
    1) ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ
    2) ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ
    3) ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ
    4) องค์ประกอบของร่างกาย
  2. สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับทักษะ(Skill-related physical fitness) เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักกีฬา เพื่อใช้ฝึกในการแข่งขัน
    และก้าวสู่ความสำเร็จแต่ไม่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการมีสุขภาพดีประกอบด้วย
    1) ความคล่องตัว
    2) การทรงตัวที่สมดุลย์
    3) การทำงานที่ประสานกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
    4) กำลัง
    5) ปฏิกิริยาตอบสนอง
    6) ความเร็ว

ในคู่มือเล่มนี้จะกล่าวถึงสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ (Health-related physical fitness) ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้

1) ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจ (Cardiorespiratory endurance) เป็นความสามารถของหัวใจ หลอดเลือด เม็ดเลือดและระบบหายใจที่จะนำเชื้อเพลิง โดยเฉพาะออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อรวมถึงความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะใช้ออกซิเจนอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่มีความสมบูรณ์แข็งแรง จะสามารถเคลื่อนไหวออกกำลังกายได้ค่อนข้างยาวนานโดยไม่เหนื่อยล้าง่าย ความอดทนของระบบหายใจและไหลเวียนโลหิตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของสุขภาพที่แข็งแรง เนื่องจากมีคุณค่าอย่างมากในการต่อสู้ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูงความเครียด และยังมีความสำคัญต่อการทำงานหลาย ๆ อย่างในชีวิตประจำวันการเล่นและกิจกรรมทางกีฬา การทดสอบความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและหายใจใช้การทดสอบ เดิน/วิ่ง 1.6 กิโลเมตร

2) ความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular strength and endurance) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หมายถึง แรงสูงสุดที่เกิดขึ้นจากการหดตัวหรือเกร็งของกล้ามเนื้อมัดหนึ่งมัดใดหรือกลุ่มกล้ามเนื้อซึ่งจำเป็นในการออกแรงดึง ดัน ยก แบกหามสิ่งของ ส่วนความอดทนของกล้ามเนื้อ หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อมัดหนึ่ง มัดใด หรือกลุ่ม
กล้ามเนื้อหดตัวซ้ำกันเป็นระยะเวลานาน จำเป็นในการออกแรงทำงานในท่าช้ำ ๆ กัน ถ้ากล้ามเนื้อมีความแข็งแรงและความทนทานไม่เพียงพอ ผู้นั้นจะไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามต้องการ การทดสอบความแข็งแรงและความอดทนของกล้ามเนื้อในการประเมินสมรรถภาพทางกายใช้การทดสอบนอนยกตัว และดันพื้น

3) ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ (Muscular flexibility) หมายถึงช่วงกว้างการเคลื่อนไหวของข้อต่อหรือกลุ่มข้อต่อ ปัจจัยที่มีผลต่อความอ่อนตัวคือกระดูก และกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ ความยาวและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นบริเวณรอบข้อต่อ ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อเป็นองค์ประกอบ ที่มีและถูกละเลยหรือมองข้ามมาก การทดสอบความอ่อนตัว
ของกล้ามเนื้อใช้การทดสอบนั่งงอตัว

4) องค์ประกอบของร่างกาย (Body composition) หมายถึงองค์ประกอบที่มีอยู่ในร่างกาย แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) เนื้อแท้หรือน้ำหนักร่างกายปลอดไขมัน (Lean body mass) เป็นเนื้อเยื่อไม่มีไขมัน ได้แก่ น้ำ แร่ธาตุ กระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นต้น และ 2) ไขมันและเนื้อเยื่อ (Body fat)หากมีสัดส่วนของไขมันในร่างกายมากเกินไป จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง การทดสอบองค์ประกอบของร่างกายใช้การวัดค่าดัชนีมวลกายสมรรถภาพทางกายเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการมีพฤติกรรมปฏิบัติกิจกรรมทางกาย /ออกกำลังกาย การมีพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอจะส่งเสริมให้มีสมรรถภาพทางกายที่ดี หรืออาจไม่ถึงขั้นการมีสมรรถภาพดีแต่ก็สามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้
เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน มะเร็งบางชนิด เป็นต้น

ตัวอย่างไฟล์

แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 - 18 ปี (ประถม-มัธยม)
แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 – 18 ปี (ประถม-มัธยม)

คู่มือการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพในเด็กอายุ 7-18 ปี

แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 - 18 ปี (ประถม-มัธยม)
แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 – 18 ปี (ประถม-มัธยม)
แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 - 18 ปี (ประถม-มัธยม)
แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 - 18 ปี (ประถม-มัธยม) 5
แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 - 18 ปี (ประถม-มัธยม)
แจกฟรี โปรแกรมวิเคราะห์สมรรถภาพร่างกาย โดย กรมอนามัย ไฟล์ Excel สำหรับเยาวชน ตั้งแต่อายุ 7 - 18 ปี (ประถม-มัธยม) 6

ขอบคุณที่มา :: กรมอนามัย Facebook ห้องสื่อครูต้นคอม5

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่