ผลการประชุม ก.ค.ศ. เห็นชอบ (ร่าง) วิธีการสอบครูผู้ช่วย ภาค ก. ,ข และ ค. – อนุมัติการเกลี่ยอัตรากำลัง -แต่งตั้งอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ.
ผลการประชุม ก.ค.ศ. เห็นชอบ (ร่าง) วิธีการสอบครูผู้ช่วย ภาค ก. ,ข และ ค. – อนุมัติการเกลี่ยอัตรากำลัง -แต่งตั้งอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ.

ผลการประชุม ก.ค.ศ. เห็นชอบ (ร่าง) วิธีการสอบครูผู้ช่วย ภาค ก. ,ข และ ค. – อนุมัติการเกลี่ยอัตรากำลัง -แต่งตั้งอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ.

ผลการประชุม ก.ค.ศ. เห็นชอบ (ร่าง) วิธีการสอบครูผู้ช่วย ภาค ก. ,ข และ ค. - อนุมัติการเกลี่ยอัตรากำลัง -แต่งตั้งอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ.
ผลการประชุม ก.ค.ศ. เห็นชอบ (ร่าง) วิธีการสอบครูผู้ช่วย ภาค ก. ,ข และ ค. – อนุมัติการเกลี่ยอัตรากำลัง -แต่งตั้งอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ.

นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2563 ว่าที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สำคัญ ดังนี้

1. เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย

ซึ่งร่างหลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบหลักการของหลักเกณฑ์ที่จะให้มีการปรับหลักสูตรให้มีการวัดทักษะด้านภาษา ทักษะด้านดิจิทัล และความสามารถด้านการสอน และการให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในการคัดเลือกครู ซึ่งจะทำให้ได้ครูที่มีความสามารถในการสอน มีทักษะที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา โดยได้ปรับหลักสูตรการสอบ

ภาค ก ให้สอดคล้องกับการสอบภาค ก ของสำนักงาน กพ. 
ภาค ข ใช้แนวการสอบเทียบเคียงการสอบตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา
ภาค ค ใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์เพื่อ ประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่ง วิชาชีพ และการทดสอบการปฏิบัติการสอน

และให้สำนักงาน ก.ค.ศ. เพิ่มเติมรายละเอียดและตรวจสอบความถูกต้องของหลักเกณฑ์และวิธีการฯ โดยรอบคอบ 

ซึ่งสำนักงาน ก.ค.ศ. ได้ดำเนินการประชุมหารือกับส่วนราชการอีกครั้งหนึ่ง และพบว่าวิธีการประเมิน ภาค ค คือ การกำหนดให้มีการประเมินภาค ค ทุกครั้งเมื่อมีตำแหน่งว่าง อาจทำให้ไม่สามารถได้ครูมาปฏิบัติการสอนได้ทันตามความต้องการของสถานศึกษา
ทั้งยังเป็นการเพิ่มขั้นตอนในการดำเนินการสอบ และต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก หากต้องมีการประเมินภาค ค ทุกครั้งที่มีตำแหน่งว่าง ที่ประชุมจึงเห็นชอบร่วมกันให้มีการปรับปรุงสาระสำคัญของหลักเกณฑ์ฯ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 

1. ให้ผู้สมัครสอบแข่งขันแจ้งระดับการศึกษา และระดับชั้น ไว้ในใบสมัครสอบ เพื่อให้โอกาสในการเตรียมความพร้อมในการสอบสาธิตปฏิบัติการสอน
2. กำหนดให้ผู้ผ่านการสอบภาค ก และภาค ข ทุกคนเข้ารับการประเมินภาค ค ในคราวเดียวกัน 
3. ให้มีการขึ้นบัญชีผู้สอบแข่งขันได้เป็นบัญชีของ กศจ. โดยให้บรรจุและแต่งตั้งตามลำดับที่ในบัญชีผู้สอบแข่งขันได้ เพื่อให้มีครูปฏิบัติการสอนทันทีเมื่อมีตำแหน่งว่าง
4. กำหนดให้ส่วนราชการเป็นผู้พิจารณากำหนดคุณวุฒิในประเภทวิชา หรือกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอก ที่มีความจำเป็นหรือขาดแคลนเป็นพิเศษได้ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและความจำเป็นของ
ส่วนราชการ

โดยหลักการสำคัญของวิธีการประเมิน ภาค ค ใช้วิธีการประเมินจากคุณลักษณะส่วนบุคคล (สัมภาษณ์) การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (แฟ้มสะสมงาน เกี่ยวกับประวัติการศึกษา/ผลงานในวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษา/การเข้าถึงชุมชนและมีจิตอาสา) และความสามารถด้านการสอนนั้น จะช่วยให้นิสิต นักศึกษาครู ได้เน้นการเรียนในภาคปฏิบัติมากกว่า เพื่อจะได้นำผลงานในภาคปฏิบัติมาใช้ในการสอบแข่งขันในตำแหน่งครูผู้ช่วยต่อไป

2. อนุมัติ การปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกลี่ยอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

(ว 19/2555) โดยปกติอัตรากำลังของโรงเรียนต่าง ๆ นั้น มีทั้งอัตราที่พอดี ขาด และเกิน ซึ่งเดิมหลักเกณฑ์นี้ 
(ว 19/2555) กำหนดวิธีการเกลี่ยอัตรากำลังเฉพาะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ไว้ ไว้ 2 กรณีแล้ว ซึ่งในครั้งนี้เป็นการเพิ่มเติมกรณีการตัดโอนตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ไปกำหนดตำแหน่งเดิม และในปีนี้ คปร. ได้กำหนดเงื่อนไขการจัดสรรคืนอัตราเกษียณ ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ให้เฉพาะสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียน 120 คน ขึ้นไป ทำให้สถานศึกษาดังกล่าวประสบปัญหาในการจัดการศึกษาและส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา ประกอบกับ ตั้งแต่ปี 2559 กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเร่งด่วนในการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กในการที่จะไม่บรรจุและแต่งตั้งผู้อำนวยการสถานศึกษา ในสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียน 40 คน ลงมา เพื่อให้สามารถบริหารจัดการยุบ เลิก หรือควบรวมสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

ซึ่ง ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า มีความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางในการการบริหารจัดการสถานศึกษาในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน โดยเห็นควรให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการเกลี่ยอัตรากำลังฯ (ว 19/2555) 
ในส่วนของการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งสายงานบริหารสถานศึกษาไปกำหนดเป็นตำแหน่งสายงานบริหารสถานศึกษา โดยเห็นควรให้เพิ่มเติม กรณีการตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา 

ไปกำหนดเป็นตำแหน่งเดิมในสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียน 41 – 119 คน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับการบริหารจัดการ โดยกำหนดเงื่อนไข ดังนี้
1. ให้ตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา จากสถานศึกษาต่าง ๆ ดังนี้
1.1 สถานศึกษาที่ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา หรือ 
1.2 สถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 120 คน 
2. ให้ตัดโอนตำแหน่งและอัตราเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง  
ผู้อำนวยการ สถานศึกษา ได้ทั้งตำแหน่งว่างและตำแหน่งที่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
3. การตัดโอนให้ดำเนินการได้ภายในจังหวัดเดียวกันเท่านั้น
4. สถานศึกษาปลายทางที่รับการตัดโอน ต้องมีจำนวนนักเรียนในสถานศึกษามากกว่าสถานศึกษาต้นทาง
5. กรณีสถานศึกษาต้นทาง เป็นสถานศึกษาที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 40 คนลงมา ภายหลังตัดโอน 
ตำแหน่งและอัตราเงินเดือนแล้ว มิให้กำหนดตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาดังกล่าวขึ้นใหม่ 

3. อนุมัติ การปรับปรุงคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง ตามมาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานบริหารการศึกษา และสายงานนิเทศการศึกษา

ซึ่งเดิม ก.ค.ศ. ได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว 17/2548) โดยในส่วนของสายงานบริหารสถานศึกษา ได้กำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง 
ว่าจะต้อง “ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือดำรงตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่มีประสบการณ์การบริหารไม่ต่ำกว่าหัวหน้ากลุ่มมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือดำรงตำแหน่งครูที่มีวิทยฐานะ ไม่ต่ำกว่าครูชำนาญการ หรือดำรงตำแหน่งอื่นที่ ก.ค.ศ. เทียบเท่า” ซึ่งการใช้คำว่า “ดำรงตำแหน่ง” ดังกล่าว หมายถึง การดำรงตำแหน่งในปัจจุบัน มิได้นับรวมถึงประสบการณ์การดำรงตำแหน่ง ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับการพิจารณาคุณสมบัติดังกล่าว 

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นและเพื่อให้เกิดความชัดเจน ในการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง ให้มีความครอบคลุมถึงผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งตามที่กำหนดในมาตรฐานตำแหน่งของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานบริหารสถานศึกษา สายงานบริหารการศึกษาและสายงานนิเทศการศึกษา จึงเห็นชอบให้ปรับข้อความในส่วนของคุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งสายงานดังกล่าวในส่วนของข้อ 2 จาก “ดำรงตำแหน่ง” เป็น “ดำรงตำแหน่ง หรือ เคยดำรงตำแหน่ง 
อย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้” 

4. เห็นชอบ รายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน.

เนื่องจากสำนักงาน กศน. ได้ขอให้ ก.ค.ศ. พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา ซึ่ง ก.ค.ศ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา 

ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ว 8 /2562 โดยข้อ 5 5.1 -5.8 ได้กำหนดให้ส่วนราชการเป็นผู้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินการคัดเลือก โดยความเห็นชอบของ ก.ค.ศ. ซึ่งที่ประชุม ก.ค.ศ. พิจารณาเห็นว่าเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษาในสังกัด กศน.และเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการให้ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ สามารถพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารกิจการของสถานศึกษา จึงเห็นชอบรายละเอียดการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาและผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน กศน. ตามที่สำนักงาน กศน. เสนอ โดยมีรายละเอียดองค์ประกอบในการคัดเลือกแบ่งออกเป็น 3 ภาค ดังนี้ 

1. ภาค ก. ความรู้และความสามารถในการบริหารงานในหน้าที่ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) 
2. ภาค ข. ประวัติ ประสบการณ์ และผลงาน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
3. ภาค ค. ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

ทั้งนี้ให้มีการขึ้นบัญชีผู้ผ่านการประเมินภาค ก และภาค ข เป็นบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาค ค เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ประกาศขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกโดยเรียงตามลำดับผู้ที่ได้คะแนนจากมากไปหาน้อย ส่วนการประเมิน ภาค ค ให้ประเมินจากการสอบสัมภาษณ์ พิจารณาจากวิสัยทัศน์และแนวคิดในการบริหารจัดการสถานศึกษาและผลงาน 

5. เห็นชอบ การทดแทนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) เมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

โดยที่ประชุม ก.ค.ศ. พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้เป็นไป ตามมาตรา 19 (2) แห่ง พ.ร.บ.ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และมาตรการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐ (พ.ศ. 2562 – 2565) ที่กำหนดให้ ก.ค.ศ. เป็นผู้พิจารณาจัดสรรอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ว่าด้วยการจ้างงานรูปแบบอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ตามที่ส่วนราชการเสนอ และพิจารณาเห็นว่าการกำหนดชื่อตำแหน่งพนักงานราชการ กลุ่มงาน และอัตราค่าตอบแทนของกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการเพิ่มเติม ตามที่ส่วนราชการเสนอมาแล้ว เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.)จึงเห็นชอบการทดแทนอัตราว่าง จากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) ด้วยการว่าจ้างรูปแบบอื่นให้กับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 31 อัตรา

6. เห็นชอบ การแต่งตั้งอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แทนตำแหน่งที่ว่าง

เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอนุกรรมการข้าราชการในสังกัดที่ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ไม่ต่ำกว่าระดับต้น หรือประเภทอำนวยการ ระดับสูง หรือประเภทวิชาการ ไม่ต่ำกว่าระดับเชี่ยวชาญ ใน อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ซึ่งได้พ้นจากตำแหน่ง จำนวน 2 ราย คือ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และนายวุฒิศักดิ์ เหล็กคำ ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้เสนอรายชื่อข้าราชการในสังกัดฯ เพื่อแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ แทนตำแหน่งที่ว่าง 

ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นชอบให้แต่งตั้ง นายศักดา เรืองเดช ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนพิษณุโลกปัญญานุกูล และนายนะรงษ์ ชาวเพ็ชร ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. ดังกล่าวแทน

7. เห็นชอบ การแต่งตั้งอนุกรรมการ ใน อ.ก.ค.ศ. สำนักสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับการคัดเลือกมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ กศน. 

คือ นายทวีศักดิ์ เที่ยงธรรม จึงทำให้อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด ใน อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ว่างลงก่อนครบกำหนดตามวาระ 

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จึงได้ดำเนินการสรรหาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด เพื่อเสนอเป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ แทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นชอบแต่งตั้ง
นางสาวทรงศรี วิระรังษิยากรณ์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงาน กศน.จังหวัดนครราชสีมา วิทยฐานะผู้อำนวยการสำนักงาน กศน. จังหวัดเชี่ยวชาญ เป็นอนุกรรมการใน อ.ก.ค.ศ. ดังกล่าวแทน

ขอบคุณที่มา : อีทีวีแม็ค เวทีสาธารณะเพื่อการศึกษา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่