ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ขับเคลื่อนกิจการลูกเสือแห่งชาติ มีความสำคัญไม่น้อยไปว่าการจัดการศึกษา
ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ขับเคลื่อนกิจการลูกเสือแห่งชาติ มีความสำคัญไม่น้อยไปว่าการจัดการศึกษา

ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ขับเคลื่อนกิจการลูกเสือแห่งชาติ มีความสำคัญไม่น้อยไปว่าการจัดการศึกษา

ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ขับเคลื่อนกิจการลูกเสือแห่งชาติ มีความสำคัญไม่น้อยไปว่าการจัดการศึกษา
ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ขับเคลื่อนกิจการลูกเสือแห่งชาติ มีความสำคัญไม่น้อยไปว่าการจัดการศึกษา

(4 พฤศจิกายน 2563) นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมการคัดเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ณ ห้องประชุมราชวัลลภ อาคารราชวัลลภ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมว่า ขณะนี้คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ได้คัดเลือกบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นองค์ประกอบในองค์กรบริหารของคณะลูกเสือแห่งชาติ ครบทั้ง 15 คน เรียบร้อยแล้ว เป็นไปตามเกณฑ์ข้อบังคับที่ต้องมีภาคเอกชนมากกว่ากึ่งหนึ่ง (8 คนขึ้นไป)

โดยมีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และเมื่อพ้นจากตำแหน่งอาจทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งอีกได้ โดยจะนำรายชื่อเสนอนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสภานายกสภาลูกเสือไทย พิจารณาดำเนินการต่อไป

กระทรวงศึกษาธิการ เล็งเห็นว่า การขับเคลื่อนกิจการลูกเสือแห่งชาติ มีความสำคัญไม่น้อยไปว่าการจัดการศึกษา และเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทย ที่จะปลูกฝังการมีส่วนร่วม ความเข้าใจในการที่เป็นเยาวชนที่ดี จงรักภักดีในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ขับเคลื่อนกิจการลูกเสือแห่งชาติ มีความสำคัญไม่น้อยไปว่าการจัดการศึกษา
ผลการประชุมคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ขับเคลื่อนกิจการลูกเสือแห่งชาติ มีความสำคัญไม่น้อยไปว่าการจัดการศึกษา

คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ

– เป็นองค์กรบริหารของคณะลูกเสือแห่งชาติ มีองค์ประกอบ คือ
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานกรรมการ
2. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นรองประธานกรรมการโดยตำแหน่ง
3. เลขาธิการสภาการศึกษา, เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา, เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, เลขาธิการสภากาชาดไทย, ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน, ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน, ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง
4. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินสิบห้าคนซึ่งสภานายกสภาลูกเสือไทยแต่งตั้งโดยคำแนะนำของกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติซึ่งในจำนวนนี้ต้องมาจากภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง เป็นกรรมการ5. เลขาธิการสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง

– อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ ประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ (รมว.ศึกษาธิการ)
มีอำนาจและหน้าที่เป็นผู้กระทำในนามคณะลูกเสือแห่งชาติ และเพื่อการนี้ ประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติจะมอบอำนาจให้กรรมการคนใดคนหนึ่งปฏิบัติกิจการเฉพาะอย่างแทนก็ได้ ดังอำนาจและหน้าที่ต่างๆ ต่อไปนี้

1.  ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ และตามนโยบายของสภาลูกเสือไทย
2.  ส่งเสริมความสัมพันธ์กับคณะลูกเสือนานาชาติ
3.  สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ
4.  สนับสนุนให้มีการกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
5.  จัดการทรัพย์สินของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
6.  ให้มีความเห็นชอบในการลงทุนพื่อประโยชน์ของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
7.  ออกข้อบังคับของคณะกรรมการบริการลูกเสือแห่งชาติที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
8.  วางระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับกิจการลูกเสือ
9.  จัดรายงานประจำปีเสนอสภาลูกเสือไทยพิจารณาตามมาตรา 12 (3)
10. แต่งตั้งที่ปรึกษาคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ
11. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติมอบหมาย
12. กำกับดูแล สนับสนุนและส่งเสริมกิจการลูกเสือชาวบ้าน
13. จัดตั้งตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และตำแหน่งอื่นๆที่มิได้ระบุไว้ในพระราชบัญญัติลูกเสือ พ.ศ. 2551
14. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ขอบคุณที่มาและอ่านต่อ : เว็บไซต์ ศธ 360 องศา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่