สรุปการบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Coding Nation: A pathway of building human capacity in a post-COVID-19 world” โดย คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ดร. คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้บรรยายพิเศษในหัวข้อ “Coding Nation: A pathway of building human capacity in a post-COVID-19 world” ผ่านทางออนไลน์ ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The International Joint Conference on STEM Education 2020 “STEM Education Pathway through the Crisis” (ออนไลน์) เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 โดยสรุปดังนี้
ท่านสามารถติดตามการบรรยายพิเศษฉบับเต็มได้ที่ https://youtu.be/xWeE3WZz9go
– โควิด-19 คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาให้เกิดการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในรูปแบบ ดิจิทัล บนความปกติใหม่ (New normal)
– สสวท. ผู้พัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์ม การอบรมออนไลน์ “วิทยาการคำนวณสำหรับครู Coding for Teacher (C4T)” เพื่อให้ครูมีความเชี่ยวชาญในการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับนักเรียนได้อย่างสนุก และเข้าใจได้ง่าย
– โค้ดดิ้ง (Coding) ภายใต้หลักสูตร วิทยาการคำนวณของ สสวท. เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วน เพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ที่ช่วยยกระดับการศึกษาของประเทศ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ (C – Creative Thinking) พัฒนาการคิดวิเคราะห์อย่างมีตรรกะ และแก้ปัญหาเป็นขั้นตอน (O – Organized Thinking) มีความเข้าใจและสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (D – Digital Literacy) สรรสร้างนวัตกรรม ที่นำไปใช้ได้จริงและเกิดประโยชน์ (I – Innovation) มีความคิดริเริ่ม (N – Newness) และมีความพร้อมเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ (G – Globalization)
– “โค้ดดิ้ง ง่ายกว่าที่คิด พิชิตยุคดิจิทัล” เพราะระดับการเรียนรู้ในแต่ละชั้นเรียนมีความแตกต่างกัน สสวท. จึงทำให้การเรียนโค้ดดิ้งไม่ยากอย่างที่คิด ตัวอย่างเช่น ในเด็กเล็กจะสอนให้รู้จักการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน โดยเขียนชุดคำสั่งผ่านการเล่นเกม และเป็นแบบ unplugged ส่วนระดับชั้นที่สูงขึ้นจะสอนให้เด็กสามารถให้เหตุผลของการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนได้ เป็นต้น
– โค้ดดิ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งภาษาสากลที่จะใช้สื่อสารกันในโลกยุคดิจิทัล และเพื่อให้สอดรับกับตลาดแรงงานยุคใหม่ โค้ดดิ้งจึงได้รับการส่งเสริมให้เป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมไปถึงคนไทยทุกคน ตามแนวทาง Coding for All, All for Coding
ขอบคุณที่มา : Facebook IPST Thailand