ศธ.ถก คกก.ปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ชู Big Rock 5 ด้าน ขับเคลื่อนการศึกษาชาติ
ศธ.ถก คกก.ปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ชู Big Rock 5 ด้าน ขับเคลื่อนการศึกษาชาติ

ศธ.ถก คกก.ปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ชู Big Rock 5 ด้าน ขับเคลื่อนการศึกษาชาติ ศธ.ประชุมหารือร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ย้ำแนวทางที่ควรเร่งรัดในการขับเคลื่อนการปฏิรูป เพื่อส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) 5 ด้าน “โอกาสความเสมอภาค การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ การผลิตพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การจัดระบบทวิภาคี การวิจัยและธรรมาภิบาลของสถาบันอุดมศึกษา“

ศธ.ถก คกก.ปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ชู Big Rock 5 ด้าน ขับเคลื่อนการศึกษาชาติ
ศธ.ถก คกก.ปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ชู Big Rock 5 ด้าน ขับเคลื่อนการศึกษาชาติ

(24 ธันวาคม 2563) ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา และ ดร.สุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานร่วมในการประชุมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ พร้อมด้วย ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้ช่วยปลัด ศธ., คณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา, ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เข้าร่วม ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ กล่าวว่า คณะกรรมการชุดนี้มีขอบเขตงานในด้านกลไกระบบการผลิต คัดกรอง และพัฒนาคุณภาพประสิทธิภาพ และคุณธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพครู อาจารย์ อีกทั้งระบบการบริหารบุคลากรทางการศึกษา การจัดการเรียนการสอนทุกระดับ รวมทั้งการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา หลักสูตรและเทคโนโลยีทางการศึกษา ตลอดจนบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในการปฏิรูปการศึกษา การวิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การสอนแบบสื่อทางไกล และศิลปะวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา สามารถรองรับความหลากหลายและตอบโจทย์การพัฒนาของโลกอนาคต

โดยมีกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ

  1. การเร่งผลักดันร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. …. ให้มีผลบังคับใช้
  2. การสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทางสังคมและสื่อ ในการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการปฏิรูป
  3. การกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา และการทดลองนำร่องกิจกรรมปฏิรูปที่เกี่ยวข้องกับภารกิจการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่อย่างยั่งยืน
  4. การบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา (Big Data for Education) ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการศึกษา ติดตามเฝ้าระวังเด็กไม่ให้ออกจากระบบการศึกษา เพื่อให้การช่วยเหลือได้ทัน
  5. การเปลี่ยนโลกทัศน์ทางการศึกษาของสาธารณชน ในการสื่อสาร ปลูกฝัง พัฒนาความคิด ปรับเปลี่ยนค่านิยม ทัศนคติ ความคาดหวังต่อระบบการศึกษาที่มุ่งเน้นไปสู่การพัฒนาระบบการศึกษาอิงจากสมรรถนะ ที่มุ่งเน้นให้ครูนักเรียนมีความสุขกับการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ ศธ 360 องศา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่