"ณัฏฐพล" เล็งหั่นงบงบรม สัมมนา ดูงาน ปรับเป็นงบด้านเทคโนโลยี-ซื้อเน็ตให้ครู
"ณัฏฐพล" เล็งหั่นงบงบรม สัมมนา ดูงาน ปรับเป็นงบด้านเทคโนโลยี-ซื้อเน็ตให้ครู

“ณัฏฐพล” เล็งหั่นงบงบรม สัมมนา ดูงาน ปรับเป็นงบด้านเทคโนโลยี-ซื้อเน็ตให้ครู หั่นงบเกี่ยวกับการอบรม สัมมนา การเดินทางต่าง ๆ ต้องปรับมาเป็นงบการใช้เทคโนโลยีเป็นหลัก ต้องปรับมาเป็นงบการใช้เทคโนโลยีเป็นหลักเพื่อให้การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิ

นายณัฏฐพล  ทีปสุวรรณ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ช่วงที่มีสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 การใช้เทคโนโลยีเป็นเรื่องที่มีความจำเป็น อีกทั้งยังไม่ทราบแน่ชัดว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นอีกนานเท่าไร ส่วนตัวคิดว่าระบบการศึกษาไทยมีความคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีแล้วและสามารถแยกแยะได้ว่า เทคโนโลยีใดที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ยกตัวอย่างเช่น ที่ผ่านมาคิดว่า การเรียนผ่านโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมจะเป็นสื่อหลักที่ใช้ในการเรียนการสอน แต่กลับไม่ใช่อย่างที่คิด กลายมาเป็นสื่อออนไลน์ที่เข้ามามีส่วนสำคัญ เพราะฉะนั้นการปรับตัวในเรื่องต่าง ๆ ต้องมีความยืดหยุ่น รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณที่ต้องมีการปรับค่อนข้างมาก เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น งบเกี่ยวกับการอบรม สัมมนา การเดินทางต่าง ๆ ต้องปรับมาเป็นงบการใช้เทคโนโลยีเป็นหลักเพื่อให้การใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิ และทันต่อเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ทั้งนี้ส่วนตัวมั่นใจว่า บุคคลากรทางการศึกษา เข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามเมื่อเร็ว ๆ นี้ตนได้รายงานให้ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบแนวทางการบริหารจัดการงบประมาณในช่วงที่มีสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ โดยในส่วนของการวางแผนการใช้งบประมาณ ปี 2565 ต้องเตรียมแผนสำหรับการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19เป็นหลัก ส่วนงบปี 2564 ก็ต้องเปลี่ยนแปลงงบบางส่วนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น งบทัศนศึกษา หรือการจัดอบรมต่าง ๆ  การบริหารจัดการงบครั้งนี้ความยืดหยุ่นถือว่ามีส่วนสำคัญ และการให้ข้อมูลกับสำนักงบประมาณมีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะทำให้สามารถอธิบายให้ส่วนจ่ายงบประมาณได้เข้าใจถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง การศึกษาต้องปรับตัวให้เป็นหน่วยงานที่มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากที่สุด

“ค่าใช้จ่ายที่กำลังพิจารณาในช่วงนี้คือ การช่วยเหลือครูในเรื่องการจัดการเรียนการสอน เพราะมีความจำเป็นต้องใช้อินเตอร์เน็ต โดยทางศธ.เตรียมเสนอแนวทางที่เหมาะสมเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ขณะเดียวกันที่ประชุมครม.เมื่อเร็ว ๆ นี้ยังมีการพูดคุยในเรื่องการรัดเข็มขัดใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ พยายามใช้งบประจำเฉพาะเรื่องที่จำเป็นจริง ๆ โดยปัจจุบันงบประมาณส่วนใหญ่ ของศธ. ใช้ไปกับเงินเดือนบุคลากรกว่า ร้อยละ75 ดังนั้นในอนาคตจะต้องมาดูว่าจะสามารถผสมผสานอะไร เพื่อให้บุคลากรมีความเหมาะสม อย่างเช่น การทำโรงเรียนดีสี่มุมเมือง โรงเรียนคุณภาพประจำชุมชน ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการการควบรวมโรงเรียน ก็จะทำให้งบในส่วนของบุคลากรลดลงในอนาคต” นายณัฏฐพล กล่าว

ขอบคุณที่มาและอ่านต่อ : เว็บไซต์มติชนออนไลน์ 8 มกราคม 2564

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่