ศธ.ร่วมมือ สธ.เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน 14 มิถุนายน ภายใต้แนวคิด “ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งมั่นป้องกันโควิดในสถานศึกษา”
ศธ.ร่วมมือ สธ.เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน 14 มิถุนายน ภายใต้แนวคิด “ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งมั่นป้องกันโควิดในสถานศึกษา”

ศธ.ร่วมมือ สธ.เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน 14 มิถุนายน ภายใต้แนวคิด “ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งมั่นป้องกันโควิดในสถานศึกษา”

(12 มิถุนายน 2564) นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยนายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมแถลงข่าวการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนและแผนเผชิญเหตุกรณีป้องกันการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 ระลอกใหม่ในสถานศึกษา โดยมีผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ บุคลากรทั้งสองหน่วยงาน ตลอดจนสื่อมวลชน เข้าร่วม ณ ห้องโถงอาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ

ศธ.ร่วมมือ สธ.เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน 14 มิถุนายน ภายใต้แนวคิด “ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งมั่นป้องกันโควิดในสถานศึกษา”
ศธ.ร่วมมือ สธ.เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน 14 มิถุนายน ภายใต้แนวคิด “ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งมั่นป้องกันโควิดในสถานศึกษา”

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า การจัดงานแถลงข่าวในครั้งนี้ขึ้น เพื่อต้องการให้ผู้ปกครอง นักเรียน ครู บุคลากร และสถานศึกษา มีความมั่นใจในการเปิดภาคเรียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ต้องขอขอบคุณความร่วมมือจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เริ่มตั้งแต่ออกมาตรการป้องกันโรคโควิด 19 รอบที่ 1 รอบที่ 2 จนถึงรอบที่ 3 ในขณะนี้

ในสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) พยายามให้มีการจัดการรูปแบบการเรียนรู้ เพื่อที่จะให้ผู้เรียนไม่หยุดกระบวนการเรียนรู้ ถึงแม้ว่าสถานการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมและทั่วโลกมาก่อน เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติเช่นนี้ได้ ซึ่งได้มีการชี้แจงไปแล้วว่าจะมีการเรียนภายใต้ 5 รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ONLINE, ON-AIR, ON-DEMAND, ON-HAND และ ON-SITE แต่ทั้งหมดที่กล่าวมาเชื่อว่า การเรียนรู้ที่ดีที่สุด คือ การที่ผู้เรียนและผู้สอนได้มีโอกาสได้ทำกิจกรรมร่วมกัน 

ศธ.ได้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ภายใต้การเรียนรู้ที่มีความปลอดภัย จึงได้ขอความร่วมมือจากทางกรมอนามัย, ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย, UNICEF และ WHO โดยได้มีการทำแผนร่วมกันในการปฏิบัติการเรียนรู้ภายใต้ความปลอดภัย และทาง สธ.ได้มีคู่มือการเรียนในรูปแบบ ON-SITE ภายใต้การประเมิน Thai Stop Covid Plus 44 ข้อ ที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาต้องดำเนินการ ซึ่ง สธ.ได้เข้าไปช่วยเหลือโรงเรียนให้ทำการประเมินให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น อีกทั้งยังต้องมีการประเมินทั้งครูและนักเรียน ภายใต้แบบประเมิน Thai Save Thai Application โดยมีการกลั่นกรองในหลายรูปแบบ จนกระทั่งมีการอนุญาตให้เปิดการเรียนการสอนภายใต้ 5 รูปแบบดังกล่าว

การเปิดเรียนในวันที่ 14 มิถุนายนนี้ อาจจะมีเหตุการณ์บางอย่างที่เราไม่คาดคิด ศธ.จึงได้มีการตั้งศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือเฉพาะกิจ โดยมีปลัด ศธ.เป็นประธาน ร่วมกันรับฟังปัญหาให้กับทุกโรงเรียน ทุกพื้นที่ ที่อาจจะมีเหตุการณ์ที่เกินกำลังที่จะแก้ไข ซึ่งจะได้เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือแก้ปัญหาในด้านการเรียนการสอนต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัยมากที่สุด นอกจากนี้ในเรื่องวัคซีนได้มีการผลักดันมาตลอด เพื่อความปลอดภัยของครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งขณะนี้กำลังทยอยฉีดวัคซีนให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ครบทุกคน

ปลัด ศธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า ศธ.มีความตระหนักต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดใหม่ของโรคโควิด 19 และได้เตรียมการอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดแก่นักเรียนนักศึกษา เพื่อให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนต่าง ๆ สามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามกำหนดการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ตามความเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยยึดความปลอดภัยของผู้เรียนและผู้สอนเป็นสาคัญ โดยเร่งรัดดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี 25 พฤษภาคม 2564 ซึ่งได้เห็นชอบแผนการให้บริการวัคซีนโควิด 19 โดยครูเป็นกลุ่มเป้าหมายแรก ๆ ในการฉีดวัคซีน

ทั้งนี้ จากฐานข้อมูลของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงศึกษาธิการ (ศบค.ศธ.) ข้อมูล ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2564 ครูทั่วประเทศได้รับวัคซีนแล้ว จำนวน 28,520 คน ส่วนการให้ความช่วยเหลือนักเรียน หรือผู้ปกครอง ที่ประสบปัญหาจากภาวะวิกฤติของโรคโควิด 19 และเตรียมการจัดระบบการเรียนการสอน ให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด รวมทั้งการให้ความสาคัญกับนักเรียนในโรงเรียนลักษณะประจำพักนอน ซึ่งสถานศึกษาสำหรับนักเรียนในกลุ่มนี้จะเป็นทั้งโรงเรียนและเป็นเสมือนบ้านของนักเรียน ศธ.จึงร่วมกับกรมอนามัย ในการ SWAB นักเรียนในโรงเรียนเหล่านี้ก่อนการเปิดเรียน เพื่อให้สถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างปลอดภัยสูงสุด

อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระลอกใหม่ จากผลการสำรวจอนามัยโพล เรื่อง “ความรู้สึกกังวลต่อสถานการณ์โควิด 19 และการเปิดเรียนเดือนมิถุนายน 2564 ” ในช่วงวันที่ 18-24 พฤษภาคม 2564 พบว่า ประเด็นที่ผู้ปกครองมีความกังวลสูง 3 อันดับแรก ได้แก่ การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลของครูและนักเรียน ร้อยละ 33.1, การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ร้อยละ 22.8 และโรงเรียนต้องผ่านเกณฑ์ประเมินความพร้อมของสาธารณสุข ร้อยละ 15.3 โดยสถานศึกษาต้องดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปกครอง ดังนี้

  1. สถานศึกษาเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเทอมทุกมิติ ประกอบด้วยความปลอดภัยจากการลดการแพร่เชื้อโรค, การเรียนรู้, การครอบคลุมถึงเด็กด้อยโอกาส สวัสดิภาพ และการคุ้มครอง, นโยบายและการบริหารการเงิน
  2. ประเมินสถานศึกษาก่อนเปิดเทอม ต้องผ่านทั้งหมด 44 ข้อใน Thai Stop COVID Plus
  3. ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและประชาชนทุกคน ประเมินความเสี่ยง Thai Save Thai ของตนเองก่อนออกจากบ้านทุกวัน
  4. ยกระดับความปลอดภัย 6 พลัส คูณ 6 มาตรการหลัก มาตรการเสริม และมาตรการเฉพาะ
  5. 6 พลัส มาตรการหลัก DMHT-RC (อยู่ห่าง สวมแมส หมั่นล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ ลดแออัด ทำความสะอาดพื้นผิวสัมผัสร่วม)
  6. 6 มาตรการเสริม SSET-CQ (ดูแลตนเอง ใช้ช้อนส่วนตัว กินอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้แอปไทยชนะ คัดกรองทุกคน กักตัวเองเมื่อไปพื้นที่เสี่ยง)
  7. มาตรการเฉพาะ กรณีรถรับส่งนักเรียน หอพักนักเรียน สถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ และเฉพาะความพิการ
  8. กำกับติดตามประเมินผลร่วมระหว่าง ศธ. และ สธ. สถานศึกษารายงานผลผ่านระบบ MOE (COVID-19)

ในการนี้ รมว.ศึกษาธิการ และคณะ ได้เยี่ยมชมนิทรรศการและกิจกรรมภายในงาน อาทิ กิจกรรมการตัดความเสี่ยง 3T, กิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกัน 2E1V และกิจกรรมมุ่งมั่นป้องกันโควิดอีกด้วย

อนึ่ง ภายในงานได้มีการเสวนาเพื่อแสดงความคิดเห็น เรื่อง “ตัดความเสี่ยง สร้างภูมิคุ้มกัน มุ่งมั่นป้องกันโควิด” โดยนายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. ได้นำเสนอประเด็นการเตรียมความพร้อมต้อนรับการเปิดภาคเรียนของสถานศึกษา และการปฏิบัติตัวของนักเรียน ตลอดจนครูและบุคลากรทางการศึกษา สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้ตรวจราชการ ศธ.และโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ, รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อเด็กแห่งประเทศไทย, นายแพทย์สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ทำให้ ศธ.ต้องคิดหารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับแต่ละโรงเรียน เพราะในแต่ละพื้นที่มีการแพร่ระบาดของโรคที่แตกต่างกัน โดยกำหนดการเรียนการสอนเป็น 5 รูปแบบ เพื่อให้มีความเหมาะสมต่อการรับมือกับการแพร่ระบาด คือ 1.ON-SITE เรียนที่โรงเรียน โดยมีมาตรการเฝ้าระวังตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) 2.ON-AIR เรียนผ่านมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ฯ หรือ DLTV 3. O์N-DEMAND เรียนผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ 4. ONLINE เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต 5.ON-HAND เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร เช่น หนังสือ แบบฝึกหัดใบงาน ในรูปแบบผสมผสาน หรืออาจใช้วิธีอื่น ๆ

โฆษก ศธ. กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดตั้งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงศึกษาธิการ (ศบค.ศธ.)เพื่อดำเนินการเฝ้าระวัง ติดตามและแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมทั้งประสานหน่วยงานที่เกี่ยวของเพื่อขอรับการจัดสรรวัคซีนฉีดให้กับครูและบุคลากรทางการศึกษา ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ให้ได้เข้ารับฉีดวัคซีนเป็นลำดับต้น ๆ พร้อมทั้งวางแผนและเตรียมความพร้อมการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กนักเรียนเกิดความปลอดภัยภายใต้มาตรการ ซึ่งในขณะนี้มีโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนไปแล้วมากกว่าหนึ่งหมื่นแห่ง และยังไม่มีรายงานการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในโรงเรียน ดังนั้นขอให้ผู้ปกครองเชื่อมั่นสำหรับการจัดการเรียนการสอนในครั้งนี้

รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า แนวโน้มการติดเชื้ออาจจะมีแนวโน้มสูงขึ้นหากควบคุมไม่ดี ถึงแม้จะได้รับวัคซีนแล้วก็ต้องใช้เวลาในการที่จะทำให้ผู้ติดเชื้อลดลง แต่จะสามารถลดอัตราความรุนแรงของโรคได้ ดังนั้นทุกคนยังคงปฏิบัติตัวตามมาตรการของ สธ.อย่างเคร่งครัด ลดความแออัด และทำตัวเองให้มีความเสี่ยงต่ำที่สุด จากข้อมูลพบว่านักเรียนที่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่ติดมาจากผู้ปกครองและคนในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ มาจากคลัสเตอร์ในโรงเรียนน้อยมาก ซึ่งกรมอนามัยมีการวางแผนไว้ หากเป็นพื้นที่สีแดงเข้มเน้นเรียนออนไลน์และทางไกล แต่บางจังหวัดอาจมีบางอำเภอที่เสี่ยงต่ำ ก็อาจจะสามารถเปิดเรียนปกติได้ แต่ต้องนำเสนอคณะกรรมการควบคุมโรคในจังหวัดเพื่อพิจารณาต่อไป

ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปิดเรียนอาจจะไม่ได้ช่วยให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ดีขึ้น เพราะโรงเรียนไม่ใช่แหล่งแพร่เชื้อ และไม่เคยมีรายงานว่าเด็กเป็นซุปเปอร์สเปรดเดอร์ เนื่องจากเด็กที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ติดมาจากผู้ปกครอง และที่สำคัญเด็กเล็กจะมีภูมิคุ้มกันสูงสำหรับเชื้อชนิดใหม่ ๆ การหยุดเรียนทำให้ผลเสียจำนวนมาก ดังนั้นหากมีวิธีการป้องกันที่ดีจะทำให้เด็กมีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก นอกจากนี้การเรียนออนไลน์ถือว่าเป็นการปิดกั้นและทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำมากขึ้น เนื่องจากยังมีเด็กจำนวนมากที่ยังขาดอุปกรณ์สำหรับการเรียนในรูปแบบดังกล่าว

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่