ดูที่นี่!! เปิดวิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ง่าย สะดวก ไม่ต้องไปขนส่ง
ดูที่นี่!! เปิดวิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ง่าย สะดวก ไม่ต้องไปขนส่ง

ดูที่นี่!! เปิดวิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ง่าย สะดวก ไม่ต้องไปขนส่ง

บทความนี้ ครูอาชีพดอทคอม ขอแนะนำช่องทางการต่อภาษีรถยนต์ ซึ่งปัจจุบันในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ยังคงระบาดไปทั่วประเทศ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ประชาชนที่ต้องการชำระภาษีรถประจำปีไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานขนส่ง ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ทั้งยังเป็นการลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ดูที่นี่!! เปิดวิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ง่าย สะดวก ไม่ต้องไปขนส่ง
ดูที่นี่!! เปิดวิธีต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ ง่าย สะดวก ไม่ต้องไปขนส่งดูที่นี่!! เปิดวิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ง่าย สะดวก ไม่ต้องไปขนส่ง

กรมการขนส่งทางบก แนะนำใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax ของกรมการขนส่งทางบก รอรับเครื่องหมายการเสียภาษีและใบเสร็จรับเงินทางไปรษณีย์ ภายใน 5 วันทำการ นับจากวันชำระเงิน โดยเมื่อมีการชำระภาษีรถประจำปีผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax เรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงหลักฐานการชำระภาษีรถประจำปีชั่วคราว เพื่อให้เจ้าของรถสามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงการชำระภาษีจนกว่าจะได้รับเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีจากกรมการขนส่งทางบก

นอกจากนี้ กรมการขนส่งทางบกยังได้พัฒนาบริการรับชำระภาษีรถประจำปีอีกหลากลายช่องทางที่อำนวยความสะดวกไม่ต้องเดินทางมาสำนักงานขนส่ง เช่น เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, โมบายล์แอปพลิเคชัน mPAY และ Truemoney Wallet ซึ่งไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถชำระภาษีรถประจำปีได้ เบื้องต้นรองรับเฉพาะรถที่ไม่เข้าข่ายต้องนำรถไปตรวจสภาพ อาทิ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่ได้เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก ที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี ไม่ถูกอายัดทะเบียน ไม่ใช่รถที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทก๊าซ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้ ส่วนรถที่เข้าข่ายต้องตรวจสภาพก่อนชำระภาษีประจำปี สามารถใช้บริการชำระภาษีโดยไม่ต้องลงจากรถหรือบริการเลื่อนล้อ ต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ณ สำนักงานขนส่ง, ที่ทำการไปรษณีย์, ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมโครงการ หรือที่สำนักงานขนส่งทุกแห่งทั่วประเทศ

ประเภทรถยนต์ที่สามารถยื่นชำระภาษีผ่าน e-Service ได้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล อายุไม่เกิน 7 ปี
  • รถจักรยานยนต์ อายุไม่เกิน 5 ปี
  • รถที่ค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี และมีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม (หากค้างเกิน 1 ปี และมีน้ำหนักเกิน 2,200 กิโลกรัม จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) และยื่นชำระภาษีที่สำนักงานขนส่งเท่านั้น) โดยและชำระภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน

    *หมายเหตุ* กรมการขนส่งทางบกได้พัฒนาเว็บไซต์ชำระภาษีรถประจำปี ให้สามารถรองรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋ง), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะ) ที่มีอายุการใช้งานเกิน 7 ปี รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรกได้แล้ว โดยมีเงื่อนไขคือ รถนั้นต้อง “ผ่าน” การตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ก่อน จึงจะดำเนินการตามขั้นตอนชำระภาษีในเว็บไซต์ได้

ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ออนไลน์ผ่าน e-Service

1. เข้าไปยังเว็บไซต์   https://eservice.dlt.go.th

2. Log-in เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียนเพื่อขอรับรหัสผ่าน (สำหรับสมาชิกใหม่) “เลือกลงทะเบียนสมาชิกใหม่”

3. จากนั้นเลือก “ชำระภาษีรถประจำปี” ในเมนูย่อยเลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”

4. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถและยื่นชำระภาษี และกรอกรายละเอียดหลักฐานการเอาประกันตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือซื้อจากระบบ

5. กรอกข้อมูลที่อยู่ในการจัดส่งเอกสารให้ครบถ้วนและถูกต้อง

6. เลือกช่องทางชำระเงิน (หักบัญชีเงินฝาก/ตัดบัตรเครดิต/บัตรเดบิต/ชำระผ่านตู้ ATM/เคาน์เตอร์/โมบายแบงค์กิ้ง)

7.   การตรวจสอบสถานะสามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินการยื่นชำระภาษี สถานะการจัดส่งเอกสาร หมายเลข EMS เลขกรมธรรม์ หรือปัญหาจากการยื่นชำระ ได้ที่เมนู “ตรวจสอบผลการชำระภาษี/เปลี่ยนช่องทางชำระเงิน”

ขั้นตอนการชำระภาษีรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ออนไลน์ผ่าน DLT Vehicle Tax

1.ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax (ดาวน์โหลดได้ที่  iOS และ Android)

2. กรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบ

3. รับรหัส OTP ผ่านอีเมล และกดยืนยัน

4. ตั้งรหัส PIN 6 หลัก

5. เลือกรูปแบบชำระภาษีรถตัวเอง

6. ใส่เลขบัตรประจำตัวประชาชน 

7. เลือกประเภทรถที่จ่ายภาษี

8. กรอกข้อมูลเลขทะเบียน และใส่ข้อมูลประกันภัย (พ.ร.บ.)

9. เลือกรับเครื่องหมายผ่านไปรษณีย์ และกรอกที่อยู่

10. เช็กข้อมูลและจำนวนภาษีที่จ่าย

11. เลือกวิธีจ่ายเงิน มีทั้ง QR ชำระเงิน และ แอปฯ SCB Easy App

ดูที่นี่!! เปิดวิธีต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ง่าย สะดวก ไม่ต้องไปขนส่ง
ดูที่นี่!! เปิดวิธีต่อภาษีรถยนต์ ออนไลน์ ง่าย สะดวก ไม่ต้องไปขนส่ง

อัตราค่าบริการ

  • ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท
  • ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) 2% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของยอดเงินทั้งหมด

ขั้นตอนทั้งหมดตั้งแต่ชำระเงินภาษีสำเร็จจนถึงวันที่ได้รับเอกสารทางไปรษณีย์ไม่เกิน 5 วันทำการ โดยเจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนไปปรับบันทึกรายการชำระภาษีได้ที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขาทั่วประเทศ

ดาวน์โหลดคู่มือ

ขอบคุณที่มา :  silkspan,  sanook

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่