ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 8/2564 อนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 8/2564 อนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 8/2564 อนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 8/2564 ในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม 2564  โดยมีนางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และมีมติที่สำคัญ ดังนี้

ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 8/2564 อนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ผลการประชุม ก.ค.ศ. ครั้งที่ 8/2564 อนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1. อนุมัติ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

             สืบเนืองจากที่ ก.ค.ศ. ได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ว 3/2564) รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ใหม่ ทั้ง 4 สายงาน (ว 9 – ว 12 /2564) ซึ่งหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว จะสอดคล้องกับระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยกำหนดให้นำผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลง (Performance Agreement : PA) ไปใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน เพื่อลดความซ้ำซ้อนจากการประเมิน ลดภาระงานของข้าราชการครูฯ ลดภาระด้านงบประมาณภาครัฐ รวมทั้งเกิด การเชื่อมโยงบูรณาการกันระหว่างการประเมินแต่ละระบบ ซึ่ง ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564  เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติอนุมัติหลักการการประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้กำหนดรูปแบบการประเมินที่ใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินมาใช้ ทั้งการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ รวมทั้งการประเมินผลการปฏิบัติงาน เพื่อเลื่อนเงินเดือน ที่เน้นระบบการประเมินแบบ Performance-based Appraisal เป็นหลัก โดยใช้ระบบการประเมินแบบ Result-based Appraisal ร่วมด้วย โดยทุกตำแหน่งจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) (ยกเว้นครูผู้ช่วย) ซึ่งสาระสำคัญของ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการนี้ ประกอบด้วย

          องค์ประกอบการประเมิน  (100 คะแนน) มี 3 องค์ประกอบ

                   1) การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงาน 80 คะแนน

                    2) การประเมินการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา 10 คะแนน

                    3) การประเมินการปฏิบัติตนในการรักษาวินัยฯ 10 คะแนน

          เครื่องมือ การประเมินข้อตกลง PA เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ การประเมินคงวิทยฐานะ และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ใช้ตัวชี้วัดชุดเดียวกัน

          วิธีการประเมิน 

              1) องค์ประกอบที่ 1 

                   รอบที่ 1   1. นำ PA มากำหนดขอบเขตผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง

                                  2. ให้ประเมินตามขอบเขตผลการปฏิบัติงานที่คาดหวัง

                     รอบที่ 2  ให้นำผลการประเมิน PA มาใช้ประกอบการพิจารณา

              2) องค์ประกอบที่ 2 และ 3  ทั้ง 2 รอบ ให้ประเมินตามสภาพการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตน

          การนำผลการประเมินไปใช้ การพิจารณาเลื่อนเงินเดือน  การประเมินคงวิทยฐานะ การเป็นคุณสมบัติ     ในการเลื่อนวิทยฐานะ

2. เห็นชอบรายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

              สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ขอให้ ก.ค.ศ. พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เนื่องจากหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกบุคคล เพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และผู้อำนวยการสถานศึกษา ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.6/ว 8 ลงวันที่ 26 เมษายน 2562 ข้อ 5 กำหนดให้ส่วนราชการดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้อำนวยการสถานศึกษา แล้วแต่กรณี เมื่อส่วนราชการดำเนินการตามข้อ 5 แล้ว ให้นำเสนอ ก.ค.ศ. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนแจ้ง กศจ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ. ตั้ง ดำเนินการต่อไป โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลฯ ดังนี้

          องค์ประกอบในการคัดเลือก มีการทดสอบ 3 ภาค

                   ภาค ก สมรรถนะในการบริหารงาน (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

                   ภาค ข ความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในหน้าที่  (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)

                   ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

                   ให้ดำเนินการประเมินตามตัวชี้วัดองค์ประกอบการประเมิน คะแนนการประเมิน กรอบการพิจารณา และวิธีการประเมินตามที่กำหนดไว้ในใบสมัคร

          เกณฑ์การตัดสิน ผู้ผ่านการคัดเลือกภาค ก ต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 จึงมีสิทธิเข้ารับการประเมินภาค ข และภาค ค ผู้ผ่านภาค ข และภาค ค แต่ละภาคต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 และได้คะแนนรวมทั้ง 3 ภาค แล้ว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 โดยให้ประกาศรายชื่อเรียงตามลำดับคะแนนรวม ภาค ก ภาค ข และภาค ค จากมากไปหาน้อย กรณีคะแนนรวมเท่ากัน ให้ผู้ได้คะแนนภาค ข มากกว่าอยู่ในลำดับที่ดีกว่า หากคะแนนภาค ข เท่ากัน ให้ผู้ได้คะแนนภาค ค มากกว่าอยู่ในลำดับที่ดีกว่า หากคะแนน ค ยังเท่ากันอีก ให้ผู้อาวุโสเป็นผู้อยู่ในลำดับที่ดีกว่า

          เงื่อนไขการขึ้นบัญชี ขึ้นบัญชีผู้ได้รับการคัดเลือกไว้ไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศขึ้นบัญชี

              ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่ารายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกฯ ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเสนอ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ที่ ก.ค.ศ. กำหนด (ว 8/2562) และเป็นไปตามมติ ก.ค.ศ. ในการประชุมครั้งที่ 11/2562 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งกำหนดให้เพิ่มระยะเวลาการประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่เพื่อพัฒนาการศึกษา จาก 6 เดือน เป็น 1 ปี นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา (ว 3/2564) บริบทของสถานศึกษา และหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา ในการบริหารกิจการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จึงมีมติเห็นชอบรายละเอียดการดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเสนอ

3. อนุมัติจัดสรรคืนอัตราว่างจากผลการเกษียณอายุราชการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เมื่อสิ้นปีงบประมาณปี พ.ศ. 2564 ให้กับส่วนราชการต่าง ๆ รวม 20,453 อัตรา ดังนี้

         สังกัด สพฐ. 

               ผอ.สพท.                                     จำนวน        42     อัตรา

               รอง ผอ.สพท.(ตำแหน่งโครงสร้าง)     จำนวน        60     อัตรา   

               ผอ.สถานศึกษา                              จำนวน   2,046     อัตรา

               รอง ผอ. สถานศึกษา                       จำนวน     186      อัตรา

               ครูผู้ช่วย                                       จำนวน  16,553     อัตรา

               ศึกษานิเทศก์                                 จำนวน      128     อัตรา

               บคศ.อื่นตาม ม.38 ค.(2)                  จำนวน      292     อัตรา

               พนักงานราชการ                             จำนวน       32      อัตรา

                                                                รวม         19,339     อัตรา

                สงวนอัตราว่างจากโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 5,041 อัตรา

        สังกัด สป. 

        สำนักงาน กศน.

              ผอ.สนง.กศน.จังหวัด                         จำนวน     6     อัตรา

              รอง ผอ.สนง.กศน.จังหวัด                   จำนวน     4     อัตรา   

              ครูผู้ช่วย                                         จำนวน     48   อัตรา

              ศึกษานิเทศก์                                   จำนวน     10   อัตรา

              บคศ.อื่นตาม ม.38 ค.(2)                     จำนวน     13   อัตรา

              พนักงานราชการ                                จำนวน      1   อัตรา

                                                                        รวม       156  อัตรา

               สงวนอัตราว่างจากโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 6 อัตรา

         สป.ศธ.(เดิม)

                ศึกษาธิการจังหวัด                             จำนวน     13    อัตรา

                รองศึกษาธิการจังหวัด                        จำนวน       2    อัตรา   

                ศึกษานิเทศก์                                   จำนวน     42    อัตรา

                บคศ.อื่นตาม ม.38 ค.(2)                     จำนวน    46    อัตรา

                พนักงานราชการ                                จำนวน      5    อัตรา

                                                                          รวม      108   อัตรา

        สอศ. 

                ผอ.สถานศึกษา                                จำนวน     51    อัตรา

                รอง ผอ.สถานศึกษา                           จำนวน    49     อัตรา   

               ครูผู้ช่วย                                          จำนวน     738   อัตรา

               ศึกษานิเทศก์                                    จำนวน        1    อัตรา

               บคศ.อื่นตาม ม.38 ค.(2)                     จำนวน       10    อัตรา

               พนักงานราชการ                               จำนวน         1    อัตรา

                                                                        รวม        850    อัตรา

                 สงวนอัตราว่างจากโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 275 อัตรา

            4. อนุมัติ การย้ายและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในสังกัดสพม. ให้ดำรงตำแหน่งและวิทยฐานะเดิม ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งใหม่ จำนวน 3 ราย ทั้งนี้ ให้มีผลการย้ายและแต่งตั้ง ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ตามที่ สพฐ. เสนอ

          5. อนุมัติ การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ได้รับการคัดเลือกและ ผ่านการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งฯ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 17 ราย โดยคงให้ได้รับวิทยฐานะตามที่ได้รับอยู่เดิม ทั้งนี้ ให้มีผลการแต่งตั้ง ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ตามที่ สพฐ. เสนอ

          6. อนุมัติ การย้ายและแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสังกัด สพม. ให้ดำรงตำแหน่งและวิทยฐานะเดิม และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งใหม่ จำนวน 37 ราย ทั้งนี้ ให้มีผลการย้ายและแต่งตั้ง ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ตามที่ สพฐ. เสนอ

          7.อนุมัติ การบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ได้รับการคัดเลือกและ ผ่านการพัฒนาก่อนการแต่งตั้งฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 11 ราย โดยคงให้ได้รับเงินเดือนและได้รับวิทยฐานะตามที่ได้รับอยู่เดิม ทั้งนี้ ให้มีผลการแต่งตั้ง ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ตามที่ สพฐ. เสนอ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่