ตรีนุช ย้ำ!! บริหารจัดการดีก็ไม่ต้องยุบ-ควบรวม รร.ขนาดเล็ก
ตรีนุช ย้ำ!! บริหารจัดการดีก็ไม่ต้องยุบ-ควบรวม รร.ขนาดเล็ก

เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่จังหวัดพังงา น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจติดตามนโยบายการจัดการศึกษาในพื้นที่จังหวัดพังงา โดย น.ส.ตรีนุช กล่าวว่า ตนได้ตรวจเยี่ยมโรงเรียนบ้านลำวะ โรงเรียนบ้านกระโสมและวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) พังงา ซึ่งเป็นการติดตามนโยบายหลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) คือโรงเรียนคุณภาพประจำชุมชน และโครงการพาน้องกลับมาเรียน

ซึ่งพบว่าในส่วนของโครงการพาน้องกลับมาเรียนของวษท.พังงายังมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพได้น้อยและยังไม่ตรงเป้าหมายเท่าที่ควร ดังนั้น วษท.พังงาจะต้องทำงานบูรณาการกับจังหวัดให้มากขึ้น พร้อมกับสื่อสารทำความเข้าใจให้แก่ชุมชนได้รับทราบถึงโครงการอาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพด้วย

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า สำหรับการตรวจเยี่ยมโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดพังงา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นั้น โรงเรียนบ้านลำวะ มีนักเรียน จำนวน 34 คน โรงเรียนบ้านกระโสม มีนักเรียน จำนวน 145 คน ซึ่งโรงเรียนทั้งสองแห่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนจากชุมชนอย่างเข็มแข็งไม่ว่าการช่วยเหลือด้านงบประมาณ และการคมนาคม อีกทั้งโรงเรียนบ้านกระโสมถือเป็นโรงเรียนแม่ข่ายที่มีการช่วยเหลือด้านทรัพยากรให้แก่โรงเรียนบ้านลำวะ เพราะโรงเรียนบ้านกระโสมมีครูครบชั้น ดังนั้นแม้ทั่วประเทศยังพบโรงเรียนขนาดเล็กอยู่จำนวนมาก แต่หากบริหารจัดการได้อย่างมีคุณภาพก็เป็นเรื่องน่ายินดีและอาจไม่จำเป็นต้องไปยุบหรือควบรวมในส่วนของงบอาหารกลางวันในกลุ่มโรงเรียนขนาเล็กที่ได้รับในจำนวนที่น้อยและจะจัดอาหารหลางวันให้เด็กอย่างทั่วถึงหรือไม่นั้น เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตนกำลังดำเนินการปรับแก้ไขอยู่ในรูปแบบการเพิ่มเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน

ซึ่งที่ผ่านมาตนก็ได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูแลเรื่องอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนว่าถูกหลักโภชนาการหรือไม่แต่อาจจะพบปัญหาในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนต่ำกว่า 120 คน ส่วนโรงเรียนขนาดใหญ่ทางโรงเรียนสามารถบริหารจัดการงบประมาณได้ง่ายกว่า ซึ่งจะเห็นว่าโรงเรียนขนาดเล็กบางพื้นที่ครูและนักเรียนได้ปรับเปลี่ยนโดยปลูกพืชผัก เพื่อนำมาใช้ประกอบเป็นอาหารกลางวันเพิ่มเติม แต่ต้องยอมรับว่าในบางพื้นที่ไม่สามารถจัดการได้สมบูรณ์100% ทั้งนี้อาจจะให้โรงเรียนขนาดเล็กไปทำอาหารรวมกับโรงเรียนแม่ข่ายที่มีจำนวนเด็กมาก แล้วแบ่งอาหารให้กับโรงเรียนขนาดเล็กในแต่ละวันด้วยก็ได้ อย่างไรก็ตามตนได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแลช่วยเหลือ เพราะอาหารถือเป็นส่วนสำคัญ และมีผลอย่างมากต่อพัฒนาการด้านสมองของเด็ก.

ขอบคุณที่มา : Facebook At_HeaR ข่าวจริงเข้าหู

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่