การดำเนินงานระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ School Health Hero โดย แพทย์หญิงวิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ School Health Hero
School Health Hero (Health and Educational Reintegrating Operation) หรือ ระบบ HERO คือ ระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ เพื่อเฝ้าระวัง เรียนรู้ ดูแล รับการปรึกษา และส่งต่อเพื่อดูแลนักเรียนที่เสี่ยงต่อปัญหาพฤติกรรม อารมณ์ และทักษะสังคมบนระบบดิจิทัล
เครื่องมือ 95 คือเครื่องมือสังกตอาการเพื่อเฝ้าระวังปัญหาพฤติกรรม อารมรมณ์ และ ทักษะสังคม เด็กนักเรียนอายุ 6 – 15 ปีเครื่องมือ 9S Plus เป็นการประเมินความเสี่ยงใน 3 กลุ่มอาการที่เด็กนักเรียนอาจมีปัญหาได้แก่กลุ่มพฤติกรรม (ได้แก่ ซนเกินไป ใจลอย รอคอยไม่ได้) กลุ่มอารมณ์ (ได้แก่ เครียดหงุดหงิดง่าย ท้อแท้เบื่อหน่าย ไม่อยากไปโรงเรียน) กลุ่มทักษะสังคม (ได้แก่ ถูกเพื่อนแกล้ง แกล้งเพื่อน ไม่มีเพื่อน) แต่ละกลุ่มอาการจะประกอบด้วยคำถามจริง/เท็จ 3 ข้อรวม 9 ข้อหากเด็กไม่มีความเสี่ยงต่อปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ชัดเจนครูจะต้องทำแบบสังเกตอาการ 9 ข้อนี้เพื่อประเมินความเสี่ยงทุกคน 9S PlUs เป็นช่องทางพิเศษ (Red Flag) สำหรับการส่งต่อนักเรียนที่มีปัญหาหรือสภาวะที่ต้องการดูแลทันทีโดยไม่ต้องผ่านการเฝ้าระวัง 9S
โดยนักเรียนที่สามารถใช้ 9S Plus ได้แก่
- นักเรียนที่ผ่านการคัดกรอง หรือเครื่องมืออื่นใด และพบความเสี่ยง
- นักเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมที่ครูเห็นชัดเจน
Red Flag ได้แก่
- เด็กมีความเสี่ยงต่อปัญหาพฤติกรรม/อารมณ์/สังคม หรือจาการประเมินอื่นๆ
- เด็กมีปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่น / เสี่ยงด้านเพศ/สารเสพติด/ติดเกม ปัญหาแร่งด่วนอื่นๆ
แบบประเมิน SDQ
แบบประเมินจุดแข็งจุดอ่อน (The Strengths and Difficulties Questionnaire – SDQ) คือเครื่องมือที่ใช้ในการคัดกรองปัญหาสุขภาพจิตในเด็กของกรมสุขภาพจิต แบบทดสอบ SDQ ประกอบด้วยคำถาม 25 ข้อ ซึ่งใช้ประเมินพฤติกรรมด้านบวกและลบของเด็ก 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์ พฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง เกเร ความสัมพันธ์กับเพื่อน และสัมพันธภาพทางสังคม ในการทำแบบทดสอบ SDQ ครูจะต้องตอบคำถามให้ครบทั้ง 25 ข้อ จากนั้นระบบจะประเมินความเสี่ยงในแต่ละด้านให้โยอัตนมัติ และจะประเมินผล ความเสี่ยงโดยรวมให้อีกด้วย
สุขภาพจิตนักเรียนคือ สภาพชีวิตที่เป็นสุข มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ มีทัศนคติที่ดีต่อครอบครัว สังคม บุคคลอื่น มีความสามารถในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่จะต้องพบได้อย่างเหมาะสมตามวัยตลอดจนสามารถปรับตัวดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การดำเนินงานสุขภาพจิตในโรงเรียนคือ กระบวนการที่ให้การส่งเสริม ป้องกัน และดูแลสุขภาพจิตของนักเรียน โดยมีโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของกระบวนการ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ ที่สามารถสังเกตและประเมินศักยภาพหรือปัญหาของนักเรียนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ช่วยให้สามารถเข้าถึงนักเรียนได้ง่าย
เริ่มต้นการใช้งาน School Health Hero
การดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง
ผลการดำเนินงาน School Health Hero
ติดตามรับชมย้อนหลัง
การเตรียมความพร้อมรับมือวิกฤตสุขภาพจิตในโรงเรียน Mental Health Crisis in School Setting”
- พิธีเปิด และมอบนโยบาย โดย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. https://www.youtube.com/watch?v=RoUN8xHZ0s8
- การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาพจิตนักเรียน โดย ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. https://www.youtube.com/watch?v=BMPVHy6N5Mg&feature=youtu.be
- การเตรียมความพร้อมรับมือวิกฤตสุขภาพจิตในโรงเรียน โดย พญ.ดุษฎี จึงศิรกุลวิทย์ ผอ.กองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต https://www.youtube.com/watch?v=TNIqAFqFKWc
- การดำเนินงานระบบสุขภาพจิตโรงเรียนวิถีใหม่ โดย แพทย์หญิงวิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ https://www.youtube.com/watch?v=Tymkeye00Y0
บทความที่เกี่ยวข้อง
- กรมสุขภาพจิต ผุดแอปพลิเคชั่น HERO (Health And Educational Reintegrating Operation) เฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น
- คอร์สเรียนออนไลน์ฟรี การดูแลสุขภาวะครู พร้อมวิธีการเช็คสุภาพจิตของครู โดย Starfish Labz
- คู่มือการใช้งาน School Health HERO สำหรับครู โดยสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์
- สพฐ.เชิญชวน ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ หลักสูตรการให้การปรึกษาวัยรุ่น อบรมฟรี เรียนจบรับเกียรติบัตร โดยกรมสุขภาพจิต