แนวทางการยื่นขอรับบำเหน็จหรือบำนาญ สำหรับข้าราชการที่จะเกษียณอายุราชการ และสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ
จัดเตรียมเอกสาร
เอกสารประกอบการ ขอรับ บำเหน็จ บำนาญ ในปีงบประมาณที่ท่านจะเกษียณราชการ ท่านต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้พร้อมสำหรับการขอยื่นเรื่องรับสิทธิบำเหน็จหรือบำนาญ ดังนี้
- แบบขอรับเงินเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญฯ (แบบ 5300)
- ใบรับรองสมุดประวัติฯ (แบบ 5302)
- สมุดประวัติ หรือ ก.พ. 7 (ฉบับจริง)
- สำเนาคำสั่งให้ออก หรือ ประกาศเกษียณ
- สำเนาคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน (ปัจจุบัน)
- หลักฐานการมีสิทธิได้นับเวลาทวีคูณ (ถ้ามี)
- แบบ สรจ.1 (แบบลดหย่อนภาษี)
- แบบ สรจ.3 (แบบขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ)
- เอกสารประกอบอื่นๆ เช่น ใบเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุล เป็นต้น
- สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารที่จะรับเงินเข้าบัญชี
- แบบ กบข. รง 008/1/2555 (กรณีเป็นสมาชิก กบข.)
- แบบขอรับเงินเพิ่มฯ (แบบ 5316) กรณีขอรับเงินเพิ่มเนื่องจากมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน
หมายเหตุ สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้จากเว็ไซต์กรมบัญชีกลาง www.ced.go.th หัวข้อ บำเหน็จ บำนาญ/บำเหน็จค้ำประกัน
เตรียมการยื่นเรื่องขอรับบำเหน็จหรือบำนาญ
เมื่อท่านจัดเตรียมเอกสารหลักฐานดังกล่าวเรียบร้อยแล้วท่านสามารถดำเนินการยื่นขอรับบำเหน็จหรือบำนาญได้ 2 วิธี คือ
1.การยื่นด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-filing) (ดูรายละเอียดหน้า 33)
2. การส่งยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนต้นสังกัด(ส่วนราชการสุดท้ายก่อนออกจากราชการ)
โดยสามารถยื่นล่วงหน้าได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ แต่อย่างช้าไม่เกินเดือนกรกฎาคมของปีที่ท่านเกษียณ โดยไม่ต้องรอคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งสุดท้าย ให้ใช้ฐานข้อมูลเงินเดือนปัจจุบันยื่นเรื่องฯ ไปพลางก่อน เพื่อกรมบัญชีกลาง หรือ สำนักงานคลังเขต จะได้ตรวจสอบและอนุมัติสั่งจ่ายบำเหน็จหรือบำนาญได้ทันภายในช่วงสิ้นปีงบประมาณหากท่านส่งเรื่องขอรับบำเหน็จหรือบำนาญ ล่าช้า อาจกระทบต่อการรับเงินบำเหน็จหรือบำนาญ และความต่อเนื่องของการใช้สิทธิสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลตามโครงการจ่ายตรงของผู้รับบำนาญใหม่
ส่งเรื่องล่าช้า…การพิจารณาอนุมัติอาจล่าช้า
เตรียมการยื่นเรื่อง ขอรับเงินก้อนจาก กบข.
หากท่านเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ท่านจะได้รับเงินก้อนหนึ่งจาก กบข. เมื่อเกษียณอายุราชการ ท่านควร
ดำเนินการดังนี้
1. ยื่นเรื่องขอรับเงินจาก กบข.
โดยจัดทำแบบขอรับเงินจากกองทุน/ แบบ กบข.รง.008/1/2555 พร้อมแนบสำเนาคำสั่งให้ออกหรือประกาศเกษียณและสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (กรณีเลือกวิธีโอนเงินเข้าบัญชี)ยื่นเรื่องต่อนายทะเบียนต้น สังกัด เพื่อจัดส่งให้ กบข. ทางไปรษณีย์หรือส่งข้อมูลผ่านทางระบบบำเหน็จบำนาญ (e-Pension)ต่อไป
2. ตรวจสอบข้อมูลยอดเงินที่จะได้รับจาก กบข.
ท่านควรตรวจสอบข้อมูลยอดเงินที่จะได้รับจาก กบข. (โดยประมาณ)ล่วงหน้า เพื่อทราบยอดเงินที่จะได้รับสำหรับการวางแผนทางการเงินของท่าน ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ 3ช่องทาง ดังนี้
1) ขอรับบริการผ่าน Call Center ของ กบข. โทร.1179
2) ขอรับบริการผ่านระบบบริการทันใจ GPF Web Service จากเว็บไซต์ กบข.
3) ขอรับบริการผ่านบัตรและเครื่อง ATM ธนาคารกรุงไทย
ตรวจสอบประวัติ
ก่อนออกจากราชการ ท่านต้องตรวจสอบความถูกต้องเกี่ยวกับประวัติของท่านกับนายทะเบียนต้นสังกัด(ส่วนราชการสุดท้ายก่อนออกจากราชการ)ให้เรียบร้อยว่ามีการบันทึกข้อมูลประวัติของท่านในระบบ e-Pension ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์แล้วหรือไม่ โดยเฉพาะข้อมูล ที่สำคัญดังนี้
- คำนำหน้าชื่อ ชื่อ – สกุล ของท่าน ถูกต้องหรือไม่
- ที่อยู่ ของท่าน สามารถติดต่อได้และเป็นปัจจุบันหรือไม่
- คำนำหน้าชื่อ ชื่อ – สกุล บุคคลในครอบครัวท่าน
- (พ่อ แม่ สามี/ภรรยา และบุตร)
ถูกต้องหรือไม่
มีสถานะข้อมูล สมบูรณ์ ทุกคนหรือไม่ - บุคคลอื่น > ท่านเสดงเจตนา ระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดและเงินช่วยพิเศษแล้วหรือไม่
นายทะเบียนต้นสังกัดท่าน บันทึกข้อมูลบุคคลที่ท่านแสดงเจตนาไว้ในระบบฯ แล้วหรือไม่
หากท่านพบว่า ข้อมูลของท่านไม่ถูกต้อง หรือไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ควรดำเนินการแจ้งนายทะเบียนต้นสังกัดแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ถูกต้อง เพื่อท่านจะได้ไม่ต้องประสบปัญหาต่างๆ ในการขอรับสิทธิประโยชน์จากทางราชการ
บำเหน็จ(ไม่เป็นสมาชิก กบข.)
กรณีที่ท่านเลือกรับบำเหน็จ ท่านจะได้รับเงินก้อนใหญ่เพียงครั้งเดียว
โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้
1. กรณีไม่เป็นสมาชิก กบข.
วิธีการคำนวณ= เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการปกติรวมทวีคูณ
ตัวอย่าง ข้าราชการได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้าย 36,000 บาท
มีเวลาราชการ 36 ปี 4 เดือน 15 วัน
เงินบำเหน็จ = เงินเดือนดือนสุดท้าย X เวลาราชการปกติรวมทวีคูณ
36,000 x 36 = 1,296,000.- บาท
หมายเหต: เศษเดือนที่ไม่ถึง 6 เดือน ให้ตัดทิ้ง ถ้าถึง 6 เดือน ให้ปัดเป็น 1 ปี
ตัวอย่าง ข้าราชการได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้าย 36,000 บาท
มีเวลาราชการ 36 ปี 6 เดือน
เงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการปกติรวมทวีคูณ
36,000 x 37 = 1,332,000.- บาท
บำเหน็จ(เป็นสมาชิก กบข.)
2. กรณีเป็นสมาชิก กบข.
วิธีการคำนวณ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการปกติรวมทวีคูณ
นอกจากจะได้รับเงินก้อนตามวิธีการคำนวณดังกล่าวแล้ว ท่านจะได้รับเงินสะสมเงินสมทบและดอกผลจากเงินสะสมและเงินสมทบ
ตัวอย่าง ข้าราชการได้รับเงินเดือนเดือนสุดท้าย 36,000 บาท มีเวลาราชการ 36 ปี 4 เดือน 15 วัน (36.37 ปี)
การคำนวณเวลาราชการ
เงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย X เวลาราชการปกติรวมทวีคูณ
36,000 x 36.37= 1,309,320.- บาท
หมายเหตุ: การคำนวณเวลาราชการให้นับจำนวนปี + เศษของปี การนับเศษของปี คือ 12 เดือน และ 360 วัน = ปี
บำนาญเดิม(ไม่เป็นสมาชิก กบข.)
ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
บำนาญ คือ เงินตอบแทนที่ท่านจะได้รับเป็นรายเดือน กรณีที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข. คำนวณได้ดังนี้
บำนาญปกติ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการปกติรวมทวีคูณ /50
หมายเหตุ :บำนาญรายเดือนที่ได้รับต้องไม่เกินเงินเดือนเดือนสุดท้าย
ตัวอย่าง ข้าราชการรับเงินเดือนเดือนสุดท้าย 36,000 บาท
มีเวลาราชการ 36 ปี 4 เดือน 15 วัน
ข้าราชการรายนี้ได้รับเงินบำนาญรายเดือน เดือนละ 25,920.- บาท เนื่องจากอยู่ในเงื่อนไขตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด คือ ต้องไม่เกินเงินเดือน
เดือนสุดท้าย = 36,000 บาท
บำนาญกบข.(เป็นสมาชิก กบข.)
ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
บำนาญปกติ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x เวลาราชการปกติรวมทวีคูณ / 50
หมายเหตุ : บำนาญรายเดือนที่ได้รับต้องไม่เกิน 70%ของเงินเดือนเฉลี่ย 60เดือนสุดท้าย
ตัวอย่าง ข้าราชการมีเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย 30,200 บาท
และมีเวลาราชการ 36 ปี 4 เดือน 15 วัน (36.37 ปี)
บำนาญปกติ (30,200 X 36.37) / 50 = 21,967.48 บาท
หลักเกณฑ์ : บำนาญต้องไม่เกิน 70%ของเงินเดือนเฉลี่ย60เดือนสุดท้าย
30,200 X 70 % = 21,140.- บาท
สรุป ข้าราชการรายนี้ จะได้รับบำนาญเดือนละ 21,140.- บาท และรับเงินก้อนในส่วนของ กบข.ประกอบด้วย เงินประเดิม เงินชดเชย เงินสะสมเงินสมทบ
และดอกผลของเงินดังกล่าว
สิทธิประโยชน์อื่นกรณีเลือกรับบำนาญ
เมื่อท่านเลือกรับบำนาญ ท่านจะได้รับบำนาญรายเดือนและมีสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่องดังนี้
- บำเหน็จดำรงชีพ
- บำเหน็จค้ำประกัน
- บำเหน็จตกทอด
- เงินช่วยพิเศษ
- เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.)
- เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
- เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
บำเหน็จดำรงชีพ
บำเหน็จดำรงชีพ คือ เงินส่วนหนึ่งของบำเหน็จตกทอดที่ทางราชการจะให้ทายาทของผู้รับบำนาญหรือผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาไว้ แล้วแต่กรณี เมื่อผู้รับบำนาญเสียชีวิตไปแล้ว แต่เนื่องจากผู้รับบำนาญเมื่อออกจากราชการไปแล้ว อาจประสบเหตุปัญหาทางด้านการเงินหรือสภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทางราชการจึงช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนโดยให้นำเงินบำเหน็จตกทอดส่วนหนึ่งมาใช้ได้ก่อน ซึ่งผู้รับบำนาญจะขอรับหรือจะไม่ขอรับก็ได้หากไม่ขอรับเงินส่วนนี้จะถูกเก็บเป็นบำเหน็จตกทอดไว้ให้ทายาทของผู้รับบำนาญ หรือผู้ที่ผู้รับบำนาญ
แสดงเจตนาไว้ แล้วแต่กรณี เมื่อยามที่ผู้รับบำนาญเสียชีวิตแล้วการขอรับบำเหน็จดำรงชีพ กรมบัญชีกลางกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ่ายดังต่อไปนี้
หลักเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพ
หลักเกณฑ์การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดไว้ มีดังนี้
การคำนวณบำเหน็จดำรงชีพ จะคำนวณจากเงินบำนาญรายเดือนเท่านั้น จะไม่นำเงินอื่น ๆ มารวมคำนวณ
การขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ ขอรับได้ 2 ครั้ง ตามเงื่อนไขดังนี้
ขอรับครั้งแรก
- เงินบำนาญ x 15 เท่าแต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- ยื่นเรื่องขอรับพร้อมกับเรื่องขอรับบำนาญก็ได้
- หากไม่ยื่นเรื่องขอรับพร้อมกับขอรับบำนาญ ให้ยื่นเรื่องขอรับได้ในเดือน ตุลาคม – ธันวาคม ของทุกปี
ขอรับครั้งที่สอง
- เงินบำนาญ x 15 เท่า หัก บำเหน็จดำรงชีพที่ขอรับครั้งแรก
แต่รวมวงเงินที่ขอรับครั้งแรกและครั้งที่สองแล้วต้องไม่เกิน 400,000 บาท - ยื่นเรื่องขอรับเมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์
จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพในคราวเดียว เมื่ออายุครบ 65 ปีก็ได้
= เงินบำนาญ x 15 เท่า แต่ไม่เกิน 400,000 บาท
การขอรับบำเหน็จดำรงชีพครั้งแรก
ขั้น ตอน การ ขอรับ เงินบำเหน็จดำรงชีพ การขอรับบำเหน็จดำรงชีพครั้งแรก หากผู้รับบำนาญยื่นเรื่องพร้อมกับการขอรับบำนาญครั้งแรกเพียงแจ้งความประสงค์ที่จะขอรับบำเหน็จดำรงชีพในแบบ 5300 (แบบขอรับบำนาญ และยื่นหนังสือรับรองและขอเบิกบำเหน็จดำรงชีพ (แบบ สรจ.3 แต่หากท่านยังไม่ได้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพพร้อมกับเรื่องขอรับบำนาญ ก็สามารถยื่นเรื่องขอรับบำเหน็จดำรงชีพในครั้งแรกได้
เฉพาะในเดือน ตุลาคม -ธันวาคม ของทุกปี และต้องใช้เอกสารหลักฐานยื่นต่อนายทะเบียนต้นสังกัดของท่าน ดังนี้
1) แบบหนังสือรับรองและขอเบิกบำเหน็จดำรงชีพ (แบบ สรจ.3)
2) แบบขอรับเงินเพิ่ม (แบบ 5316) (ส่วนราชการผู้ขอจัดทำ)
สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารที่รับโอนเงินบำเหน็จดำรงชีพ (ต้องไม่เป็นบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทประจำ)
ตัวอย่าง
ท่านได้รับบำนาญรายเดือน เดือนละ 24,000 บาท สิทธิในการขอรับการ
คำนวณบำเหน็จดำรงชีพ = 24,000 x 15 = 360,000 บาท
ท่านจะมีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพครั้งแรกของท่าน = 200,000 บาท
การขอรับบำเหน็จดำรงชีพครั้งที่ ๒
วิธี ขอรับ บำเหน็จดำรงชีพ อายุ 65 ปี เมื่อผู้รับบำนาญอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว ท่านมีสิทธิยื่นเรื่องขอรับบำเหน็จดำรงชีพครั้งที่ 2 โดยกรมบัญชีกลางไม่ได้กำหนดเงื่อนไขช่วงระยะการยื่นเรื่องขอรับฯ อย่างน้อยต้องหลังวันเกิดของท่านเอกสารหลักฐานที่ต้องใช้สำหรับยื่นเรื่องขอรับฯ ต่อนายทะเบียนต้นสังกัดของท่านมีดังนี้
1) แบบหนังสือรับรองและขอเบิกบำเหน็จดำรงชีพ (แบบ สรจ.3)
2) แบบขอรับเงินเพิ่ม (แบบ 53 16) (ส่วนราชการผู้ขอจัดทำ)
3) สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคารที่รับโอนเงินบำเหน็จดำรงชีพ (ต้องไม่เป็นบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทประจำ)
ตัวอย่าง
ท่านได้รับบำนาญรายเดือน เดือนละ 24,000 บาท สิทธิในการขอรับการ
คำนวณบำเหน็จดำรงชีพ = 24,000 x 15 = 360,000 บาท
รับบำเหน็จดำรงชีพครั้งแรกไปแล้ว = 200,000 บาท
ดังนั้นจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จดำรงชีพครั้งที่ 2 – 360,000 – 200,000
= 160,000บาท
บำเหน็จค้ำประกัน
บำเหน็จค้ำประกัน คือ การที่กรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัดได้ออกหนังสือรับรองบำเหน็จตกทอดส่วนที่เหลืออยู่ (หักเงินบำเหน็จดำรงชีพที่ขอรับไปแล้ว เพื่อให้ผู้รับบำนาญไปใช้เป็นหลักประกันการกู้เงินกับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ
สืบเนื่องจากผู้รับบำนาญเมื่อออกจากราชการไปแล้ว อาจประสบปัญหาทางด้านการเงินประสงค์จะขอกู้เงินกับธนาคารแต่ไม่สามารถกู้ได้เนื่องจากไม่มีหลักประกันที่ดี ทางราชการจึงช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้นำเงินบำเหน็จตกทอดส่วนที่เหลือค้ำประกันการกู้เงินธนาคาร โดยออกเป็นหนังสือรับรองฯ ไม่ได้เป็นตัวเงิน
สำหรับผู้รับบำนาญที่จะขอใช้สิทธิบำเหน็จค้ำประกันได้ ต้องเป็นผู้จัดทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด (แบบ 1) และยื่นต่อนายทะเบียนต้นสังกัด (ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ) เพื่อบันทึกข้อมูลในฐานระบบให้เรียบร้อยก่อน จึงจะขอใช้สิทธิบำเหน็จค้ำประกันได้
ขั้นตอนการขอใช้สิทธิบำเหน็จค้ำประกัน
กระบวนการขอใช้สิทธิบำเหน็จค้ำประกันมีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้
- เมื่อท่านมีความประสงค์จะขอใช้สิทธิบำเหน็จค้ำประกัน ท่านต้องไปติดต่อยื่นคำร้องขอรับหนังสือรับรองบำเหน็จค้ำประกันต่อส่วน
ราชการผู้เบิกบำนาญของท่าน - ส่วนราชการจะดำเนินการตรวจสอบสิทธิของท่าน โดยเฉพาะฐานข้อมูลประวัติของท่านในระบบฯ จะต้องมีการแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ มิฉะนั้นจะใช้สิทธิไม่ได้ และท่านต้องยินยอมให้ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญหักเงินบำนาญรายเดือนเพื่อชำระคืนเงินกู้แก่ธนาคารพร้อมทั้งแจ้งให้ทายาทหรือบุคคลที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดได้รับทราบถึงการใช้สิทธิดังกล่าว
- ส่วนราชการผู้เบิกที่รับเรื่องฯ จะดำเนินการบันทึกการขอรับหนังสือรับรองบำเหน็จค้ำประกันส่งให้กรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัดต่อไป
- กรมบัญชีกลาง/สำนักงานคลังจังหวัด จะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในระบบฯ และพิจารณาอนุมัติออกหนังสือรับรองบำเหน็จค้ำประกัน โดยจัดส่งหนังสือรับรองฯ ให้ผู้ขอใช้สิทธิโดยตรงทางไปรษณีย์หรือแจ้งความประสงค์ขอรับด้วยตนเองหรือมอบให้ผู้อื่นมารับแทนตามแบบที่กำหนด
ขั้นตอนการใช้สิทธิบำเหน็จค้ำประกัน
กระบวนการใช้สิทธิบำเหน็จค้ำประกันมีขั้นตอนโดยสรุปดังนี้
- เมื่อท่านได้รับหนังสือรับรองบำเหน็จค้ำประกันจากกรมบัญชีกลาง/สนง.คลังจังหวัดแล้ว สิ่งที่ท่านควรทำอันดับแรก ท่านควรหาข้อมูลเปรียบเทียบเงื่อนไขการกู้เงิน การผ่อนชำระคืนและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของแต่ละธนาคารที่เข้าร่วมโครงการให้ดีก่อน เนื่องจากมีธนาคารเข้าร่วมโครงการถึง 13 ธนาคาร (ในหน้า19)
- เมื่อพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ท่านนำหนังสือรับรองฯ ติดต่อธนาคารที่พิจารณาแล้ว เพื่อดำเนินการขอกู้เงินได้ทันที
- ธนาคารจะตรวจสอบข้อมูลในระบบฯ พิจารณาอนุมัติพร้อมจ่ายเงินกู้ให้แก่ท่านพร้อมส่งข้อมูลการกู้เงินของท่านผ่านระบบฯ ให้กรมบัญชีกลาง เพื่อหักเงินชำระหนี้
- หากท่านผิดสัญญาเงินกู้หรือเสียชีวิตและยังคงเหลือเงินที่ต้องชำระคืนเงินกู้แก่ธนาคารกรมบัญชีกลางจะชำระคืนเงินกู้ในส่วนที่เหลือให้แก่ธนาคาร (แต่ต้องไม่เกินสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่ระบุในหนังสือรับรอง)สำหรับเงินส่วนต่างที่เหลือจากการชำระเงินกู้แก่ธนาคารแล้วจะจ่ายคืนให้แก่ทายาทหรือบุคคลผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดต่อไป
- กรณีที่ท่านชำระเงินกู้มาระยะเวลาหนึ่งหากต้องการกู้เงินเพิ่มเติมท่านก็สามารถตกลงกับธนาคารเพื่อขอขยายวงเงินกู้ได้จากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิมโดยไม่ต้องขอหนังสือฉบับใหม่จาก สนง.คลังจังหวัด
ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการบำเหน็จค้ำประกัน
ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการบำเหน็จค้ำประกัน มี 13 แห่งดังนี้
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โทร.1333
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 1551
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) โทร.0-2888-8888
- ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) โทร.1770
- ธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
โทร. 0-2359-0000 - ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
โทร.1357 - ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
โทร 0-2555-0555 - ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) โทร.1558
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) โทร. 0-2777-7777
- ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำากัด (มหาชน)
โทร. 0-2679-5454 - ธนาคารออมสิน โทร.1115
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ โทร. 0-2645-9000
- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โทร. 1302
บำเหน็จตกทอด
บำเหน็จตกทอด คือ เงินที่รัฐจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ทายาทของผู้รับบำนาญที่ถึงแก่ความตาย ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว
สูตรคำนวณ
บำเหน็จตกทอด- (บำนาญ+ช.ค.บ.(ถ้ามี)x 30-บำเหน็จดำรงชีพที่ได้รับไปแล้ว
สัดส่วนการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดให้ทายาทตามกฎหมาย ดังนี้
- คู่สมรส 1 ส่วน
- บุตร 2 ส่วน (บุตร 3 คนขึ้นไปให้ได้รับ 3 ส่วน)
- บิดา/มารดา 1 ส่วน
หมายเหตุ :
1.ถ้าไม่มีทายาทตามลำดับ 1 – 3 ให้จ่ายให้ผู้ที่ผู้รับบำนาญได้
แสดงเจตนาฯ ไว้ ตามแบบแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด
2.หากผู้รับบำนาญไม่มีทายาทและไม่ได้แสดงเจตนาฯ ตามแบบที่กำหนด
ถือว่าการจ่ายบำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติ
ตัวอย่าง
ท่านรับบำนาญ 24,000 บาท + ชคบ.1,500 บาท = 25,500 x 30 เท่า
= 765,000 บาท
หัก บำเหน็จดำรงชีพที่รับไป 2 ครั้ง (200,000 + 160,000)
บำเหน็จตกทอดที่ทายาทท่านจะได้รับทั้งหมด
= 765,000 – 360,000 = 405,000 บาท
การขอรับบำเหน็จตกทอด
กรณีผู้รับบำนาญเสียชีวิตทายาทตามกฎหมายหรือผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ ต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานมาติดต่อกับส่วนราชการผู้เบิก เพื่อดำเนินการยื่นเรื่องขอรับเงินบำเหน็จตกทอดดังนี้
- หลักฐานเกี่ยวกับการตายของผู้รับบำนาญ (สำเนาใบมรณะบัตร)
- หลักฐานของทายาทตามกฎหมาย หรือ ผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด แล้วแต่กรณี
2.1 หลักฐาน – บิดาของผู้รับบำนาญ
2.2 หลักฐาน – มารดาของผู้รับบำนาญ
2.3 หลักฐาน – คู่สมรสตามกฎหมายของผู้รับบำนาญ
2.4 หลักฐาน – บุตรของผู้รับบำนาญ
(กรณีไม่มีทายาทตามกฎหมาย)
2.5 หลักฐาน -บุคคลที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด
เงินช่วยพิเศษ
เมื่อผู้รับบำนาญเสียชีวิต รัฐจะจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่บุคคลที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาให้เป็นผู้รับเงินช่วยพิเศษหรือทายาทตามกฎหมายของผู้รับบำนาญ เพื่อใช้ในการจัดการงานศพให้แก่ผู้รับบำนาญ
สูตรคำนวณ
เงินช่วยพิเศษ = (บำนาญ+ช.ค.บ.(ถ้ามี))x 3 เท่า
การจ่ายเงินช่วยพิเศษ จะจ่ายตามลำดับผู้มีสิทธิ ดังนี้
- ผู้ที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษ
- คู่สมรส (กรณีถ้าผู้รับบำนาญไม่ได้แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษ)
- บุตร (กรณีมีบุตรหลายคน บุตรจะต้องลงชื่อยินยอมให้บุตรคนใดคนหนึ่งขอรับ และต้องไม่มีบุคคลตามลำดับที่ 1 และ 2 แล้ว)
- บิดามารดา (กรณีไม่มีบุคคลตามลำดับที่ 1 – 3 แล้ว)
- บุคคลใดบุคคลหนึ่ง/หน่วยงานต้นสังกัดที่ดำเนินการจัดงานศพให้ผู้รับบำนาญ(กรณีไม่มีบุคคลตามลำดับที่ 1 – 4 แล้ว)
การขอรับเงินช่วยพิเศษ
การยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยพิเศษจากส่วนราชการผู้เบิกนั้น ผู้มีสิทธิรับเงิน คือ บุคคลที่ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาไว้หรือทายาทตามกฎหมาย
ของผู้รับบำนาญต้องจัดเตรียมเอกสารหลักฐานคือ
- แบบคำขอรับเงินช่วยพิเศษ (ขอรับเอกสารนี้จากส่วนราชการผู้เบิก)
- เอกสารประกอบแบบคำขอรับเงินฯ ดังนี้
ㆍใบมรณะบัตรของผู้รับบำนาญ
ㆍหลักฐานที่แสดงความเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน หลักฐานการสมรสของคู่สมรสผู้ตาย เป็นต้น
หมายเหตุ : ต้องยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยพิเศษ ภายใน 1 ปี
นับแต่วันที่ผู้รับบำนาญเสียชีวิต
สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
เมื่อท่านออกจากราชการ และได้รับอนุมัติให้ได้รับบำนาญเรียบร้อยแล้ว ราชการยังคงดูแลให้สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลท่านและบุคคลในครอบครัว ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2553
สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
เมื่อท่านออกจากราชการ และได้รับอนุมัติให้ได้รับบำนาญเรียบร้อยแล้ว ราชการยังคงดูแลให้สวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบตร พ.ศ.2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร-ส่วนกลาง
หากผู้รับบำนาญพบปัญหา หรือ มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ควรติดต่อสอบถามจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ติดต่อสอบถามจากนายทะเบียนบำนาญที่ส่วนราชการต้นสังกัดของผู้รับบำนาญก่อน
2. หากติดต่อนายทะเบียนบำนาญของท่านแล้ว ยังแก้ไขปัญหาหรือข้อสงสัยของท่านไม่ได้ สามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองบริหารการเบิกจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง บำเหน็จบำนาญ กรมบัญชีกลางซึ่งจัดแบ่งการให้บริการตามหน่วยต้นสังกัดผู้รับบำนาญ ดังนี้
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร-ส่วนภูมิภาค
หากท่านพบปัญหา หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของท่านและไม่สะดวกที่จะติดต่อทั้งส่วนราชการผู้เบิกของท่านและกรมบัญชีกลาง ท่านก็สามารถติดต่อสอบถามที่หน่วยบริการที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคของเรา คือสำนักงานคลังเขตใกล้บ้านท่าน ดังนี้
ตรวจสอบสิทธิ
สำหรับท่านที่เลือกรับบำนาญ เมื่อท่านออกจากราชการไปแล้วสิ่งที่ท่านจะละเลยไม่ได้ คือ การรักษาความถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลประวัติของท่าน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนตัว หรือทายาทตามกฎหมายหรือบุคคลที่ท่านแสดงเจตนาไว้หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไข ทำให้ข้อมูลประวัติตัวบุคคล ไม่เหมือนเดิมตามที่ได้บันทึกไว้ในระบบฯ ท่านต้องรีบนำเอกสารที่เกี่ยวข้องไปแจ้งกับนายทะเบียนต้นสังกัด(ส่วนราชการที่ขอเบิกบำนาญ) ของท่าน เพื่อแก้ไขข้อมูลประวัติในระบบให้ถูกต้อง เช่น
- ชื่อ สกุล ของท่านและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- ที่อยู่ ของท่านและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- เบอร์โทรศัพท์ ของท่านและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
- บัญชีเงินฝากธนาคารที่รับโอนเงินบำนาญ
- รายการลดหย่อนภาษี
ทั้งนี้ เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของท่านและบุคคลที่เกี่ยวข้อง และท่านควรติดต่อนายทะเบียนต้นสังกัด(ส่วนราชการที่ขอเบิกบำนาญ) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อสอบถามข่าวสารจากราชการหรือการเปลี่ยนแปลงหลักกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของท่าน
การโอนบำนาญไปส่วนราชการผู้เบิกใหม่
สำหรับท่านที่เลือกรับบำนาญ เมื่อเกิดความไม่สะดวกในการติดต่อส่วนราชการผู้เบิกบำนาญเดิม ท่านสามารถแจ้งประสงค์ขอโอนบำนาญไปยังส่วนราชการผู้เบิกใหม่ได้ในส่วนราชการเดียวกัน (สังกัดเดียวกัน)โดยมีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
- ท่านแจ้งความประสงค์ต่อส่วนราชการผู้เบิกบำนาญเดิม เพื่อขอโอนการรับบำนาญไปส่วนราชการผู้เบิกใหม่
- ส่วนราชการผู้เบิกบำนาญเดิมของท่าน จะจัดทำหนังสือสำคัญการโอนเบี้ยหวัดบำนาญ (แบบ สรจ.1) เสนอผู้มีอำนาจให้ความเห็นชอบแล้วส่งข้อมูลผ่านระบบบำเหน็จบำนาญ (ระบบ e Pension) ไปให้กรมบัญชีกลางเพื่อสั่งจ่ายโอนบำนาญไปจ่ายทางส่วนราชการผู้เบิกใหม่กรณีไม่สามารถส่งหลักฐานผ่านระบบบำเหน็จบำนาญได้ให้ส่งทางไปรษณีย์
- กรมบัญชีกลางตรวจสอบข้อมูลและพิจารณาสั่งให้โอนบำนาญและส่งแบบ สรจ.11 ให้ส่วนราชการผู้เบิกเดิมและส่วนราชการผู้เบิกใหม่ผ่านระบบบำเหน็จบำนาญ(ระบบ e-Pension) เพื่อแจ้งนายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญบันทึกรายการทางทะเบียนต่อไป
หมายเหตุ: เมื่อกรมบัญชีกลางสั่งโอนบำนาญไปส่วนราชการผู้เบิกใหม่เรียบร้อย ท่านสามารถติดต่อเกี่ยวกับการขอเบิกสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้จากส่วนราชการผู้เบิกใหม่ อาทิ ค่ารักษาพยาบาล บำเหน็จตกทอด การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของท่าน เป็นต้น
การยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองทางอิเล็กทรอนิกส์ (Pensions’ Electronic Filing:e-filing)
ผู้ที่สามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเอง
- ข้าราชการที่พ้นจากราชการและมีสิทธิได้ รับบำเหน็จบำนาญ
- ลูกจ้างประจำที่ออกจากงานและมีสิทธิได้รับบำเหน็จ หรือบำเหน็จรายเดือน
ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตทาง https://dps.cgd.go.th/efiling-pension/
ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตทาง
- กรณีเกษียณอายุ ยื่นได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ของทุกปี
- กรณีลาออก ให้ออก ปลดออก ยื่นได้ตั้งแต่วันที่พ้นจากราชการ
วิธีการสมัครใช้งานระบบ e-filing
1.ขอรหัสเพื่อใช้งานในระบu e-filing ทางอินเตอร์เน็ต (ผ่าน google chrome) โดยไปที่ลิ้งค์ https://dps.cgd.go.th/efiling-pension/
2.เลือกลงทะเบียน
2.1 ลงทะเบียนเข้าใช้งานในระบบโดยป้อนรายละเอียดเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก ชื่อ-นามสกุล วัน/เดือน/ปีเกิด เลขที่บัญชีธนาคารที่ใช้สำหรับโอนเงินเดือน และหมายเลขโทรศัพท์มือถือ (หากมีเครื่องหมาย”สีแดง ให้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน)
2.2 เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อย ระบบจะสร้าง รหัสผู้ใช้งาน และหัสผ่าน โดยแสดงรหัสผ่านที่หน้าจอ และระบบจะดำเนินการส่งรหัสผ่านไปใน e-mail ที่ระบุ ผู้ลงทะเบียนต้องจดรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานระบบ
2.3 นำรหัสผ่านที่ได้จากข้อ 2.2 ไปใช้งานในระบบ e-filing โดยเข้าไปที่ url ตามข้อ 1 (ผ่าน google chrome) เพื่อยื่นเรื่องขอบำเหน็จบำนาญต่อไป
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. สามารถติดตามขั้นตอนการยื่นขอรับบำเหน็จ บำนาญได้ทุกขั้นตอนผ่านระบบ e – Filing
2. สามารถพิมพ์หนังสือสั่งจ่ายบำนาญได้ด้วยตนเอง
3. ตรวจสอบการเบิกจ่ายเงินบำนาญ และบำเหน็จรายเดือนได้ตลอดเวลา
4. สามารถพิมพ์หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ ตั้งแต่เดือนมกราคมของทุกปี
ทั้งนี้สามารถดาวน์โหลดคู่มือการใช้งานระบบการยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญ ด้วยตนเองทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ https://dps.cgd.go.th/efiling-pension/
ขอบคุณที่มา : สำนักงานคลังเขต 6 พิษณุโลก
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ช่องทางลงทะเบียนเข้าใช้งาน ระบบ Digital Pension ระบบบำเหน็จบำนาญอิเล็กทรอนิกส์ โดยกรมบัญชีกลาง
- กบข.ย้ำชัด!! ข้าราชการทุกคน ยังมีสิทธิ์รับเงินบำนาญ
- กรมบัญชีกลางชี้แจง ยังไม่มีการยกเลิกหรือลดเงินบำนาญ
- การคำนวณ เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ ทั้งที่เป็นสมาชิก กบข. และไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.
- ทำความเข้าใจกับเงิน 5 ถุง ของ กบข. มีอะไรบ้างมาดูกัน