แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน

แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน

แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน

แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เล่มนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดทำขึ้นเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัด ใช้ป็นแนวทางในการปฏิบัติงานสำหรับเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียนปีการศึกษา ๒๕๖๕ ประกอบด้วย ความรู้เบื้องต้นในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แนวปฏิบัติการเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน แนวปฏิบัติระหว่างเปิดภาคเรียน แผนเผชิญเหตุ บทบาทของบุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งสอดคล้องกับมาตรการที่กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการกำหนด เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา หน่วยงานทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการ เตรียมความพร้อม การเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน

มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕และการเยี่ยมบ้านนักเรียน

๑. ด้านความปลอดภัยของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของนักเรียนตั้งแต่เดินทางเข้าสู่ประตูรั้วโรงเรียนจนออกจากโรงเรียนถึงบ้าน ดังนี้

๑.๑ การเดินทางมาเรียนของนักเรียน
-การดูแลนักเรียน มีการจัดครูเวรดูแลหน้าประตูโรงเรียนช่วงเข้าและเย็น
-การควบคุมดูแล การใช้รถโรงเรียนที่ปลอดภัย
-การควบคุมดูแล การใช้รถบนท้องถนนและพาหนะในการมาเรียนของนักเรียน
-จัดบริเวณที่จอดรถให้มีความปลอดภัยต่อนักเรียน
-กำหนดพื้นที่จอดรถและจุตรับ-ส่งนักเรียนให้มีความปลอดภัย
– จัดครูดูแลทางข้ามม้าลายหน้าโรงเรียน

๑.๒ การจัตสภาพแวดล้อมให้นักเรียนปลอดภัย

๑.๒.๑ เข้มงวดกวดขันให้สถานศึกษาเป็นพื้นที่ “ปลอดภัยยาเสพติด/สารเสพติดทุกขนิด”รวมทั้งสมุนไพรควบคุม (กัญชา) รวมทั้งปลอดอาวุธทุกชนิด
๑.๒.๒ ประตูโรงเรียน รั้วโรงเรียน มีความแข็งแรงไม่ขำรุด
๑.๒.๓ การสำรวจและซ่อมบำรุงระบบป้องกัน ระบบแจ้งเตือน ระบบอาณัติสัญญาณเตือนภัยให้สามารถพร้อมใช้งน อาทิ สัญญาณเสียงเตือนภัย ทางหนีไฟหรือประตูหนีไฟ
สัญญาณเตือนอัคคีภัย เครื่องตรวจจับควันไฟ เครื่องตรวจจับความร้อน ระบบไฟสำรอง ระบบป้องกันไฟฟ้ารั่ว ระบบสายดิน ไฟฉายฉุกเฉิน ถังดับเพลิง เป็นต้น

๑.๒.๔ ขจัดมุมอับและจุดเสี่ยงที่เป็นอันตรายต่อนักเรียน อาทิ สายไฟฟ้าแรงต่ำ ไฟฟ้าส่องสว่างให้เพียงพอ อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคารเรียนและอาคารประกอบ พื้นที่อันตราย
ในเขตก่อสร้าง สระน้ำ บ่อน้ำ คูคลอง รางระบายน้ำ อาคารที่ชำรุด บริเวณพื้นที่รกร้างตัดแต่งตันไม้ กิ่งไม้ ติดตั้งกล้องวรจรปิด เป็นต้น

๑.๒.๕ สนามเด็กเล่น เครื่องเล่น ปลอดภัย ไม่ชำรุด เครื่องเล่นมีการยึดฐานติดกับพื้นแข็งแรง
๑.๒.๖ ห้องน้ำ ห้องส้วม ที่สะอาดถูกสุขลักษณะ มีปัายสัญลักษณ์บอกห้องน้ำชายหรือหญิงที่ชัดเจน มีการปรับปรุงห้องน้ำให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอไม่เป็นมุมอับ มุมเสี่ยง
๑.๒.๗ โรงอาหารสะอาดถูกสุขลักษณะ มีที่นั่งเพียงพอสำหรับนักเรียน มีครูดูแลในช่วงที่นักเรียนรับประทานอาหาร
๑.๒.๘ การจัดเวรยามรักษาความปลอดภัยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ และสร้างเครือข่ายการสื่อสารความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
๑.๒.๙ ตรวจสอบและคัดกรองบุคคลภายนอกที่เข้าและออกสถานศึกษาตลอดเวลา อาทิ ผู้มาติดต่อราชการ ผู้ปกครองนักเรียน หรือบุคคลภายนอกอื่น ๆ ที่จะเข้ามาภายในสถานศึกษาทุกกรณีอย่างเคร่งครัด ทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ

๑.๓ การให้บริการและดูแล ด้านโภชนาการ ด้านสุขภาพ

๑.๓.๑ จัดรายการอาหารกลางวันที่มีคุณค่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการและเพียงพอสำหรับนักเรียนแต่ละช่วงวัย
๑.๓.๒ บุคลากรที่มีหน้าที่ประกอบอาหารต้องปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข

๑.๓.๓ บำรุงรักษาภาชนะ อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบอาหารให้สะอาดถูกสุขอนามัยจัดเก็บให้เป็นสัดส่วน
๑ ๓ ๔ มีที่บริการน้ำดื่มที่สะอาด เพียงพอ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกระทรวงสาธารณสุข
๑.๓.๕ งดจำหน่าย หรือปรุง หรือโฆษณา อาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของยาเสพติด/สารเสพติดทุกชนิดรวมทั้ง สมุนไพรควบคุม (กัญชา)

๑.๓. มีห้องพยาบาลเบื้องต้น มีเวชภัณฑ์ยา มีการตรวจสอบวันหมดอายุของยา มีครูอนามัยโรงเรียนหรือผู้รับผิดชอบ ที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะในการปฐมพยาบาล
เบื้องต้นได้

๑.๔ การป้องกันภัยธรรมชาติ (ภัยหนาว/อุทกภัย/อื่น ๆ )
๑.๔.๑ จัดทำแผนเผชิญเหตุภัยธรรมชาติและการให้ความช่วยเหลือนักเรียน
๑.๔.๒ ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียน และผู้ปกครองทราบถึงสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่จะเกิดขึ้น
๑.๔.๓ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานทางราชการและติดตามข่าวสารอยู่เสมอ
๑.๔.๔ ติดตามสถานการณ์สาธารณภัยจากเว็บไซด์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยสายด่วน ๑๗๘๔
๑.๔.๕ สำรวจพื้นที่เสี่ยงจากเว็บไซต์ http://www.obec-hazardmap.com
๑.๕ การป้องกันภัยจากยาเสพติด ดำเนินการตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับกัญชาหรือกัญชงในสถานศึกษาส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดและในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕

๑.๖ การป้องกันภัยจากการพกอาวุธมาโรงเรียน
-จัดทำข้อมูลและเฝ้าระวังกลุ่มเด็กนักเรียนที่มีแนวโน้มใช้ความรุนแรง เป็นพิเศษ
-จัดให้มีมาตรการป้องกัน ตรวจสอบและควบคุมการใช้วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่เป็นอันตรายและสามารถนำมาใช้เป็นอาวุธหรือสิ่งเทียมอาวุธในการก่อเหตุทำร้ายร่างกาย
นักเรียนหรือบุคลากรในโรงเรียน
-ติดตั้ง ’emergency panic button’ หรือปุ่มแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณเตือนดังออกไปภายนอกอาคาร เพื่อความรดเร็วในการเข้ามาช่วยเหลือจากผู้รักษา
ความปลอดภัยในโรงเรียน ผู้เกี่ยวข้อง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
– ฝึกทักษะการเอาตัวรอดให้กับครูและผู้เรียน
-มีป้ายประชาสัมพันธ์สายด่วน หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ ฉุกเฉิน ติดไว้ทุกอาคารเรียน
-ฝึกซ้อมเหตุฉุกเฉินในโรงเรียนอย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง เพื่อเตรียมรับมือกับภัยพิบัติหรือภัยคุกคามทุกรูปแบบ
-จัดระบบรักษาความปลอดภัยในโรงเรียนอย่างเข้มงวด โดยมีเครือข่ายจากภายนอกร่วมดำเนินการ

๒. การเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ถดถอย(Learning Loss)

๒.๑ สถานศึกษาจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสอนซ่อมเสริม/ซดเชย หรือกิจกรรมเสริมทักษะเพิ่มเติมให้กับนักเรียน

๒.๒ การจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายตามความถนัด ความสนใจ และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะด้านวิชาการ ทักษะอาชีพ ทักษะการดำรงชีวิตอย่างต่อเนื่อง

๒.๓ นักจิตวิทยาโรงเรียนประจำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลงพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำปรึกษาช่วยเหลือนักเรียน เพื่อลดปัญหาทางสุขภาพจิต

๒.๔ การจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการเรียนรู้ Active Learning

๓. การจัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน

๓.๑ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตแจ้งสถานศึกษาจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนให้ครบหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์ ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕

๓.๒ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตจัดกิจกรมเยี่ยมบ้านนักเรียนและเชิญชวนให้ผู้บริหารในระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น องค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและคณะกรรมการสถานศึกษา ร่วมเดินทางเยี่ยมบ้าน

๓.๓ นำข้อมูลนักเรียนจากการเยี่ยมบ้าน มาใช้ในการดูแลนักเรียนทุกคน ให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพ และมีความสุข

๓.๔ สรุปรายงานผลการเยี่ยมบ้านนักเรียนมายัง สพฐ.

๔. ด้านการสนับสนุนการเรียนการสอน

๔.๑. สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน งบเงินอุดหนุน ๕ รายการ (สำหรับภาคเรียนที่ ๒/๒๕๖๕ : ๓ รายการ) (จัดสรรช่วงเดือนตุลาคม ๒๕’๖๕)

๔.๒ จัดสรรปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียนยากจน (เป็นรายบุคคล) (ภาคเรียนที่ ๒ จัดสรรในเดือนธันวาคม ๒๕๖๕)

๔.๓ จัดสรรค่าอาหารสำหรับนักเรียนประจำพักนอน

๔.๕ จัดสรรงบประมาณให้กับผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ตำแหน่งธุรการโรงเรียน เพื่อลดภาระงานครู(ภาคเรียนที่ ๒ จัดสรรช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม ๒๕๖๕)

๔.๕. สำรวจความเสียหายโรงเรียนที่ประสบอุทกภัย เพื่อจัดสรรงบประมาณซ่อมแชมอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่น

แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน
แนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนด้านความปลอดภัย ปีการศึกษา 2565 สังกัด สพฐ. มาตรการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และการเยี่ยมบ้านนักเรียน

ขอบคุณที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน | – สพฐ (obec.go.th)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่