ด่วนที่สุด สพฐ.ประกาศลดการบ้าน นร. !!! เพิ่มการเรียนรู้ เรียนดีมีความสุข
ด่วนที่สุด สพฐ.ประกาศลดการบ้าน นร. !!! เพิ่มการเรียนรู้ เรียนดีมีความสุข

ด่วนที่สุด สพฐ.ประกาศลดการบ้าน นร. !!! เพิ่มการเรียนรู้ เรียนดีมีความสุข

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) ได้ลงนามในประกาศ “แนวทางการมอบหมายการบ้าน” ตามนโยบาย ลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา และลดภาระนักเรียนและผู้ปกครองของ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ โดยได้มีการประกาศเป็นหลักการและแนวปฏิบัติในการมอบหมายการบ้าน “ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้” ที่มุ่งหวังให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ให้การบ้านเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการเรียนรู้และเป็นเครื่องมือประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน มุ่งเน้นให้ครูลดปริมาณการบ้านที่ต้องทำนอกเวลา ในชั้นเรียนให้เน้นการมอบหมายการบ้านเฉพาะรายวิชาที่จำเป็นทักษะสำคัญ เช่น การอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น ให้มีการบูรณาการการบ้าน ซึ่งการบ้านชิ้นงานเดียวอาจตอบโจทย์การเรียนรู้ข้ามรายวิชา และส่งเสริมให้นักเรียนได้มีเวลาศึกษาค้นคว้าตามความสนใจของตนเองมากขึ้น

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ กล่าวว่า การประกาศแนวทางการมอบหมายการบ้าน “ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้” ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) นี้ เพื่อให้คุณครู รวมถึงพ่อแม่ผู้ปกครองได้เข้าใจร่วมกันว่า หัวใจของการให้การบ้าน คือ การให้เด็กๆ ได้ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ให้ได้ฝึกฝนทำซ้ำจนเกิดทักษะ ซึ่งเด็กแต่ละคนต้องการเวลาเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เรียนไม่เท่ากัน หรือสำหรับเด็กโต การบ้านที่ให้ได้ค้นคว้าอย่างอิสระ จะยิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ช่วยบ่มเพาะความรับผิดชอบในตนเอง จึงขอเน้นย้ำกับครูว่า การให้โจทย์ที่ไม่ยากไม่ง่าย ไม่ใช้เวลามากเกินไป แล้วมีการตรวจการบ้าน อธิบาย ให้ feedback จุดที่ควรพัฒนาอย่างตรงประเด็นจะเป็นการพัฒนานักเรียนอย่างแท้จริง จะสร้างความสุขให้ทั้งนักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงคุณครูเองด้วย ทำให้เด็กไทย เรียนดี มีความสุข.

ด่วนที่สุด สพฐ.ประกาศลดการบ้าน นร. !!! เพิ่มการเรียนรู้ เรียนดีมีความสุข
ด่วนที่สุด สพฐ.ประกาศลดการบ้าน นร. !!! เพิ่มการเรียนรู้ เรียนดีมีความสุข 4
ด่วนที่สุด สพฐ.ประกาศลดการบ้าน นร. !!! เพิ่มการเรียนรู้ เรียนดีมีความสุข
ด่วนที่สุด สพฐ.ประกาศลดการบ้าน นร. !!! เพิ่มการเรียนรู้ เรียนดีมีความสุข 5

หลักการลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้

หลักการลดการบ้าน
๑. ลดการบ้าน/ภาระงานที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำนอกห้องเรียนหรือที่บ้าน โดยเน้นให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมให้เสร็จในห้องเรียน
๒. มอบหมายการบ้านเฉพาะวิชาที่เป็นทักษะที่จำเป็น เช่น ภาษาไทย คณิตศาสตร์ โดยสามารถให้การบ้านให้เหมาะสมได้เท่าที่จำเป็น โดยเน้นการบ้านที่ส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น
๓. บูรณาการการบ้านทั้งภายในรายวิชาเดียวกันและข้ามรายวิชา โดยให้เป็นชิ้นงาน/ภาระงานเดียวตามความเหมาะสมธรรมชาติวิชา

เพิ่มการเรียนรู้
ปรับกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นให้นักเรียนคิด ปฏิบัติผ่านสถานการณ์จริง ส่งเสริมกระบวนการคิดการแสวงหาความรู้ (Active Learning) ลดเวลาการสอนของครูในห้องเรียนให้น้อยลง โดยเพิ่มเวลาให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น

แนวปฏิบัติ “ลดการบ้าน เพิ่มการเรียนรู้”
๑. มอบหมายการบ้านให้เหมาะสมเท่าที่จำเป็นตามจุดเน้นการเรียนรู้ เพื่อให้การบ้านมีความสำคัญและฝึกหรือทบทวนอย่างมีเป้าหมาย รวมทั้งกำหนดแนวทางการตรวจสอบผลการเรียนรู้จากคุณลักษณะหรือ พฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อทดแทนการสอบด้วยแบบทดสอบอย่างเหมาะสม และตามความจำเป็น
๒. ตรวจสอบปริมาณการบ้านของนักเรียนรายห้องเรียน เพื่อให้การมอบหมายการบ้านมีความเหมาะสมกับระยะเวลาที่ใช้ทำการบ้านของนักเรียนแต่ละวัย
๓. บูรณาการเนื้อหาการเรียนรู้ที่ใกล้เคียงกันทั้งภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้และระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อทำให้เวลาเรียนในห้องเรียนลดลงร้อยละ ๑๐ – ๒๐ นักเรียนมีเวลาในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสนใจมากขึ้น

ด่วนที่สุด สพฐ.ประกาศลดการบ้าน นร. !!! เพิ่มการเรียนรู้ เรียนดีมีความสุข
ด่วนที่สุด สพฐ.ประกาศลดการบ้าน นร. !!! เพิ่มการเรียนรู้ เรียนดีมีความสุข 6

๔. วางแผนกำหนดช่วงเวลาให้การบ้าน และการสอบ เป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน เพื่อหลีกเลี่ยงความทับซ้อน ทั้งด้านปริมาณและระยะเวลาที่ใช้ในการทำการบ้าน การสอบ ตลอดจนพิจารณาความเหมาะสมตามพัฒนาการของนักเรียนแต่ละช่วงวัย

๕. ออกแบบการจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้มีความเชื่อมโยงและต่อเนื่องกันระหว่างช่วงเวลาที่นักเรียนเรียนรู้ที่โรงเรียนและบ้าน ตัวอย่างเช่น เนื้อหาที่เป็นแนวคิดหรือหลักการ จำเป็นต้องใช้การทำความเข้าใจและการอธิบายเพิ่ม ควรเป็นช่วงเวลาที่เด็กเรียนในห้องเรียน จากนั้นมอบหมายให้เด็กปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ต่อเนื่องที่บ้านการบ้านที่มอบหมายควรต่อเนื่องกับเรื่องที่เรียนมาแล้ว ซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ด้วยตัวเอง และมีความจำเป็นต่อการเรียนรู้ของนักเรียน

๖. ลดจำนวนครั้งของการสอบระหว่างเรียน ประเมินเท่าที่จำเป็น โดยเน้นการประเมินเพื่อปรับปรุงข้อสอบปลายภาค ให้เน้นข้อสอบที่วัดทักษะการคิดขั้นสูง ที่ประกอบด้วยสถานการณ์ที่ให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์มีข้อคำถามที่ยั่วยุให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตัดสินใจ และคิดสร้างสรรค์ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเขียนแสดงเหตุผล แนวคิด หรือหลักการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับชั้น

๗. จัดเตรียมแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียนศึกษาค้นคว้าที่หลากหลาย โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้

๘. ส่งเสริมให้นักเรียนคัดสรรผลงานที่แสดงถึงพัฒนาการ และสมรรถนะของนักเรียน ใส่ลงในแฟ้มสะสมผลงาน ตามจุดมุ่งหมาย ได้แก่ การศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ โดยอาจดำเนินการในรูปแบบสื่อดิจิทัล เช่นวิดีทัศน์ ภาพถ่าย เพลง เป็นต้น

ขอบคุณที่มา : สพฐ.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่