แนวทางการประเมินโรงเรียน อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านระบบ FDA Center
แนวทางการประเมินโรงเรียน อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านระบบ FDA Center

แนวทางการประเมินโรงเรียน อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านระบบ FDA Center

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย) มีการดำเนินงานโรงเรียน อย.น้อย อย่างต่อเนื่อง และหนึ่งในกลไกสำคัญของการดำเนินงาน คือ การประมินโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย โดยแบ่งเป็น ๔ ระดับได้แก่ ระดับพอใช้ ระดับดี ระดับดีมาก และระดับดีเยี่ยม ทั้งนี้ในกระบวนการประเมินต้องขอความอนุเคราะห์ให้ผู้บริหารของหน่วยงานภาคการศึกษาที่รับผิดขอบโรงเรียนในจังหวัดร่มพิจารณาลงนามให้การรับรองผลโรงเรียนที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ระดับดีมาก และดีเยี่ยม ซึ่งที่ผ่านมาการลงข้อมูลตามแบบฟอร์มและการลงนามรับรองจะอยู่ในรูปแบบกระดาษ และขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้จัดทำระบบประเมินอิเล็กทรอนิกส์แทนรูปแบบการประเมินเดิม เพื่อให้หน่วยงานผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ โรงเรียน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงานภาคการศึกษาในพื้นที่จังหวัด ดำเนินการประเมินโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านระบบ FDA Center ทาง www.fda.go.th

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ขอความอนุเคราะห์ท่านส่งเสริมให้โรงเรียนในสังกัด ให้มีการดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย และแจ้งหน่วยงานภาคการศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบของท่น ร่วมพิจารณาลงนามให้การรับรองผลโรงเรียนที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ระดับดีมาก และดีเยี่ยม ผ่านระบบ FDA Center ทาง www.fda.go.th โดยตรวจสอบรายงานการประเมินผลที่โรงเรียนรายงานผลส่งเข้ามา รวมไปถึงการเพิ่มภาพลายเซ็นสำหรับให้การรับรองรายงานและอนุมัติรายงานผลดังกล่าวไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้มีการขี้แจงพร้อมมอบ Username ให้แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ในภูมิภาค เพื่อเป็นข้อมูลในการประสานหน่วยงานภาคการศึกษาในจังหวัด เรียบร้อยแล้ว โดยผู้เกี่ยวข้องสามารถศึกษาข้อมูลการรับรองตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ผ่านระบบ FDA Center ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ได้ที่ QR Code ท้ายหนังสือฉบับนี้

แนวทางการประเมินโรงเรียน อย. น้อย

การประเมินโรงเรียน อย. น้อย เป็นการประเมินเพื่อรับรองว่าสถานศึกษา/โรงเรียน ได้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการในการดำเนินงานโรงเรียน อย. น้อย ประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้

1. แนวคิดการประเมินโรงเรียน อย.น้อย

1.1 องค์ประกอบเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียน อย.น้อย ประกอบด้วยเกณฑ์มาตรฐานหลัก 7 ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นเกณฑ์ย่อยได้อย่างน้อย 56 ข้อดังนี้ (รายละเอียดในเอกสารหน้า 21-27)

  • เกณฑ์มาตรฐานที่ 1 โครงสร้างชมรม/ชุมนุม และองค์ประกอบ
  • เกณฑ์มาตรฐานที่ 2 กิจกรรมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และรณรงค์
  • เกณฑ์มาตรฐานที่ 3 กิจกรรมด้านการตรวจสอบ
  • เกณฑ์มาตรฐานที่ 4 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  • เกณฑ์มาตรฐานที่ 5 กิจกรรมบูรณาการสู่การเรียนการสอน
  • เกณฑ์มาตรฐานที่ 6 การสนับสนุนชมรม/ชุมนุม อย.น้อย
  • เกณฑ์มาตรฐานที่ 7 กิจกรรมพิเศษอื่น ๆ

โดยโรงเรียนต้องประเมินทั้ง 7 เกณฑ์มาตรฐานหลัก ให้ครบถ้วน แต่รายละเอียดการดำเนินงานตามเกณฑ์ย่อย อาจจะดำเนินการครบทั้งหมดทุกข้อหรือไม่ก็ได้ โดยคะแนนรวมที่ได้รับแปรผันตามจำนวนข้อการประเมิน

1.2 วัตถุประสงค์ของการประเมินโรงเรียน อย.น้อย

วัตถุประสงค์หลัก

  • เพื่อสนับสนุนให้มีการขับเคลื่อนงานด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในสถานศึกษา ผ่านกิจกรรม อย. น้อย ที่มุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อโรงเรียน นักเรียน ครอบครัวและชุมชน

วัตถุประสงค์รอง

  • เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนที่มีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรม อย.น้อย มีการพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้สูงขึ้น
  • เพื่อเป็นเครื่องมือให้โรงเรียนพัฒนาความสามารถดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ได้อย่างเหมาะสม

1.3 วิธีการประเมินโรงเรียน อย. น้อย 

การประเมินโรงเรียน อย. น้อย ใช้วิธีการประเมินใน 2 ลักษณะ คือ

– การประเมินตนเองของโรงเรียน/สถานศึกษา/หน่วยงานต้นสังกัดสถานศึกษา

– การประเมินรับรองโดยคณะกรรมการ (เฉพาะในระดับดีเยี่ยม)

1.4 ระดับการประเมินโรงเรียน อย.น้อย  

จากผลการประเมินตนเองของโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานหลักทั้ง 7 ข้อ                                                                           สามารถแบ่งระดับการประเมินจากผลรวมคะแนนได้ 4 ระดับ ดังนี้

ระดับการประเมินคะแนนรวม
ระดับพอใช้ต่ำกว่า 50 คะแนน
ระดับดีระหว่าง 50 -74 คะแนน
ระดับดีมาก ระหว่าง 75 -89 คะแนน
ระดับดีเยี่ยมมากกว่า 90 คะแนน
แนวทางการประเมินโรงเรียน อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านระบบ FDA Center
การประเมินโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านระบบ FDA Center

กลุ่มเป้าหมายในการประเมินโรงเรียน อย.น้อย  

เกณฑ์การประเมินโรงเรียน อย. น้อย สามารถใช้ในการประเมินโรงเรียน ทั้งระดับโรงเรียนประถมศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส และโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดต่างๆ ดังนี้ 

  1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
  2. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
  3. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
  5. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น /โรงเรียนสังกัดกองตำรวจตระเวนชายแดน /อื่นๆ

ขั้นตอนการประเมินโรงเรียน อย.น้อย  

4.1 ขั้นเตรียมการ

กรณีโรงเรียนยังไม่ได้เป็นสมาชิกโรงเรียน อย.น้อย

  1. โรงเรียนต้องสมัครเป็นสมาชิกโรงเรียน อย.น้อย โดยสามารถดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่www.oryornoi.com หรือ QR code ในภาคผนวก
  2. ผู้รับชอบในโรงเรียนส่งใบสมัครเข้าร่วมโรงเรียน อย. น้อย ให้สำหรับโรงเรียนในภูมิภาคส่งที่กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุขของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ ส่วนโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร ส่งที่กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  3. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาขึ้นทะเบียนโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมสมาชิกโรงเรียน อย.น้อย ในฐานข้อมูลโรงเรียน อย. น้อย
  4. ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน อย.น้อยให้ครบ 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษา

กรณีโรงเรียนเป็นสมาชิกโรงเรียน อย.น้อย:

  1. ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน อย.น้อย มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษา
  2. เตรียมความพร้อมในการประเมินโรงเรียน อย.น้อย โดยใช้ผลลัพธ์ของกิจกรรมในปีที่ผ่านมา และประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องส่งใบสมัครเพื่อเข้ารับการประเมิน

4.2 ขั้นการประเมินโรงเรียน อย.น้อย

แนวทางการประเมินโรงเรียน อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านระบบ FDA Center
  1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แจ้งหลักเกณฑ์และระยะเวลาการประเมิน ให้ผู้รับผิดชอบในงานโรงเรียน อย. น้อย ในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
  2. โรงเรียนดำเนินการประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียน อย.น้อย ทั้ง 7 เกณฑ์มาตรฐานหลัก
  3. โรงเรียนส่งผลการประเมินตนเอง ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานโรงเรียน อย. น้อยในปีก่อนหน้าที่ส่งผลการประเมิน โดยส่งแบบประเมินโรงเรียน อย. น้อย ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ภายในเดือนมิถุนายนของทุกปี ดังนี้

– โรงเรียนในเขตภูมิภาค ส่งผลการประเมินที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

– โรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร ส่งผลการประเมินที่หน่วยงานต้นสังกัด

  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและหน่วยงานต้นสังกัด (สำหรับโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร) ส่งรายงานสรุปผลการประเมินตนเองของโรงเรียน  ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี
แนวทางการประเมินโรงเรียน อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านระบบ FDA Center

4.3 ขั้นการรับรองการประเมิน

  1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (กรณีโรงเรียนในส่วนภูมิภาค) หน่วยงานต้นสังกัด (กรณีโรงเรียนในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ) พิจารณาทบทวนผลประเมินของโรงเรียนและแจ้งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
แนวทางการประเมินโรงเรียน อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านระบบ FDA Center

สำหรับโรงเรียนที่ประเมินตนเองได้ในระดับดี และดีมาก

หากผ่านการประเมินโรงเรียนจะได้รับใบประกาศเกียรติคุณ

สำหรับโรงเรียนโรงเรียนที่ประเมินตนเองได้ในระดับดีเยี่ยม

โรงเรียนต้องได้รับการประเมินรับรอง จากคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาคสาธารณสุขและภาคการศึกษา หากผ่านผลการประเมินจะได้รับป้ายรับรอง อย.น้อย ระดับดีเยี่ยมพร้อมใบประกาศเกียรติคุณ

  • ผู้รับผิดชอบในการประเมินรับรอง ส่งรายงานสรุปผลการตรวจรับรองทุกระดับมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รวบรวมข้อมูลโรงเรียนที่เข้ารับการประเมินไว้เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินกิจกรรมต่อไป
  • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะดำเนินการจัดทำประกาศเกียรติคุณ และ/หรือป้ายรับรองโรงเรียน อย.น้อย ให้กับโรงเรียนต่อไป โดยจะเป็นการให้การรับรองย้อนหลัง
แนวทางการประเมินโรงเรียน อย.น้อย ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ผ่านระบบ FDA Center 7

เข้าระบบที่ https://fda.go.th/

คู่มือการประเมิน ระบบ FDA Center

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่