ดาวน์โหลดไฟล์ แบบฟอร์มและตัวอย่าง รายงานการศึกษานักเรียนรายกรณี Case study ไฟล์เวิร์ด พร้อมปกแก้ไขได้ ดาวน์โหลดฟรี!!
ความหมาย
การศึกษารายกรณี หมายถึง วิธีการที่ใช้ในการศึกษารายละเอียด ต่างๆ ของนักเรียนอย่างต่อเนื่องในระยะเวลา 1 ภาคเรียน แล้วน ารายละเอียดที่ศึกษาได้มาวิเคราะห์ ตีความ เพื่อให้เข้าใจถึงปัญหา และสาเหตุที่ทำให้นักเรียนที่มีพฤติกรรม ไม่พึงประสงค์เพื่อเป็นแนวทาง ในการช่วยเหลือและป้องกัน ให้นักเรียนมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การศึกษารายกรณี (Case study ) เป็นรูปแบบหนึ่งของการวิจัยในชั้นเรียนเชิงคุณภาพ เป็นวิธีการหนึ่งที่จะช่วยครู ในการเชื่อมโยง กลับไปสู่เหตุปัจจัย ที่ทำให้เกิดเป็นผล คือบุคลิกภาพเด็กที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันโดยการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี จะดำเนินการการศึกษา วิเคราะห์ ข้อมูลของเด็กเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม รายห้องเรียนในด้านต่างๆ เช่น พัฒนาการ พฤติกรรม สภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู อย่างละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งไม่จำเป็นต้องศึกษาเฉพาะเด็กที่มีปัญหาเสมอไป อาจศึกษาเด็ก ที่มีความสามารถ พัฒนาการหรือบุคลิกภาพ ด้านใดด้านหนึ่งเด่นชัด ควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีความประพฤติปฏิบัติดี เป็นต้น
การศึกษาเด็กเป็นรายกรณีจึงเป็นประโยชน์มากสำหรับการนำมาใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เพราะจะช่วยให้ครูเข้าใจผู้เรียนที่ครูต้องการช่วยเหลือได้อย่างละเอียดลึกซึ้งจนสามารถหาแนวทางแก้ไขหรือพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ขั้นตอนการศึกษานักเรียนเป็นรายกรณี
การศึกษานักเรียนเป็นรายกรณีโดยทั่วไปมีอยู่ 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นรวบรวมข้อมูล/ จัดหมวดหมู่ข้อมูล การรวบรวมข้อมูลผู้รวบรวมข้อมูลต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านพัฒนาการ และจิตวิทยาพัฒนาการ มีจรรยาบรรณของนักวิจัย และต้องพยายามรวบรวมข้อมูลเด็กให้ครบครอบคลุมพัฒนาการทุกด้านโดยละเอียดอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเลือกวิธีรวบรวมให้เหมาะสม หลายวิธี จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายน่าเชื่อถือ เช่น
– การสัมภาษณ์เด็กโดยตรง
– การรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
– การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารในชั้นเรียน เช่น แบบบันทึกพฤติกรรม ระเบียนสะสม
2. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมมาพิจารณา ตั้งสมมุติฐาน
3. ขั้นวินิจฉัยปัญหา เป็นการวินิจฉัยสาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรม จากข้อมูลที่ได้มาอย่างเพียงพอ
4. ขั้นเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา หลังจากวินิจฉัยปัญหา ขั้นต่อมาเป็นขั้นตอนแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ซึ่งต้องเป็นวิธีการที่มีระเบียบแบบแผน
5. ขั้นติดตามและประเมินผล เป็นการติดตามว่าการช่วยเหลือหรือพัฒนาแก้ไขพฤติกรรม บุคลิกภาพเด็กนั้นประสบความสำเร็จหรือไม่ อย่างไร
องค์ประกอบของการวิจัยเฉพาะกรณี
การวิจัยเฉพาะกรณี มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1) คำถามวิจัย
2) จุดมุ่งหมายในการวิจัย
3) หน่วยของการวิเคราะห์
4) ความเชื่อมโยงเชิงเหตุผลระหว่างข้อมูลกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย
5) เกณฑ์สำหรับตีความผลสรุป
องค์ประกอบแต่ละลักษณะของการวิจัยเฉพาะกรณี มีประเด็นคำถามที่น่าสนใจในแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้
คำถามวิจัย คำถามที่ดีควรเป็นคำถามที่ถามว่า อย่างไร และ ทำไม มากกว่าที่ะถามว่าใคร และ อะไรเพราะจะได้คำตอบที่มีประไยชน์มาก
จุดมุ่งหมายของการวิจัย การกำหนดจุดมุ่งหมายจะทำให้ทราบถึงทิศทางหรือสิ่งที่จะอธิบายและขอบเขตของการวิจัย
หน่วยของการวิเคราะห์ การกำหนดหน่วยของการวิคราะห์ ที่คือ การตอบคำถามที่ว่า “อะไรคือกรณีศึกษา” เช่น คนๆ หนึ่งแบบของผู้นำตามที่กำหนด ผู้ป่วยในคลีนิก ฯลฯ ถ้ำหากต้องการศึกยาคนๆ หนึ่ง “คน”ก็จะเป็นหน่วยของการวิเคราะห์ ดังนั้น การรวบรวมข้อมูลก็ต้องเป็นข้อมูลเกี่ยวกับคน
ความเชื่อมโยงเชิงเหตุผลระหว่างข้อมูลกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย ก็คือ การพิจารณาว่าข้อมูลหลาย ๆ ลักษณะที่ได้มาจากกรณีเดียวกันนั้น เกี่ยวข้องในเชิงทฤษฎีกับจุดมุ่งหมายของการวิจัยหรือไม่ เกณฑ์สำหรับตีความผลสรุป ก็คือ วิธีการที่จะทำให้ผลสรุปมีความถูกต้องและเที่ยงตรง อาจจะใช้เกณฑ์การเปรียบเทียบแบบแผน (Patten) ของกรณีที่จะศึกษากับกรณีอย่างอื่นที่ไม่ได้ศึกษา
การพิจารณาข้อมูล(Criteria of Good Information)
การรวบรวมข้อมูลในการศึกษาเด็กเป็นรายกรณีนั้นบางครั้งต้องพิจารณาว่าข้อมูลที่รวบรวมมาเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา หรือนำมาใช้ในการศึกษาได้หรือไม่ อย่างไร ดังนั้นจึงมีหลักในการพิจารณา ตรวจสอบข้อมูล ดังนี้
ความถูกต้อง น่าเชื่อถือได้
ความเที่ยงตรงของข้อมูล
ความเป็นปรนัยของข้อมูล
ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมแสดงถึงพัฒนาการของเด็ก
เวลาและสถานที่ที่รวบรวมข้อมูล
สถานการณ์และความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม หรือบุคลิกภาพที่ต้องการศึกษา
การเขียนรายงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี
การเขียนรายงานการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี ควรประกอบไปด้วยรายละเอียด ต่อไปนี้
1.ชื่อผู้ทำการศึกษา ระยะเวลาที่ศึกษา เหตุผลในการศึกษา แหล่งข้อมูล
2.ข้อมูลผู้ถูกศึกษา เช่น ชื่อ ที่อยู่ วันเดือนปีเกิด อายุ สถานที่เกิด เชื้อชาติ สัญชาติ
ศาสนา หน้าตาท่าทางโดยทั่ว ๆไป
3.ปัญหาของผู้ถูกศึกษา
4.ประวัติครอบครัว สภาพแวดล้อมของครอบครัว การอบรมเลี้ยงดู
5.ประวัติสุขภาพ
6.ประวัติการศึกษา (ผลสัมฤทธิ์)
7.พัฒนาการทางสังคม
8.พัฒนาการทางอารมณ์และสุขภาพจิต
9.การวินิจฉัย วิเคราะห์และตั้งสมมุติฐาน
10.ข้อเสนอแนะ
11.การประเมินติดตาม ควรทำในระยะหนึ่งหลังการศึกษา เพื่อจะได้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือทราบผลของการเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา
เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเฉพาะกรณี
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมีหลายชนิดหลายประเภท เช่น การสังเกต การสัมภายณ์ แบบสอบถาม การศึกษระเบียนประวัติ แบบทดสอบ ฯลฯ เครื่องมือต่างๆ ดังกล่าวนี้ วิธีการสังเกตถือว่าเป็นหัวใจของการวิจัยเฉพาะกรณี ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเทคนิคการสังเกตต่อไป การสังเกต (Observation) คือการฝ้าดูปรากฏการณ์ต่งๆที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อทราบความเป็นไปและความเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ต้องการศึกษา นิยามดังกล่าวนี้เป็นการสังเกตด้วยตนเอง (Direct observation)การสังเกตในการวิจัยจะต้องทำอย่างมีระบบเพื่อจะได้เข้าใจถึงลักษณะธรรมชาติและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆของปรากฎกรณ์ าจจะใช้วิธีการสังเกตด้วยตนเองหรือจะใช้ เครื่องมืออย่างอื่น เช่น แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ซึ่งเป็นวิธีการสังเกตทางอ้อม (Indirect observation) การศึกษาในบางเรื่อง เช่น พฤติกรรมของเด็กเล็ก พฤติกรรมของสัตว์ซึ่งไม่อาจใช้ภายาสื่อความหมายกันได้
ดังนั้นต้องเก็บข้อมูลโดยวิธีสังเกตหรือเก็บข้อมูลจากบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้ชิด การสังเกตด้วยตนเองที่ได้ผลดีผู้ถูกสังเกตจะต้องไม่รู้ตัว เช่น การสังเกตพฤติกรรมการสอนของครูหรือพฤติกรรมของนักเรียน จะต้องสังเกตในห้องที่จัดไว้เฉพาะสำหรับการสังเกต วิธีการสังเกตใช้ได้ดีทั้งการวิจัยด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์(ไชติ เพชรชื่น. 2529: 91-95) ต่อไปนี้จะกล่าวถึงแบบต่งๆ ของสถานการณ์ที่กำหนดขึ้นประกอบการสังเกตที่นักวิจัยควรทราบในการวิจัยเฉพาะกรณี
ตัวอย่างการศึกษารายกรณี
- ตัวอย่าง case study นักเรียนอ่านไม่ออก
- การศึกษารายกรณี พฤติกรรม ซึม เศร้า
- การศึกษารายกรณี ผลสัมฤทธิ์ ทางการ เรียนต่ำ
คุณครูที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม รายงานการศึกษานักเรียนรายกรณี Case study พร้อมตัวอย่างการศึกษานักเรียนรายกรณี ในลิงก์ด้านล่างครับ ฟรี!!
เอกสารอ้างอิง : การศึกษารายกรณี (Case study ) – GotoKnow