ดาวน์โหลดแบบ PA4 เช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA
ครูอาชีพเชิญชวนคุณครูดาวน์โหลดแบบ PA4 เช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA แบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ซึ่งกรรมการใช้ประเมินแผนการสอนของคุณครู นำมาประเมินตนเองเช็คแผนการจัดการเรียนรู้ให้ครบ 8 ตัวชี้วัดตามเกณฑ์ PA ก่อนส่งเข้าระบบ DPA ดาวน์โหลดไฟล์รวมแบบฟอร์ม PA1-PA5 (*.doc) แก้ไขได้ ออกแบบการสอน ตาม ว.PA อย่าลืมเหลียวดูผลลัพธ์ตามเกณฑ์ ถ้าเราออกแบบการสอนโดยให้นักเรียนแสวงหาคำตอบด้วยตนเองโดยมีครูคอยเป็นผู้อำนวยความสะดวก หรือกิจกรรมตามแนวคิด active learning นั่นแหละคือการสอนที่ต้องการให้เกิดตาม 8 ตัวชี้วัดของการประเมินแต่สิ่งสำคัญที่หลายคนไม่ค่อยกล่าวถึงมากนักคือผลลัพธ์การเรียนรู้ อีก 4 ด้านที่จำเป็นจะต้องประเมินประกอบกับ 8 ตัวชี้วัดข้างต้น จะทำยังไง
!!!ความท้าทายคือเราจะออกแบบยังไงให้มันแสดงผลลัพธ์ ดังกล่าว
ตัวอย่างเช่น ด้านความสามารถในการเรียนรู้ (cognitive ability) ที่ประกอบด้วยเกณฑ์ 1)ความยืดหยุ่นในการคิดหรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ 2)ความคิดสร้างสรรค์หรือการคิดเชิงนวัตกรรม 3) กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ 4) กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ 5) กระบวนการคิดเชิงระบบ (ถ้ามีโอกาสก็หาเวลาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องนี้กันครับ)
ในเกณฑ์การประเมินต้องเห็นผลลัพธ์ทั้งหมดถึงจะได้ คะแนนเต็ม ซึ่งเป็นความท้าทายของการออกแบบ กระบวนการเหล่านี้จำเป็นต้องถูกนำมาออกแบบด้วยในการสอน อาจทำได้หลายวิธีดังนี้
- กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ในแผน
- กำหนดผลลัพธ์ให้ชัดเจนพร้อมเครื่องมือประเมิน
- อาจนำผลลัพธ์เหล่านี้มาเป็นแนวทางการออกแบบการสอน เช่น นำแนวกระบวนการของการคิดเชิงนวัตกรรมมาออกแบบการสอน
ที่มา :: Chowwalit Chookhampaeng
แบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
ตัวชี้วัดที่ 1 ผู้เรียนสามารถ เข้าถึงสิ่งที่เรียนและเข้าใจบทเรียน
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) เนื้อหา(content) หรือมโนทัศน์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนรู้หรือฝึกฝน มีความถูกต้องและตรงตามหลักสตูร 2) ออกแบบและจัดโครงสร้างบทเรียนเป็นระบบและใช้เวลาเหมาะสม. 3) ใช้สื่อประกอบบทเรียนได้เหมาะสมและช่วยในการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์ ของบทเรียน 4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มออกแบบโครงสร้าง กิจกรรมหรือสื่อการเรียนใหม่ ๆ ในบทเรียน 5) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มออกแบบโครงสร้าง กิจกรรม หรือสื่อการเรียนใหม่ ๆ ส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) |
ตัวชี้วัดที่ 2 ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) มีการทบทวนความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดิม เช่น การใช้คําถาม แบบฝึก หรือกิจกรรม ฯลฯ 2) มีการเข้าถึงผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ใหม่ 3) มีการช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังมีความรู้ ทักษะ หรือประสบการณ์เดมิ ไม่เพียง พอที่จะเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ใหม่ เช่น การอธิบาย ยกตัวอย่าง การใช้คําถาม เกม หรือกิจกรรม ฯลฯ 4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ๆให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่ 5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงความรู้ หรือประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่ (มีบันทึกหลังการสอน) |
ตัวชี้วัดที่ 3 ผู้เรียนได้สร้างความรู้เอง หรือได้สร้างประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) ออกแบบงานหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือประสบการณ์ใหม่อย่างเหมาะสมกับวัย สภาพ และบริบทของผู้เรียนและชั้นเรียน 2) ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องใช้ความรู้หรือทักษะหลากหลาย 3) ใช้เทคนิคให้ผู้เรียนสรุปความรู้หรือประสบการณ์ใหม่ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ความคิด ตารางวิเคราะห์ การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอ ฯลฯ 4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือได้ประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง 5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนสร้างความรู้หรือได้ประสบการณ์ใหม่จากการเรียนรู้ด้วยตนเอง (มีบันทึกหลังการสอน) |
ตัวชี้วัดที่ 4 ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) กิจกรรมการเรียนรู้เชื่อมโยงสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน บริบทชุมชน หรือสภาพจริงของผู้เรียน 2) วิธีการหรือกิจกรรมการเรียนรู้ มีความท้าทายและมีระดับความยากง่ายเหมาะสมกับวัย สภาพ และพัฒนาการของผู้เรียน 3) ผู้เรียนมีโอกาสสะท้อนการเรียนรู้ นำเสนอความสำเร็จ หรืออธิบายข้อผิดพลาดหรือความล้มเหลวที่เกิดขึ้น 4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ 5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ (มีบันทึกหลัง การสอน) |
ตัวชี้วัดที่ 5 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญจากการเรียนรู้
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่าง ๆ ครบถ้วนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 2) ผู้เรียนได้บูรณาการทักษะต่าง ๆ ลงสู่การปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้รับการพัฒนาในสถานการณ์หรือการแก้ปัญหาใหม่ ๆ 4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญให้กับผู้เรียน 5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะความเชี่ยวชาญ (มีบันทึกหลังการสอน) |
ตัวชี้วัดที่ 6 ผู้เรียนได้รับข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงการเรียนรู้
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) มีการสังเกตหรือค้นหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติหรือมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนของผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้ 2) มีการประเมินผลระหว่างการเรียนรู้โดยใช้วิธีการที่เหมาะสม เช่น การใช้คำถามแบบทดสอบ การปฏิบัติ ฯลฯ 3) มีการนำผลการสังเกต หรือผลการค้นหา หรือผลการประเมินระหว่างเรียนรู้สะท้อนกลับให้ผู้เรียน 4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนปรับปรุงการเรียนรู้ 5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนมีการปรับปรุงการเรียนรู้ (มีบันทึกหลัง การสอน) |
ตัวชี้วัดที่7 ผู้เรียนได้รับการพัฒนาการเรียนรู้ในบรรยากาศชั้นเรียนที่เหมาะสม
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) ผู้เรียนได้รับแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา พฤติกรรมแสดงออก และเจตคติจากครูผู้สอน 2) กระตุ้นให้ผู้เรียนมั่นใจ มีอิสระในการคิดหรือทดลอง และรับรู้ความสามารถของตนเอง 3) ใช้สื่อการเรียนหรือตัวอย่างประกอบที่หลากหลาย และกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ เปรียบเทียบจากสื่อการเรียนหรือตัวอย่างเหล่านั้น 4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ในการสร้างบรรยากาศชั้นเรียน 5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ สามารถสร้างบรรยากาศชั้นเรียนที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน (มีบันทึกหลังการสอน) |
ตัวชี้วัดที่ 8 ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) ผู้เรียนได้รับโอกาสในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้หรือการลงมือปฏิบัติ 2) ผู้เรียนได้ประเมินตนเองหรือถูกเพื่อนประเมินในระหว่างเรียนหรือเมื่อจบบทเรียน 3) ผู้เรียนได้รับการกระตุ้นหรือการมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกฝน หรือเรียนรู้ต่อเนื่องเพิ่มเติมภายหลังจบบทเรียน 4) แสดงให้เห็นถึงการริเริ่มใช้วิธีการใหม่ ๆ ให้ผู้เรียนกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง 5) แสดงให้เห็นถึงการใช้วิธีการใหม่ ๆ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถกำกับการเรียนรู้และมีการเรียนรู้แบบนำตนเอง (มีบันทึกหลังการสอน) |
ตัวชี้วัดที่ 2 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อน ถึงการได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) ทักษะการสื่อสารโดยการพูด การเขียน หรือการแสดงออกในรูปแบบอื่น ๆ 2) ทักษะการนำเสนออย่างเป็นระบบ น่าสนใจ 3) ทักษะการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการเรียนหรือการฝึก 4) ความคล่องแคล่ว หรือความชำนาญ หรือความถูกต้องในการคิดหรือการปฏิบัติ 5) ทักษะการออกแบบและการวางแผน |
ตัวชี้วัดที่ 3 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงความสามารถ ในการเรียนรู้ (Cognitive Abilities) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) ความยืดหยุ่นในการคิด หรือการคิดเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ 2) ความคิดสร้างสรรค์ หรือการคิดเชิงนวัตกรรม 3) กระบวนการสืบเสาะหาความหมาย หรือกระบวนการตัดสินใจ 4) กระบวนการคิดเชิงเหตุผล หรือการให้เหตุผลเชิงตรรกะ 5) กระบวนการคิดเชิงระบบ |
ตัวชี้วัดที่ 4 ผลงานหรือผลการปฏิบัติสะท้อนถึงการบูรณาการทักษะในการทำงาน (Cross – functional Skills) ตามวัยและลักษณะของผู้เรียน
เกณฑ์การพิจารณาผลการปฏิบัติ | คะแนน |
1) ทักษะกระบวนการ เช่น การวางแผน การวิเคราะห์วิจารณ์ การกำกับตนเอง การทดลองปฏิบัติ การนำเสนอความคิด 2) ทักษะทางสังคม เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การโน้มน้าว การเจรจา การบริการ การสอนหรือฝึกผู้อื่น 3) ทักษะการจัดการ เช่น การจัดการเวลา การจัดการทรัพยากรการจัดการทีมทำงาน 4) ทักษะเฉพาะทาง เช่น ทักษะทางกายภาพ การเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อ ดนตรี กีฬา หรือทักษะเฉพาะทางตามลักษณะรายวิชาหรือสาระการเรียนรู้ 5) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ทักษะหลากหลายการแก้ปัญหาหลายขั้นตอน การแก้ปัญหาที่ต้องใช้ความร่วมมือจากผู้อื่น การแก้ปัญหาเชิงซ้อนหลายระดับ |
ดาวน์โหลดไฟล์
PA4 แบบประเมินต่ำแหน่งและวิทยฐานะ ตำแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการ
PA4 แบบประเมินต่ำแหน่งและวิทยฐานะ ต่ำาแหน่งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
PA4 แบบประเมินต่ำแหน่งและวิทยฐานะ ต่ำแหน่งครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ
PA4 แบบประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะ ต่ำแหน่งครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ