เกณฑ์การแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี 2566
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะดำเนินโครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งชาติ ปี ๒๕๖๖ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักให้ครู นักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของภาษาไทยในฐานะเป็นภาษาประจำชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดการแข่งขันทักษะภาษาไทย โครงการรักษ์ภาษาไทย เนื่องในสัปดาห์วันภาษาไทยแห่งขาติ ปี ๒๕๖๖ ประกอบด้วย ๕ กิจกรรม คือ การคัดลายมือ การเขียนเรียงความ การแต่งคำประพันธ์ การอ่านจับใจความสำคัญ และรอบรู้วรรณคดี
ประเภทการแข่งขัน การคัดลายมือ
การดำเนินการแข่งขัน
๑. คัดลายมือตามบทอ่านที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กำหนดให้คัดลายมือด้วยตัวบรรจง ดังนี้
๒.๑ ชั้น ป.๑ – -๓ ความยาว ๑๐ – ๑๕ บรรทัดให้คัดตัวบรรจงเต็มบรรทัด เว้นบรรทัด โดยใช้ดินสอดำ
๒.๒ ชั้น ป.๔ – ๖ ความยาว ๑๕ – ๒๐ บรรทัด
๒.๓ ชั้น ม.๑ – ๓ ความยาว ๒๐ – ๒๕ บรรทัด
๒.๔ ชั้น ม.๔ – ๖ ความยาว ๒๐ – ๒๕ บรรทัด
ให้คัดตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ไม่เว้นบรรทัดโดยใช้ปากกาดำหรือน้ำเงิน
๓. คัดลายมือในกระดาษที่ สพฐ. กำหนดให้
๔.. ใช้เวลาในการแข่งขัน ๑ ชั่วโมง
เกณฑ์การให้คะแนน
๑. ใช้ตัวอักษรแบบกระทรวงศึกษาธิการ(๕๐ คะแนน)
๒ ถูกต้องตามอักขรวิธี (๒๕ คะแนน)
๓. อ่านง่าย เป็นระเบียบ สะอาดเรียบร้อย (๒๕ คะแนน)
กรรมการจะไม่พิจารณาผลงานในกรณี ดังนี้
๑) ความยาวไม่เป็นตามที่กำหนด
๒) ไม่เขียนตัวบรรจง ขนาดตามที่กำหนด
ประเภทการแข่งขัน การเขียนเรียงความ
การดำเนินการแข่งขัน
๑. เขียนเรียงความตามประเด็นที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ ) กำหนดให้เขียนด้วยลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ไม่เว้นบรรทัดโดยใช้ปากกาดำหรือน้ำเงิน
๒.๑ ชั้น ป.๔-๖ เขียนความยาว ๑๕ – ๒๐ บรรทัด
๒.๒ ชั้น ม.๑-๓ เขียนความยาว ๒๐ – ๒๕ บรรทัด
๒.๓ ชั้น ม.๔-๖ เขียนความยาว ๒๕ – ๓๐ บรรทัด
๓. เขียนในกระดาษที่ สพฐ. กำหนดให้
๔. ใช้เวลาในการแข่งขัน ๑ ชั่วโมง
เกณฑ์การให้คะแนน
๑. การตั้งชื่อเรื่อง (๕ คะแนน)
- ชื่อเรื่องสอดคล้องกับประเด็นที่กำหนด
- ชื่อเรื่องสัมพันธ์กับเนื้อหาที่เขียน
- ชื่อเรื่องมีความน่าสนใจแปลกใหม่
- ตั้งชื่อเรื่องอย่างสร้างสรรค์ ไม่ขัดต่อหลักศีลธรรมจรรยา
- ตั้งชื่อเรื่องได้กระชับ เข้าใจง่าย
๒. การเขียนส่วนนำ (๑๐ คะแนน) - ส่วนนำมีเนื้อหาขี้ให้เห็นความสำคัญหรือปูพื้นฐานความเข้าใจให้แก่ผู้อ่าน
- ส่วนนำสามารถกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้
- เนื้อหาในส่วนนำต้องไม่ช้ำกับส่วนสรุปปรากฏเทคนิคที่น่าสนใจในการเขียนส่วนนำ เช่นนำด้วยคำถาม นำด้วยสุภาษิตหรือบทร้อยกรอง นำด้วยความเป็นมาของเรื่อง นำด้วยจุดประสงค์ของการเขียน ฯลฯ
- ความยาวของส่วนนำคิดเป็นประมาณร้อยละ ๒๐ ของเรียงความ
๓. การเขียนเนื้อเรื่อง (๔๐ คะแนน)
- ลำดับข้อความและความคิดต่อเนื่องสอดคล้องกัน
- แสดงเหตุและผลอย่างสมเหตุสมผล
- ปรากฎใจความสำคัญ ๑ ใจความในแต่ละย่อหน้า
- เนื้อหาที่นำเสนอเป็นข้อเท็จจริงถูกต้อง
- ยกตัวอย่างและอ้างอิงประกอบโดยใช้สำนวน โวหาร สุภาษิต คำคม ตัวเลข สถิติ บุคคล ทฤษฎี หลักปรัชญา ฯลฯ ได้อย่างเหมาะสม
- ความยาวของเนื้อเรื่องประมาณร้อยละ ๖๐ ของเรียงความ
๔. การเขียนส่วนสรุป (๑๐ คะแนน)
- ส่วนสรุปมีเนื้อหาสัมพันธ์กับเนื้อหาส่วนอื่น ๆ
- ส่วนสรุปมีเนื้อหากล่าวปีด ไม่ปรากฎรายละเอียด ที่ช้ำกับเนื้อเรื่อง
- ส่วนสรุปไม่เสนอประเด็นใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้อง
- ปรากฏเทคนิคที่น่าสนใจในการเขียนส่วนสรุป เช่น เขียนสาระสำคัญทั้งหมด เน้นย้ำประเด็นหลัก ตั้งคำถามให้ผู้อ่านฉุกคิด เสนอซ้อคิดหรือคติเตือนใจ เสนอคำคมหรือบทร้อยกรอง ฯลฯ
- ความยาวของส่วนสรุปประมาณร้อยละ ๒๐ ของเรียงความ
๕. การใช้ภาษา (๒๐ คะแนน)
- ใช้คำได้ถูกต้องตามความหมาย
- ใช้ระดับภาษาได้ถูกต้องเหมาะสมแก่บุคคลและสถานการณ์
- ร้อยเรียงประโยคได้สละสลวย
- ใช้ภาษาที่มีวรรณศิลป์
- ใช้คำเชื่อมข้อความและย่อหน้าได้ถูกต้อง
- ไม่ปรากฎสำนวนภาษาต่างประเทศ
- ไม่ปรากฏการใช้คำพุ่มเฟือย
- ใช้ภาษาได้กระชับ อ่านเข้าใจง่าย
๖. การเขียนถูกต้องตามอักขรวิธี (๑๐ คะแนน)
- เขียนได้ถูกต้องตามระเบียบของภาษาไทย
- สะกดคำได้ถูกต้องทุกคำ
- เว้นวรรคตอนได้ถูกต้อง
- ใช้เครื่องหมายวรรคตอนได้ถูกต้อง
- ไม่พบการฉีกคำและการตัดคำ
๗. อ่านง่าย เป็นระเบียบ สะอาดเรียบร้อย (๕ คะแนน)
ประเภทการแข่งขัน การแต่งคำประพันธ์
การดำเนินการแข่งขัน
๑. แต่งคำประพันธ์ตามประเด็นและจำนวนบทที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้
๑.๑ ชั้น ป.๔ – ป.๖ แต่งกลอนสี่ จำนวน ๔ บท
๑.๒ ชั้น ม.๑ – ม.๓ แต่งกลอนสุภาพ จำนวน ๔ บท (กลอนแปด)
๑.๓ ชั้น ม.๔ – ม.๖ แต่งอินทรวิเชียรฉันท์ จำนวน ๔ บท
๒. เขียนด้วยลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด ไม่เว้นบรรทัดโดยใข้ปากกาดำหรือน้ำเงิน
๓. เขียนในกระดาษที่ สพฐ.กำหนดให้
๔. ใช้เวลาในการแข่งขัน ๑ ชั่วโมง
เกณฑ์การให้คะแนน
๑. ฉันทลักษณ์และอักขรวิธี (๒๐ คะแนน)
- เขียนตัวสะกดการันต์ผิด หักคำละ ๑ คะแนน
- มีสัมผัสซ้ำ หักตำแหน่งละ ๒ คะแนน
๒. ความคิดและเนื้อหา (๔๐ คะแนน)
- ตรงประเด็น หมายความว่า นักเรียนจะต้องใช้หัวข้อที่กำหนดให้เป็นแกนเรื่อง
- เสนอแนวคิดสร้างสรรค์ หมายความว่า เนื้อหาที่นักเรียนเสนอนั้นให้แง่คิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน เช่น แง่คิดในการดำรงชีวิต การเข้าใจสังคม การปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
- เสนอแนวคิดแปลกใหม่ หมายความว่า แนวความคิด
- ที่เสนอในเนื้อหาไม่เป็นที่กล่าวถึงโดยปกติ เป็น
- แนวความคิดที่มีเหตุผลและอยู่ในขอบเขตของหัวข้อ
๓. กวีโวหาร (๔๐ คะแนน)
- เลือกใช้คำเหมาะสมแก่เนื้อหาและบริบท
- เล่นสัมผัสอักษร เล่นคำ ไพเราะ สละสลวยและราบรื่น ช่วยให้คำประพันธ์ไพเราะยิ่งขึ้น
- ใช้โวหารต่าง ๆ ส่งเสริมเนื้อหาให้มีความหมาย ลึกซึ้ง กินใจ เช่น ใช้อุปมา ใช้บุคคลวัต เป็นต้น
บทร้อยกรองที่ผิดฉันทลักษณ์ต่อไปนี้ กรรมการจะไม่นำไปตรวจให้คะแนน
กลอนสื่
๑) ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค
๒) ไม่มีสัมผัสระหว่างบท
๓ ใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับสระเสียงยาวเป็น สัมผัสบังคับ (เช่น ใช้ “ใจ” สัมผัส กับ “กาย”)
๔) แต่งไม่ครบตามจำนวนบทที่กำหนด
กลอนสภาพ
๑) ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค
๒) ไม่มีสัมผัสระหว่างบท
๓) ใช้เสียงท้ายวรรคผิด (ท้ายวรรคที่หนึ่งใช้ได้ทุกเสียงท้ายวรรคที่สองห้ามใช้เสียงสามัญหรือเสียงตรีท้ายวรรคที่สามและท้ายวรรคที่สี่ห้ามใช้เสียงเอกเสียงโท หรือเสียงจัตวา)
) ใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับสระเสียงยาวเป็นสัมผัสบังคับ (เช่น ใช้ “ใจ” สัมผัส กับ “กาย”)
๕) แต่งไม่ครบตามจำนวนบทที่กำหนด
อินทรวิเชียรฉันท์
๑) ไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค
๒) ไม่มีสัมผัสระหว่างบท
๓) ใช้สระเสียงสั้นสัมผัสกับสระเสียงยาวเป็นสัมผัสบังคับ (เช่น ใช้ “ใจ” สัมผัส กับ “กาย”)
๔) วางคำครุลหุผิดตำแหน่ง
๕) แต่งไม่ครบตามจำนวนบทที่กำหนด
ประเภทการแข่งขัน การอ่านจับใจความสำคัญ
การดำเนินการแข่งขันการอ่านจับใจความสำคัญ
๑. การแข่งขันระดับเขตพื้นที่/กองกำกับการ ให้ใช้ข้อสอบตามที่ สพฐ. กำหนด (ชุดที่ ๑) (ข้อสอบปรนัย ๔ ตัวเลือก) จำนวน ๒๐ ข้อ ข้อสอบอัตนัยจำนวน ๕ ข้อ ใช้เวลาแข่งขัน ๑ ชั่วโมง โดยกรรมการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/กองกำกับการ เป็นผู้ตรวจตามแนวทางเฉลยที่ สพฐ. ส่งให้พร้อมข้อสอบ
๒. นักเรียนที่ชนะเลิศระดับเขตพื้นที่การศึกษา/กองกำกับการ ให้ทำข้อสอบ (ชุดที่ ๒) ที่ สพฐ.กำหนด (ข้อสอบอัตนัย ๑ ข้อ) ใช้เวลาสอบ๑ ชั่วโมง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/กองกำกับการ จัดส่งกระดาษคำตอบของนักเรียนที่ชนะเลิศทางไปรษณีย์ เพื่อให้คณะกรรมการส่วนกลางเป็นผู้ตรวจ ภายใน ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖หากเกินกำหนดจะถูกตัดสิทธิ์ทันที
เกณฑ์การให้คะแนน
ตรวจตามแนวทางเฉลยที่สพฐ. ส่งให้พร้อมข้อสอบ
ประเภทการแข่งขัน รอบรู้วรรณคดี ตอน ลิลิตตะเลงพ่าย
การดำเนินการแข่งขันรอบรู้วรรณคดี
๑. การแข่งขันระดับเขตพื้นที่/กองกำกับการ ให้ใช้ข้อสอบตามที่ สพฐ. กำหนด (ชุดที่ ๑) (ข้อสอบปรนัย ๔ ตัวเลือก) จำนวน ๒๐ ข้อ ข้อสอบอัตนัย
จำนวน ๕ ข้อ ใช้เวลาแข่งขัน ๑ ชั่วโมง โดยกรรมการระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา/กองกำกับการ เป็นผู้ตรวจตามแนวทางเฉลยที่ สพฐ. ส่งให้พร้อมข้อสอบ
๒. นักเรียนที่ชนะเลิศระดับเขตพื้นที่การศึกษา/กองกำกับการ ให้ทำข้อสอบ (ชุดที่ ๒) ที่ สพฐ.กำหนด (ข้อสอบอัตนัย ๑ ข้อ) ใช้เวลาสอบ๑ ชั่วโมง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
/กองกำกับการ จัดส่งกระดาษคำตอบของนักเรียนที่ชนะเลิศทางไปรษณีย์ เพื่อให้คณะกรรมการส่วนกลางเป็นผู้ตรวจ ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖ หากเกินกำหนดจะถูกตัดสิทธิ์ทันที
เกณฑ์การให้คะแนน
ตรวจตามแนวทางเฉลยที่สพฐ. ส่งให้พร้อมข้อสอบ
ดาวน์โหลดเกณฑ์
รายละเอียดเพิ่มเติม :: สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.