ก.ค.ศ. เห็นชอบ(ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564

 ก.ค.ศ. เห็นชอบ(ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 2/2564 ในในวันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 โดยมีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่สำคัญ ดังนี้

ก.ค.ศ. เห็นชอบ(ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564
ก.ค.ศ. เห็นชอบ(ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564

เห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

       สืบเนื่องจาก ก.ค.ศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ได้เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกตำแหน่งและทุกวิทยฐานะ สำหรับตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบใหม่ ให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงกับการจัดการศึกษาในปัจจุบัน และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก รวมทั้งกำหนดลักษณะงานที่ปฏิบัติ 5 ด้าน คือ   

1. ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ

2. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา

3. ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม

4. ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่าย และ

5. ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

รวมถึงการกำหนดคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งซึ่ง ก.ค.ศ. ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอนไปแล้ว และเพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี รวมถึงโมเดลการศึกษายกกำลังสอง ของกระทรวงศึกษาธิการ “ปลดล็อก ปรับเปลี่ยน เปิดกว้าง”  

จึงเป็นที่มาของการจัดทำ (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งได้มีการศึกษา การระดมความคิดเห็นจากนักวิชาการ มีผลการวิจัยเป็นฐานในการดำเนินการ รวมถึงได้มีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ใหม่นี้  ก.ค.ศ. พิจารณาแล้วเห็นว่าหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว จะเป็นประโยชน์กับผู้เรียน สถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้พัฒนาตนเองให้มีศักยภาพสูงขึ้นตามระดับวิทยฐานะ มีภาวะผู้นำในการบริหารวิชาการ และบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนคุณภาพครู คุณภาพผู้เรียน และคุณภาพการศึกษาได้อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ ผู้บริหารสามารถเข้าถึงครูและห้องเรียนมากยิ่งขึ้นจะทำให้ได้รับทราบปัญหา และสามารถนำมากำหนดแผนพัฒนาสถานศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และยังทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาได้ทราบจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาของครูและบุคลากรในสถานศึกษา ซึ่งจะทำให้มีแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะครู เพื่อให้ครูสามารถนำผลการพัฒนามาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการจัดการเรียนรู้และการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน สำหรับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ใหม่นี้เป็นการลดกระบวนการและขั้นตอน โดยการนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ลดภาระในการจัดทำเอกสารและงบประมาณเกี่ยวกับการประเมิน เกิดการเชื่อมโยงบูรณาการในระบบการประเมินวิทยฐานะ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนเงินเดือน และการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะโดยใช้ตัวชี้วัดเดียวกัน ทำให้ลดความซ้ำซ้อน และมี Big data ในการบริหารงานบุคคลสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการวางแผนอัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย (ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ใหม่ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

        1. กำหนดให้ผู้บริหารสถานศึกษาทุกคน ต้องทำข้อตกลงในการพัฒนางานกับผู้บังคับบัญชาชั้นต้น เป็นประจำทุกปี ประกอบด้วย 2 ส่วน

           ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ

          ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เสนอเป็นประเด็นท้าทายเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา ฯลฯ

         โดยมีรอบการประเมินปีงบประมาณละ 1 ครั้ง โดยผลการประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการบริหารงานบุคคล ได้แก่ ใช้เป็นคุณสมบัติในการขอรับการประเมินเพื่อให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ใช้เป็นผลการประเมินเพื่อคงวิทยฐานะ (มาตรา 55) และใช้เป็นองค์ประกอบในการประเมินเพื่อพิจารณาเลื่อนเงินเดือน

         สำหรับการยื่นคำขอ ให้ยื่นได้ตลอดปี ภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยหากยื่นไว้แล้ว ต้องได้รับแจ้งมติไม่อนุมัติก่อน จึงจะยื่นในวิทยฐานะเดิมได้

         2. คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ

           1) ต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ 4 ปีติดต่อกัน หรือมีคุณสมบัติเป็นไปตามเงื่อนไขที่ ก.ค.ศ. กำหนด กรณีลดระยะเวลาจะต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ 3 ปีติดต่อกัน

          2) มีการพัฒนางานตามข้อตกลง ในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 3 รอบการประเมิน ผ่านเกณฑ์

           3) ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย/จรรยาบรรณที่หนักกว่าภาคทัณฑ์ในช่วง 4 ปีย้อนหลัง

           4) สำหรับผู้ขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ/เชี่ยวชาญพิเศษ ต้องมีผลงานทางวิชาการตามที่ก.ค.ศ. กำหนดด้วย

        3. การประเมิน กำหนดให้มีการประเมิน 2 ด้าน

           ด้านที่ 1 ด้านทักษะการวางแผนกลยุทธ์ การใช้เครื่องมือ หรือนวัตกรรมทางการบริหาร

           ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา

          สำหรับวิทยฐานะเชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษจะมีการประเมิน ด้านที่ 3 ด้านผลงานทางวิชาการ

        4. การยื่นคำขอ ให้ยื่นคำขอและหลักฐานประกอบการประเมินผ่านระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (Digital Performance Appraisal : DPA)

5. เกณฑ์การตัดสิน ในแต่ละด้านต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 สำหรับการขอมีวิทยฐานะชำนาญการ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ร้อยละ 75 และร้อยละ 80 สำหรับการขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ ตามลำดับ

        *** โดยหลักเกณฑ์และวิธีการฯนี้ กำหนดให้มีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่