ก.ค.ศ. เห็นชอบหลักเกณฑ์วิทยฐานะครู เกณฑ์ใหม่ ปรับระยะเวลาเป็น 4 ปี สามารถลดได้เหลือ 3 ปี

ก.ค.ศ. เห็นชอบหลักเกณฑ์วิทยฐานะครู เกณฑ์ใหม่ ปรับระยะเวลาเป็น 4 ปี สามารถลดได้เหลือ 3 ปี ผลการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ครั้งที่ 9/2563 เมื่อวันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 โดยมีนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน เห็นชอบ (ร่าง) มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังนี้

ก.ค.ศ. เห็นชอบหลักเกณฑ์วิทยฐานะครู เกณฑ์ใหม่ ปรับระยะเวลาเป็น 4 ปี สามารถลดได้เหลือ 3 ปี
ก.ค.ศ. เห็นชอบหลักเกณฑ์วิทยฐานะครู เกณฑ์ใหม่ ปรับระยะเวลาเป็น 4 ปี สามารถลดได้เหลือ 3 ปี
ก.ค.ศ. เห็นชอบหลักเกณฑ์วิทยฐานะครู เกณฑ์ใหม่ ปรับระยะเวลาเป็น 4 ปี สามารถลดได้เหลือ 3 ปี

         สืบเนื่องจากมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะเดิม ใช้มานานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ก.ค.ศ. จึงได้วิเคราะห์และพิจารณาแล้วเห็นว่า จำเป็นต้องปรับปรุงหน้าที่ความรับผิดชอบ ลักษณะงานที่ปฏิบัติให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของการจัดการศึกษาในปัจจุบัน รวมถึงระยะเวลาที่กำหนดในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะตามมาตรฐานตำแหน่งซึ่งยังมีความเหลื่อมล้ำในความก้าวหน้าระหว่างสายงาน (Career Path) สำหรับการปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จะเป็นการจูงใจให้คนเก่งเข้ามาสู่ระบบการศึกษา และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพตามความรู้ ความสามารถจริง เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการในการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ โดยคุณภาพของครูคือกุญแจสำคัญ โดยมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะที่ปรับปรุงใหม่ มีสาระสำคัญ ดังนี้

         มาตรฐานตำแหน่ง

         1. กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงและหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนด

         2. ปรับปรุงคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ส่งเสริมให้ทุกสายงานมีเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพ ทั้งในสายงานของตนเองและสามารถเปลี่ยนตำแหน่งไปสู่สายงานอื่นได้ โดยคำนึงถึงการสั่งสมประสบการณ์ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการเข้าสู่ตำแหน่งอื่น และประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา

         มาตรฐานวิทยฐานะ

         1. มุ่งเน้นให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความสามารถ และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ รวมทั้งความรู้ ความสามารถ ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในยุคปัจจุบัน สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ

         2. ปรับระยะเวลาการให้มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ กำหนดระยะเวลาเป็น 4 ปี เนื่องจากระยะเวลาดังกล่าวมีความเหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถ สมรรถนะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ประกอบกับหลักของวาระการดำรงตำแหน่งกำหนดให้อยู่ในวาระในวาระ 4 ปี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน และการบริหารจัดการ

         ทั้งนี้จะสามารถลดระยะเวลาการดำรงตำแหน่งหรือการดำรงวิทยฐานะจาก 4 ปี เหลือ 3 ปี ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ตามข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

             1. เป็นผู้มีความสามารถทางภาษาต่างประเทศ ซึ่งจะเทียบกับเกณฑ์ผลการทดสอบ CEFR ที่คุรุสภาได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ในการประเมินสมรรถนะทางวิชาชีพครูฯ

             2. เป็นผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่พิเศษ (พื้นที่เกาะ ภูเขาสูง พื้นที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ)

             3. เป็นผู้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (การได้รับวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น)

             4. เป็นผู้ผ่านการประเมินสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิอาชีพ จากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

         นอกจากเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวแล้ว ต้องมีผลการประเมินการเลื่อนเงินเดือนระดับดีเด่น 4 รอบการประเมินติดต่อกันด้วย

         ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่านได้กำหนดบทเฉพาะกาลว่า

         1. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ใดมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งหรือคุณสมบัติเฉพาะสำหรับวิทยฐานะ ตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะเดิมอยู่แล้ว ให้ใช้คุณสมบัติดังกล่าว ได้อีก 1 ครั้ง ภายหลังจากหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามมาตรฐานตำแหน่งฯ ใหม่ มีผลบังคับใช้

        2. มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ (เดิม) ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 17 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2548 ให้ใช้เฉพาะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้ที่ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานและเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษาอยู่ก่อนวันที่มาตรฐานตำแหน่งฯ ใหม่ใช้บังคับเท่านั้น และหากข้าราชการครูฯ ดังกล่าวมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งของตำแหน่งใดในมาตรฐานตำแหน่งเดิมก็ให้มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนั้นได้เช่นเดิม ทั้งนี้ เมื่อตำแหน่งดังกล่าวว่างลง ให้ยกเลิกมาตรฐานตำแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะ (เดิม) ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 17 
ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2548

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ สำนักงาน ก.ค.ศ. วันที่ 22 ธันวาคม 2563

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่