สพฐ. ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการสอนซ่อมเสริม

สพฐ. ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการสอนซ่อมเสริม

ตามหนังสือที่อ้างถึง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ชักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การนับเวลาเรียน การอนุมัติการจบการศึกษาและการจัดทำระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.๑) ปีการศึกษา ๒๕๖๔ ที่ให้สถานศึกษากำกับ ติดตาม ช่วยเหลือสอนซ่อมเสริมและดำเนินการวัดและประเมินผลกรณีนักเรียนมีผลการเรียนไม่สมบูรณ์ (ติด 0 ร มส) นั้น

เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบาย เรียนดี มีความสุข เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งผู้เรียน ผู้สอนเพื่อให้การเรียนดีขึ้น ลดปัญหาของผู้เรียนในการติด 0 ร มส สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงขอซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการสอนซ่อมเสริม ดังนี้

๑. การวัดและประเมินผลในชั้นเรียน เป็นกระบวนการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ ตีความ บันทึกข้อมูลที่ได้จากการวัดและประเมินผล แบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการตลอดระยะเวลาของการจัดการเรียนการสอน ทั้งก่อนการเรียนการสอน ระหว่างการเรียนการสอน และหลังการเรียนการสอน โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลาย เพื่อเป็นช้อมูลย้อนกลับ รายงานความก้าวหน้า จุดเด่น จุดที่ต้องปรับปรุงให้แก่ผู้เรียนรวมถึงวางแผนออกแบบการจัดการเรียนการสอนของครูให้การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ

๒. การตัดสินผลการเรียน สถานศึกษาสามารถกำหนดสัดส่วนคะแนนระหว่างเรียนและคะแนนปลายปีปลายภาคได้ตามความเหมาะสม

๒.๑ คะแนนระหว่างเรียน สถานศึกษาสามารถนำคะแนนระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนแบบ Onsite หรือผสมผสานกับ Distance learning ในแบบต่าง ๆ ที่ครผู้สอนมอบหมายให้นักเรียนปฏิบัติ เช่น การตอบคำถาม การพูดคุย การนำเสนองาน ฯลฯ ด้วยวิธีการสื่อสารหลากหลาย เช่น ชูม ไลน์ เฟซบุ๊ก ฯลฯ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ กำหนด

๒.๒ คะแนนปลายปี หรือปลายภาคเรียน สถานศึกษาไม่จำเป็นต้องใช้ข้อสอบเพียงอย่างเดียว อาจพิจารณาจากผลงาน ชิ้นงาน แฟ้มสะสมงาน การสอบปากเปล่า ผ่านซูม ไลน์ เฟซบุ๊ก หรือช่องทางอื่น ได้ตามความเหมาะสมตามบริบทและความพร้อมของสถานศึกษาและผู้เรียน โดยคำนึงถึงคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ

๓. การสอนซ่อมเสริม กรณีที่ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ กระบวนการ หรือเจตคติ คุณลักษณะไม่ป็นไปตามกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด สถานศึกษาต้องจัดสอนซ่อมเสริมเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากการสอนตามปกติ เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถบรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่กำหนดไว้เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และพัฒนา โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของผู้เรียนอย่างทันท่วงที

๔. เพื่อลดปัญหาของผู้เรียนในการติด ร มส จึงได้กำหนดบทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
๔.๑ บทบาทสถานศึกษา
๔.๑.๑ สำรวจข้อมูลนักเรียนที่ติด o ร มส
๔.๑.๒ จัดทำแนวปฏิบัติการแก้ไข ร มส โดยกำหนดแนวทางการสอนซ่อมเสริมและระยะเวลาในการแก้ไข ๐ ร มส อย่างชัดเจน
๔.๑.๓ สื่อสารสร้างความเข้าใจแก่ครู นักเรียน และผู้ปกครอง เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาและซ่อมเสริมนักเรียนร่วมกัน
๔.๑.๔ กำกับ ติดตาม และช่วยเหลือนักเรียนที่มีผลการประเมินยังไม่บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

๔.๒ บทบาทครู
๔.๒.๑ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับศักยภาพของนักเรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
๔.๒.๒ จัดหาสื่อเสริมการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนเพื่อให้สามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง
๔.๒.๓ ใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่ หลากหลายตามสภาพจริง โดยเน้นการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน
๔.๒.๔ ในกรณีที่นักเรียนมีแนวโน้มที่จะไม่บรรลุตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดให้เร่งดำเนินการพัฒนาและซ่อมเสริมนักเรียน

๔.๓ บทบาทนักเรียน
๔.๓.๑ มีส่วนร่วมในการออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล
๔.๓.๒ รู้จักตัวเองเกี่ยวกับการเรียน เพื่อให้สามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ
๔.๓.๓ ให้ข้อมูลย้อนกลับตนเอง เพื่อต่อยอด หรือแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง
๔.๓.๔ มีวินัยและความรับผิดชอบในหน้าที่การเรียนของตนเอง

ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและแจ้งให้สถานศึกษาในสังกัดดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

สพฐ. ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการสอนซ่อมเสริม 3
สพฐ. ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้และการสอนซ่อมเสริม 4

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่