ด่วน!! สพฐ.สำรวจความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ว.pa

สพฐ.สำรวจความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ว.pa

วัตถุประสงค์ของการสำรวจเพื่อทราบสภาพปัจจุบันปัญหาอุปสรรคต่อการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน และการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะและความคิดเห็นต่อระบบ DPA และการประเมิน สพฐจะได้เป็นข้อมูลเพื่อเสนอต่อ ก.ค.ศ. ในการปรับปรุงเกณฑ์ฯ ต่อไป

ด่วน!! สพฐ.สำรวจความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ว.pa
ด่วน!! สพฐ.สำรวจความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ว.pa 3
ด่วน!! สพฐ.สำรวจความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อให้มีและเลื่อนวิทยฐานะ ว.pa 4

ตัวอย่างคำถามควรอ่านให้ละเอียด

ส่วนที่ 2 สภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรคต่อการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน และการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ

2.1 ท่านมีการรับรู้หรือเห็นด้วยกับประเด็นต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด

  • มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) เป็นอย่างดี
  • สามารถจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) ได้ตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  • การจัดทำข้อตกลงในพัฒนางาน (PA) ตามรอบปีงบประมาณ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 30 กันยายนปีถัดไป มีความเหมาะสม
  • คณะกรรมการประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลงมีความรู้ความสามารถเหมาะสม และชี้แนะแนวทางในการพัฒนางานได้เป็นอย่างดี
  • การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ควรพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานตามสภาพจริงเท่านั้น
  • การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ควรพิจารณาจากผลการปฏิบัติงานที่เป็นเอกสารประกอบผลการปฏิบัติงานเท่านั้น
  • การประเมินผลการพัฒนางานตามข้อตกลง ควรใช้แนวทางที่ไม่เพิ่มภาระงาน และลดการสิ้นเปลืองในการใช้กระดาษ
  • ข้อตกลงในการพัฒนางานสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียน คุณภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา คุณภาพของสถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษาได้จริง
  • ผลการประเมินการพัฒนางานตามข้อตกลงต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 มีความเหมาะสมแล้ว
  • การขอรับการประเมินต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามมาตรฐานวิทยฐานะ 4 ปี
  • การนำผลการพัฒนางานตามข้อตกลงย้อนหลัง 3 รอบการประเมิน มาใช้เป็นคุณสมบัติในการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ
  • การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ โดยต้องมีการประเมินมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ย้อนหลัง 4 ปี
  • การลดระยะเวลาตามเงื่อนไขคุณสมบัติเฉพาะมีความเหมาะสม
  • คณะกรรมการประเมินการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะในแต่ละวิชา/สาขา ควรมีความรู้ความเข้าใจในการประเมินเป็นมาตรฐานเดียวกัน
  • การใช้ไฟล์ดิจิทัล “บันทึกการสอน” ตามมาตรฐานวิทยฐานะที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ โดยไม่มีการตัดต่อประกอบการประเมิน
  • การปรับเกณฑ์การตัดสินการประเมินด้านที่ 1 และด้านที่ 2 ต้องได้คะแนนจากกรรมการไม่น้อยกว่า 2 ใน 3
  • การใช้ไฟล์ดิจิทัล “บันทึกภาพตนเอง” เกี่ยวกับสภาพการจัดการเรียนการสอนที่สะท้อนถึงวิธีการแก้ไขปัญหา เป็น mp4 ไม่เกิน 10 นาที
  • การบันทึกผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน และผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบของไฟล์เพื่อใช้อัพโหลดประกอบการประเมิน
  • การจัดทำไฟล์ดิจิทัล (คลิปวิดีโอ) เป็นสิ่งที่ยุ่งยากและเป็นอุปสรรคสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา
  • ควรมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะให้มีทางเลือกการเสนอขอมากกว่าปัจจุบัน

2.2 ท่านคิดว่า การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ ว9/2564 (ตำแหน่งครู) ว10/2564 (ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา)และ ว11/2564 (ตำแหน่งศึกษานิเทศก์) โดยนำเข้าระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) มีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร

  • เหมาะสมแล้ว
  • ควรปรับปรุง
  • ไม่เหมาะสม

2.3 ท่านมีปัญหา และอุปสรรค การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน และการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ เรื่องใดบ้าง (โปรดสรุปพอสังเขป)
(1) การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน
(2) การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ

ส่วนที่ 3 ความคิดเห็นต่อระบบ DPA และการประเมิน
ความคิดเห็นต่อระบบ DPA และการประเมิน

  • ผู้อำนวยการสถานศึกษา/ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้นำข้อมูลผลการประเมินการพัฒนางานในแต่ละรอบการประเมิน เข้าระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA)
  • ผู้ดูแลระบบ DPA ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
  • การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ก.ค.ศ. ควรให้ผู้ดูแลระบบ DPA ของสถานศึกษา/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สามารถดำเนินการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วนได้เอง โดยไม่ต้องนำเข้าข้อมูลใหม่
  • การใช้ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) ควรให้ผู้ขอรับการประเมิน เป็นผู้นำเข้าข้อมูลเองได้
  • การนำเข้าข้อมูลผ่านระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) ปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว
  • ระบบการสุ่มกรรมการประเมินที่ใช้ในปัจจุบันมีความเหมาะสม
  • ระยะเวลาที่คณะกรรมการประเมินในระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) มีความเหมาะสม
  • รายวิชา/วิชา/สาขา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) ยังไม่ครอบคลุมการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน
  • ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) ทำให้การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะมีความสะดวกรวดเร็วและลดขั้นตอนที่ยุ่งยาก
  • ระบบการประเมินวิทยฐานะดิจิทัล (DPA) สามารถช่วยให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถพัฒนาสมรรถนะในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น สอดคล้องกับระดับการปฏิบัติที่คาดหวังตามตำแหน่งและวิทยฐานะ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่