ตั้งคณะทำงาน 2 ชุด เร่งศึกษาวิทยฐานะครู ขีดเส้น พ.ค.63

ตั้งคณะทำงาน 2 ชุด เร่งศึกษาวิทยฐานะครู ขีดเส้น พ.ค.63 ดร.อัมพร  พินะสา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผย ว่า รมต.ศึกษาธิการ ให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ ที่มุ่งปฏิบัติหน้าที่แล้วเกิดผลต่อคุณภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง ประเมินจากการทำงานจริง ไม่เน้นการกรอกเอกสารให้ยุ่งยาก เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ครู ดังนี้

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ จันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562 เวลา 14.34 น ขีดเส้นพ.ค.63เห็นเกณฑ์วิทยฐานะใหม่ อ.ก.ค.ศ.วิสามัญฯ ตั้งคณะทำงาน 2 ชุด เร่งศึกษาอดีต-อนาคตหลักเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะ ขีดเส้นเดือน พ.ค.2563 เห็นโฉมหลักเกณฑ์วิทยฐานะใหม่

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ดร.อัมพร  พินะสา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ตามที่ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ  รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายให้สำนักงาน ก.ค.ศ. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ โดยอยากเห็นครูที่ได้วิทยฐานะเป็นครูที่มุ่งปฏิบัติหน้าที่แล้วเกิดผลต่อคุณภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง ประเมินจากการทำงานจริง ไม่เน้นการกรอกเอกสารให้ยุ่งยาก เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ครู นั้น เมื่อเร็วๆนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มี ศ.กิติคุณ ชนิตา รักษ์พลเมือง เป็นประธาน

มีมติตั้งคณะทำงานขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะทำงานศึกษาวิจัยรูปแบบการขอมีและเลื่อวิทยฐานะที่ตอบโจทย์กับคุณภาพผู้เรียน และ คณะทำงานศึกษารูปแบบของหลักเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมปัญหาการใช้ ว.13 การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะ หรือ เลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ และวิทยฐานะเชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นปัญหาที่ผู้เรียกร้องให้มีการทบทวนด้วย

“คณะทำงาน ทั้ง 2 ชุด จะไปทำงานศึกษาข้อมูล และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในต้นปีการศึกษา 2563 หรือ ภายในเดือนพฤษภาคม 2563 ซึ่งระหว่างนี้ผู้ที่มีสิทธิยังสามารถยื่นขอมีและเลื่อนวิทยฐานะได้ตามหลักเกณฑ์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จนกว่าจะมีการประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่ ส่วนหลักเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะที่กำหนดให้ใช้ชั่วโมงการอบรมพัฒนาครู มาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณา นั้น ถึงแม้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน(สพฐ.)จะมีการชะลอ โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร หรือ คูปองครู ออกไป แต่ก็ไม่กระทบ เพราะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา( สพท.) และหน่วยงานอื่นๆก็ยังมีการจัดอบรมพัฒนาครูอยู่ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาได้” ดร.อัมพร  กล่าว

ที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ จันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2562 เวลา 14.34 น

หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 23 ธันวาคม 2562 – 14:42 น. ปี’63ได้เกณฑ์วิทยฐานะใหม่ ‘ก.ค.ศ.’ ตั้งคณะทำงานแก้ เน้นดูผลงานจริง เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม นายอัมพร พินะสา รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยว่า ตามที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีนโยบายให้สำนักงานก.ค.ศ. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาใหม่ ซึ่งอยากเห็นครูที่ได้วิทยฐานะ ต้องเป็นครูที่มุ่งปฏิบัติหน้าที่ แล้วเกิดผลต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างแท้จริง ไม่เน้นการกรอกเอกสารให้ยุ่งยาก ให้ประเมินจากการทำงานจริง เป็นขวัญกำลังใจให้กับครู โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับวิทยฐานะ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีศ.กิติคุณชนิตา รักษ์พลเมือง เป็นประธาน ได้มีการประชุม และมีมติตั้งคณะทำงานขึ้นมา 2 ชุด คือ คณะทำงานศึกษาวิจัยรูปแบบการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะที่ตอบโจทย์กับคุณภาพผู้เรียน และชุดที่ 2คณะทำงานศึกษารูปแบบการขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมปัญหาการของกลุ่ม ว13 การให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์มีวิทยฐานะหรือเลื่อนเป็นวิทยฐานะชำนาญการพิเศษและวิทยฐานะเชี่ยวชาญซึ่งเป็นปัญหาเรียกร้องให้มีการทบทวนด้วย

นายอัมพร กล่าวต่อว่า คณะทำงานทั้ง 2 ชุด จะไปทำงานศึกษาข้อมูลตามที่ได้รับมอบหมาย ให้แล้วเสร็จภายในต้นปีการศึกษา 2563 หรือภายในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ อย่างไรก็ตามระหว่างนี้ ผู้ที่มีสิทธิยังสามารถยื่นขอมีและเลื่อนวิทยฐานะได้ตามหลักเกณฑ์เดิม จนกว่าจะมีการประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่อย่างเป็นทางการ ส่วน หลักเกณฑ์การขอมีและเลื่อนวิทยฐานะของครู ที่กำหนดให้ใช้ ชั่วโมงการอบรมพัฒนาครู มาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณานั้นแม้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะมีการชะลอ โครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร หรือ คูปองครู ออกไป แต่ก็ไม่กระทบ เพราะสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.) และหน่วยงานอื่น ๆ ก็ยังมีการจัดอบรมพัฒนาครูอยู่ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประกอบการพิจารณาได้

ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 23 ธันวาคม 2562 – 14:42 น.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่