ผลการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ครั้งที่ 5/2563

ผลการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม 2563 รองศาสตราจารย์ เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ได้กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพว่า ที่ประชุมได้มีมติรับทราบ และพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. รับทราบประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง การใช้สําเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2563 โดยคณะกรรมการคุรุสภา ในการประชุมครั้งที่ 7/2561 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการปรับรูปแบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพและปรับระบบการให้บริการ ในระบบ e-Service เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่ผู้ขอรับบริการ ดังนี้

1) เห็นชอบในหลักการการปรับรูปแบบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ทั้ง 4 ประเภท

1.1) ปรับลายมือชื่อผู้ลงนามออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จากประธานกรรมการคุรุสภา เป็น ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ เนื่องจากการพิจารณาการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในปัจจุบัน เป็นอํานาจหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ

1.2) ปรับให้มีข้อความภาษาไทยควบคู่ภาษาอังกฤษในใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

1.3) ปรับการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแบบใบประกาศและบัตรสมาชิกคุรุสภา (บัตรพกพา) เป็นใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแบบใบประกาศฉบับเดียว ให้สามารถเป็นทั้งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และบัตรสมาชิกคุรุสภา โดยระบุเลขที่บัตรสมาชิกคุรุสภา ซึ่งเป็นเลขเดียวกันกับเลขบัตรประชาชน ของผู้ยื่นคําขอไว้ในใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ สําหรับการตรวจสอบการเป็นสมาชิกคุรุสภาสามารถตรวจสอบ ได้จากบัตรประจําตัวประชาชน

2) เห็นชอบในหลักการการปรับระบบการให้บริการในระบบ e-service เพื่ออํานวยความสะดวก ให้แก่ผู้ยื่นคําขอประกอบวิชาชีพทางการศึกษา เพื่อช่วยลดการใช้วัสดุอุปกรณ์ใช้ระบบเทคโนโลยีในการบริหารจัดการ และให้บริการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ดังนี้

2.1) ให้ผู้ยื่นคําขอสามารถพิมพ์สําเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมทั้งเอกสาร การอนุญาตต่าง ๆ ที่ได้รับการอนุมัติจากคุรุสภาแล้ว ได้จากระบบการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยตนเอง เพื่อนําไปใช้เป็นหลักฐานในการประกอบวิชาชีพโดยไม่จําเป็นต้องรอรับเอกสารฉบับจริงที่จัดส่งให้ทางไปรษณีย์

2.2) ให้ผู้ยื่นคําขอรับผิดชอบค่าธรรมเนียมการจัดส่งใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมทั้ง เอกสารการอนุญาตต่าง ๆ ที่จัดส่งให้ทางไปรษณีย์ เพื่อให้การระบุข้อมูลที่อยู่ที่จัดส่งเอกสารของผู้ยื่นคําขอ เป็นไปอย่างถูกต้อง ลดปัญหาเอกสารตีกลับ ไม่มีผู้รับ รวมทั้ง การร้องเรียนกรณีไม่ได้รับเอกสารที่จัดส่งให้แล้ว เป็นต้น

2. เห็นชอบการอนุมัติออกและต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของเลขาธิการคุรุสภา ดังนี้ 1) ออกออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จํานวน 8,762 ราย ดังนี้ 1.1) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จํานวน 6,234 ราย 1.2) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 2,417 ราย 1.3) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา จํานวน 63 ราย 1.4) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ จํานวน 48 ราย 2) ต่ออายุใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา จํานวน 48,199 ราย ดังนี้ 2.1) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู จํานวน 45,129 ราย 2.2) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา จํานวน 2,417 ราย 2.3) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา จํานวน 122 ราย 2.4) ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพศึกษานิเทศก์ จํานวน 289 ราย 3) รับทราบรายงานการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ยื่นคําขอขึ้นทะเบียนรับและต่ออายุ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทางการศึกษา และมอบสํานักงานเลขาธิการคุรุสภาเสนอคณะกรรมการคุรุสภา เพื่อทราบต่อไป

3. อนุมัติในหลักการในการเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะอนุกรรมการประเมิน เพื่อการรับรองปริญญาตรีทางการศึกษา (หลักสูตร 4 ปี) จํานวน 5 คณะ เมื่อประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรอง ปริญญาตามมาตรฐานวิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี พ.ศ. 2563 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วมอบให้เลขาธิการคุรุสภา แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่คุรุสภาคนหนึ่งเป็นอนุกรรมการและเลขานุการของคณะอนุกรรมการ โดยมีอํานาจหน้าที่ ดําเนินการตามประกาศคุรุสภา เรื่อง การรับรองปริญญาตามมาตรฐานวิชาชีพ หลักสูตร 4 ปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ 1) ประเมินด้านหลักสูตร ด้านกระบวนการผลิตและด้านผลลัพธ์ของสถาบันที่เสนอขอรับรองปริญญาตรี ทางการศึกษา (หลักสูตร 4 ปี) 2) พิจารณาเปรียบเทียบมาตรฐาน องค์ประกอบ และรายละเอียดอื่น ๆ ในกรณีที่ สถาบันจัดการศึกษาต่างไปจากหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการรับรองที่กําหนด 3) สรุปผลการประเมิน เสนอคณะกรรมการคุรุสภาพิจารณาให้การรับรอง 4) ประเมินเพื่อติดตามการดําเนินงานของสถาบันให้เป็นไป ตามที่เสนอขอรับรองจากคุรุสภา และ 5) ดําเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการคุรุสภามอบหมาย โดยให้คณะอนุกรรมการมีวาระในการดํารงตําแหน่ง 2 ปี

4. รับทราบและมอบคณะอนุกรรมการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพพิจารณา (ร่าง) มาตรฐาน วิชาชีพครู (ด้านอาชีวศึกษา) ที่เสนอโดยสํานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต่อไป

5. อนุมัติในหลักการการแต่งตั้งคณะทํางานรวบรวมปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา การจัดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู เพื่อทําหน้าที่รวบรวมข้อมูลปัญหาและเสนอแนวทางแก้ไข ปัญหาการจัดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู

6. เห็นชอบในหลักการร่างข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยการพิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณ ของวิชาชีพ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. … กรณีทบทวนระยะเวลาการสอบสวนการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ การดําเนินการทางจรรยาบรรณของวิชาชีพไม่ร้ายแรง การพักใช้ใบอนุญาตโดยไม่ต้องรอผลการสืบสวน หรือสอบสวน และความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง

รองศาสตราจารย์ เอกชัย กี่สุขพันธ์ ประธานกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ กล่าวอีกว่า ที่ประชุม คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ ได้พิจารณาการประพฤติผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพ ที่ปรากฏเป็นข่าว ตามสื่อมวลชน กรณีผู้ประกอบวิชาชีพครู จํานวน 5 ราย ที่ร่วมกระทําชําเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี จึงมีมติ ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง โดยที่ประชุมได้พิจารณาให้พักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เป็นระยะเวลา ๖๐ วัน ซึ่งจะต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จ ผลการพิจารณาจะเป็นอย่างไร ต้องประสานกับ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดมุกดาหารดําเนินการต่อไป ส่วนกรณีที่ผู้บริหารการศึกษารับรู้ แต่ไม่ได้ ดําเนินการแต่อย่างใด ก็จะต้องมีส่วนรับผิดชอบ

ในกรณีของผู้ประกอบวิชาชีพครูท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความให้กําลังใจครู จํานวน 5 ราย ที่ร่วมกระทําชําเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ที่ประชุมได้มีมติว่าไม่ได้เข้าข่ายการประพฤติผิดจรรยาบรรณ ของวิชาชีพ แต่ครูควรแสดงออกให้ถูกกาลเทศะ และจะต้องคํานึงถึงความเป็นวิชาชีพครู โดยจะทําเป็นหนังสือ ถึงครูท่านนั้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการแสดงออกต่อสื่อมวลชนหรือต่อสังคม และระมัดระวัง ในการแสดงความคิดเห็น

ส่วนกรณีผู้อํานวยการโรงเรียนที่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีพฤติกรรมในเชิงชู้สาวกับนักเรียนหญิง ซึ่งเป็นศิษย์ที่อยู่ในความดูแล และพูดคุยผ่านทางแอพพลิเคชั่นไลน์ในเชิงชู้สาวนั้น ที่ประชุมได้พิจารณาแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง และขอให้สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตกํากับดูแลผู้อํานวยการ สถานศึกษา ระมัดระวังไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก เนื่องจากท่านเป็นผู้รับผิดชอบดูแลสถานศึกษา

นอกจากนี้คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีแนวคิดที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการในเรื่องของพฤติกรรมการกระทําผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิด ทางเพศ ในกรณีนี้หากผลการพิจารณามีหลักฐานชัดเจนว่ากระทําผิดจริงก็จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบ วิชาชีพครูอย่างแน่นอน และจะขึ้นบัญชีดําในระบบการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพว่าไม่สามารถดําเนินการขอ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้อีกต่อไป หากมีผู้ที่พบเห็นการกระทําความผิด สามารถร้องเรียนโดยตรงมายัง สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาได้

ดร.วัฒนาพร ระงับทุกข์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปฏิบัติหน้าที่ ในตําแหน่งเลขาธิการคุรุสภา ได้กล่าวว่า กรณีที่ครูท่านหนึ่งได้โพสต์ข้อความให้กําลังใจครู จํานวน 5 ราย ที่ร่วมกระทําชําเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี ทางสื่อโซเชียลนั้น สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาจะมีหนังสือแจ้ง ให้ครูท่านนั้นทราบในการระมัดระวังการแสดงความคิดเห็น โดยแสดงความคิดเห็นอย่างมีวิจารณญาณ อย่างเหมาะสม และไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณอย่างหนึ่งกับครูทั่วประเทศในการระมัดระวัง การแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ นอกจากนี้สํานักงานเลขาธิการคุรุสภาจะหารือร่วมกันกับหน่วยงานต้นสังกัด ในการกวดขันวินัยให้มีความทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

ขอบคุณที่มา : เว็บไซต์ คุรุสภา

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่